ที่มา ของ บัญญัติตะวันตก

กระบวนการรวบรวมรายชื่อตำรา—นิยามขอบเขตของบัญญัติ—เป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ความพยายามครั้งสำคัญที่ควรเป็นที่ทราบในโลกของผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดก็ได้แก่โครงการ “มหาตำราของโลกตะวันตก” โครงการนี้ทำกันขึ้นราวครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ขยายออกมาจากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชิคาโก อธิการบดีของมหาวิทยาลัยโรเบิร์ต ฮัทชินส และผู้ร่วมงาน มอร์ติเมอร์ แอดเลอร์ได้สร้างโครงการที่รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ควรอ่าน, หนังสือ และ แผนการจัดรายการหนังสือสำหรับสโมสรนักอ่านให้แก่สาธารณชนขึ้น

ความพยายามก่อนหน้านั้น “ฮาร์วาร์ดคลาสสิก” (ค.ศ. 1909) เป็นผลงานของอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ ดับเบิลยู. อีเลียตของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใช้ปรัชญาเดียวกับทอมัส คาร์ลีลย์ที่ว่า:

... มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือประมวลตำรา—ทอมัส คาร์ลีลย์

ใกล้เคียง

บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง บัญญัติ บรรทัดฐาน บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา บัญญัติ จันทน์เสนะ บัญญัติตะวันตก บัญญัติ สุชีวะ บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง บัญญัติ (ศาสนาพุทธ) บัญญัติ เจตนจันทร์