เนื้อหา ของ บีบีซีไทย

บีบีซีไทย ในช่วงออกอากาศทางวิทยุ ให้เนื้อหาข่าว รายงานและวิเคราะห์เหตุการณ์ปัจจุบัน และวิจารณ์การเมือง จนหลังเดือนพฤษภาคม ปี 2535 บีบีซีแผนกภาษาไทยได้มีการปรับทิศทางการทำงาน จากเน้นการแปลข่าว มาเป็นเน้นงานข่าวมากขึ้น หลังจากกลับมาในรูปแบบสื่อออนไลน์ ให้ข้อมูลข่าวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยไม่อาศัยข่าวจากช่องทางของบุคคลที่สาม (third-party platform) เว็บไซต์นำเสนอเรื่องราวทางธุรกิจ วัฒนธรรม สุขภาพ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และบันเทิง รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสตรีและสังคม และมีสอนภาษาอังกฤษกับ BBC Learning English[9]

การทำงาน

จากข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2558 ทีมงานบีบีซีไทย ส่วนใหญ่เป็นอดีตพนักงานบีบีซี แผนกภาษาไทยที่ปิดตัวไป โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่บนชั้น 5 ของอาคาร BBC Broadcasting House สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของบีบีซี ทีมงานในลอนดอนมีทั้งหมด 5 คน และมีผู้สื่อข่าวประจำอยู่ที่ประเทศไทยอีก 1 คน อิสสริยา พรายทองแย้ม เป็นหนึ่งในทีมงานบีบีซีไทยที่ทำงานกับวิทยุบีบีซีแผนกภาษาไทยจนวันสุดท้ายของการออกอากาศ ได้กลับมาร่วมงานอีกครั้ง อิสสริยากล่าวว่า มีเป้าหมายในการโพสต์ข่าวขึ้นเฟซบุ๊กประมาณ 25 ข่าวต่อวัน นอกจากเฟซบุ๊ก ก็มีการโพสต์ข่าวทางยูทูบและอินสตาแกรมด้วย ส่วนการลงเสียงและคลิปวิดีโอ ใช้ร่วมกับแผนกอื่น และเธอตั้งข้อสังเกตว่า ผู้อ่านคนไทยจะสนใจข่าวการเมืองเป็นพิเศษ เห็นได้จากการเข้ามาแสดงความคิดเห็น รองลงมาเป็นข่าวสถานการณ์ เช่น แผ่นดินไหวในเนปาล และเรื่องราวแปลก ๆ จากรอบโลก[10]

ความน่าเชื่อถือและความเป็นกลาง

บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป

บีบีซีไทยอ้างว่ามีความน่าเชื่อถือเรื่องความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด นำเสนอเรื่องราวและความเห็นจากทั้งสองฝ่ายได้อย่างเต็มที่โดยปราศจากอคติทางการเมือง[10] ผู้จัดการออนไลน์วิจารณ์ว่า บีบีซีไทยให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐประหารและบ่อยครั้งเลือกจับประเด็นข่าววิจารณ์การทำหน้าที่ของรัฐบาลในทางลบมานำเสนอ เช่น กรณีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่าที่พยายามชักนำให้เข้าใจว่าเป็นการจับแพะ กรณีชาวโรฮีนจาและชาวอุยกูร์ที่เสนอข่าวว่ารัฐบาลไทยไร้มนุษยธรรม ละเมิดกติกาสากล ฯลฯ เป็นการเสนอข่าวที่อยู่บนพื้นฐานของการเลือกข้าง มีอคติและบิดเบือน[11] ทีนิวส์วิจารณ์ว่า มีลักษณะทิศทางการทำงานไปในแนวทางเดียวกับระบอบทักษิณ โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูลในเชิงลดความน่าเชื่อถือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือบางประเด็นมีความล่อแหลมต่อการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย[12] เดอะนิวแอตแลสพาดพิงการเสนอข่าวการเปลี่ยนรัชกาล โดยอ้างว่าบีบีซีก็ยังคงให้ข้อมูลที่ผิดเพื่อสร้างข้อสงสัยและการแบ่งแยกท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในช่วงอ่อนไหวของประเทศไทย[13]

กรณีบีบีซีไทยรายงานข่าวภาพถ่ายรูปคู่ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับบารัก โอบามา ไทยโพสต์วิจารณ์ว่า "รายงานข่าวอย่างไม่มีที่มาที่ไป จับแพะชนแกะราวกับนิยาย"[14] ขณะที่แนวหน้าวิจารณ์ว่า "บีบีซีในปัจจุบันได้มาถึงยุคเสื่อมและถูกตั้งข้อสังเกตว่าไม่ต่างจากสื่อเทียมผีโม่แป้งที่สิ้นความน่าเชื่อถืออีกต่อไป"[15] ส่วน ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักประวัติศาสตร์ แสดงความเห็นว่า ตนรู้สึกชอบกล โดยว่าอย่างน้อยควรอธิบายว่าผู้เขียนเป็นใครจึงสามารถรู้เรื่องวงใน[16] ทั้งนี้บีบีซีไทย ชี้แจงว่า มีการปกปิดชื่อแหล่งข่าว ชื่อผู้เขียนและทีมงาน[17] เพราะเห็นด้วยว่าหากเปิดเผยชื่อผู้เขียนมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบสูง แต่การไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียน ก่อให้เสี่ยงต่อข้อครหา อาจลดความน่าเชื่อถือของรายงาน แต่ทั้งนี้ก็ต้องปิดชื่อผู้ให้ข้อมูลเพราะหวั่นเกรงต่อการถูกคุกคาม[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: บีบีซีไทย http://www.bbc.com/thai http://www.bbc.com/thai/aboutus.shtml http://www.bbc.com/thai/news/story/2005/10/051025_... http://www.bbc.com/thai/thailand-37997423 http://directory.mthai.com/detail/MD14630491.html http://news.mthai.com/hot-news/politics-news/46471... http://www.naewna.com/columnonline/20940?fb_commen... http://mcot-web.mcot.net/fm1005/content.php?id=53c... http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B... http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsI...