บูชาคางคก
บูชาคางคก

บูชาคางคก

หมัวหา (จีน: 膜蛤; พินอิน: Mó Há ออกเสียง [muǒ.xǎ]) แปลตรงตัวว่า "ชื่นชมคางคก" หรือ "บูชาคางคก"[1] เป็นอินเทอร์เน็ตมีมที่ล้อเลียนเจียง เจ๋อหมิน อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และผู้นำสูงสุดของจีน มีต้นกำเนิดมาจากพลเมืองเครือข่ายในจีนแผ่นดินใหญ่และกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยบนอินเทอร์เน็ตของจีน อีกคำอธิบายหนึ่ง ก็คือมันมาจาก ไป่ตู้เทียปา สื่อสังคมของจีน ในวัฒนธรรม เจียงถูกเรียกแบบติดตลกว่า "หา" หรือ "คางคก" เพราะว่าหน้าตาของเขาคล้ายกับคางคก[2] พลเมืองเครือข่ายที่ บูชา คางคกเรียกตนเองว่า "คนรักคางคก" หรือ "ผู้บูชาคางคก" (จีนตัวย่อ: 蛤丝; จีนตัวเต็ม: 蛤絲) หรือ "พวกหมัวฝ่า" (膜法师; 膜法師) ซึ่งเป็นการเล่นคำใน mófǎshī (魔法师; 魔法師, นักมายากล) ในภาษาจีนกลาง[note 1]อีกชื่อเล่นของเจียงคือ "พี่" หรือ "ผู้อาวุโส" (长者; 長者; Zhǎngzhě) เพราะครั้งหนึ่งเขาเคยเรียกตัวเองว่า "พี่" หรือ "ผู้อาวุโส" เมื่อเขาตำหนิชารอน เฉิง นักข่าวชาวฮ่องกงที่ตั้งคำถามกับเขา[3][4][5] คลิปวิดีโอที่บันทึกเหตุการณ์นี้ได้ถูกเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตและนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของวัฒนธรรมนี้ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2557 เมื่อฮ่องกงกำลังประสบกับช่วงเวลาของความไม่มั่นคงทางการเมือง เบื้องต้นชาวเน็ตได้นำคำพูดของเจียงจากคลิปมาล้อเลียนด้วยถ้อยคำและน้ำเสียง อย่างไรก็ตาม เมื่อวัฒนธรรมเติบโตขึ้น การเลียนแบบบางอย่างก็เริ่มมีความรู้สึกต่อเขา คําพูดที่โด่งดังของการเลียนแบบก็พัฒนาไปสู่สิ่งที่เขาพูดในระหว่างการเป็นผู้นําและในชีวิตส่วนตัว

แหล่งที่มา

WikiPedia: บูชาคางคก https://www.economist.com/news/china/21702777-it-b... http://cn.nytimes.com/china/20151021/c21sino-jiang... https://web.archive.org/web/20151117155848/http://... https://www.scmp.com/culture/arts-entertainment/ar... http://sinosphere.blogs.nytimes.com/2015/10/20/jia... http://www.cna.com.tw/news/acn/201608170464-1.aspx https://web.archive.org/web/20160826100708/http://... http://www.taipeitimes.com/News/editorials/archive... http://www.dw.com/zh/%E9%95%BF%E5%B9%B3%E8%A7%82%E... https://web.archive.org/web/20151115082957/http://...