การออกแบบและประวัติความเป็นมา ของ ประตูบรันเดินบวร์ค

ปฏิมากรรมควอดริก้าเหนือประตูบรันเดินบวร์คยามเย็นนโบเลียนขณะที่กำลังผ่านประตูบรันเดินบวร์คเพื่อฉลองชัยชนะจากสมรภูมิจีน่า-ออสเตรดท์

ปีพุทธศักราช 2231 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 หลังผ่านเหตุการณ์สงครามสามสิบปี และก่อนการสร้างประตูบรันเดินบวร์คไม่นาน กรุงเบอร์ลินนั้นเต็มไปด้วยทางเดินเล็กๆ ภายในป้อมดาว (star fort) ที่มีประตูมากมายหลายชื่อ แต่ประตูบรันเดินบวร์คไม่ใช่ส่วนหนึ่งของป้อมปราการเก่า แต่หนึ่งใน 18 ประตูของกำแพงเข้าเมืองเบอร์ลิน (Berlin Customs Wall) ซึ่งถูกสร้างในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1730 โดยสร้างทับไปกับป้อมปราการเก่าขยายไปถึงชานเมือง

ประตูบรันเดินบวร์คถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เพื่อเป็นตัวแทนแห่งสันติภาพ ประตูถูกออกแบบโดยคาร์ล ก็อทท์ฮาร์ด แลงฮานส์ผู้อำนวยการสำนักงานศาลสิ่งก่อสร้าง ประตูบรันเดินบวร์คใช้เวลาก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2331 ถึง พ.ศ. 2334 เพื่อทดแทนประตูดั้งเดิมของกำแพงเข้าเมืองเบอร์ลิน ประตูนี้ประกอบไปด้วยเสาแบบดอริก 12 ต้น ด้านละ 6 ต้น และมี 5 ช่องทางเดิน ประชาชนทั่วไปอนุญาตให้เดินผ่านแต่ช่องทางเดินริมสุดของทั้งสองด้านเท่านั้น บนสุดเป็นปฏิมากรรมรูปควอดริก้า ซึ่งก็คือรถม้าลาก มีม้า 4 ตัว เป็นราชรถของวิคตอเรีย เทพแห่งชัยชนะ

แผนผังกำแพงเข้าเมืองเบอร์ลิน พ.ศ. 2398ประตูบรันเดินบวร์คได้รับความเสียหายอย่างหนักหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงเมื่อปี พ.ศ. 2488นายพลเอิร์นส์ ฟอน ฟิว

ประตูบรันเดินบวร์คออกแบบโดยมีประตูโพรไพเลีย (Propylaea) ของป้อมปราการอะโครโพลิส กรุงเอเธนส์เป็นต้นแบบ ผสมผสานกับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของเบอร์ลินในยุคคลาสสิค (ยุคแรก, บารอก, และพาลเลเดียน) และปฏิมากรรมควอดริก้าถูกแกะสลักโดยโจฮานน์ ก็อทฟริด ชาโดว์

ตั้งแต่มันถูกสร้างเสร็จ รูปแบบหลักของประตูบรันเดินบวร์คยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นเช่นไรก็ตามในช่วงประวัติศาสตร์เยอรมนีหลังจากนั้น ต่อมา (พ.ศ. 2349) ปรัสเซียได้พ่ายแพ่สงครามในสมรภูมิจีน่า-ออสเตรดท์ (Battle of Jena-Auerstedt) นโปเลียน โบนาปาร์ตก็เป็นบุคคลแรกที่ใช้ประตูบรันเดินบวร์คจัดขบวนแห่ฉลองชัย[2] และได้เอาควอดริก้ากลับไปยังกรุงปารีส[3]

หลังจากนโปเลียนแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2357 อาณาจักรปรัสเซียเข้ายึดครองกรุงปารีสโดยนายพลเอิร์นส์ ฟอน ฟิว (Ernst Von Pfuel) และได้นำเอาควอดริก้ากลับมาบูรณะยังกรุงเบอร์ลิน ทั้งยังได้เพิ่มมงกุฎใบโอ้คให้เทพวิคตอเรีย และเพิ่มสัญลักษณ์กางเขนเหล็ก (Iron cross) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่แสดงอำนาจของปรัสเซีย และหัวหน้าไปทางทิศตะวันออกเช่นเดิมที่เคยเป็นมา โดยทั่วไปแล้วมีแค่พระราชวงศ์เท่านั้นที่อนุญาตให้ผ่านทางเดินช่องกลาง[3] แต่กระนั้นตระกูลของฟิวและเหล่าเอกอัคราชทูตที่มาส่งสาส์นให่แก่สภาก็ได้รับอนุญาตให้ผ่านทางเดินช่องกลางด้วยเช่นกัน

เมื่อกองทัพนาซีขึ้นมามีอำนาจก็ได้ใช้ประตูแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของพรรค ประตูบรันเดินบวร์ครอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่สองมาได้ แต่ก็ได้รับความเสียหายมากจากกระสุนและระเบิดที่เกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียง ชิ้นส่วนโครงสร้างบางส่วนยังคงอยู่ในจัตุรัสพาริเซอร์ ส่วนที่เหลือเก็บไว้ที่สถาบันวิจิตรศิลป์ (Academy of Fine Arts) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังจากที่เยอรมันยอมยกธงขาวและสงครามสิ้นสุดลง คณะบริหารของเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตกได้ร่วมกันซ่อมแซมบูรณะประตูขึ้นอีกครั้ง แต่ก็ยังเห็นรอยปะรอยซ่อมแซมอยู่นานหลายปีหลังการบูรณะ

ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2533 ควอดริก้าถูกย้ายออกจากประตู เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการปรับปรุงโดยเจ้าหน้าที่ของเยอรมันตะวันออก หลังจากการทำลายกำแพงเบอร์ลินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 ประเทศเยอรมนีก็รวมกันอย่างเป็นทางการ

ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ประตูบรันเดินบวร์คได้รับการตกแต่งฟื้นฟูใหม่โดยองค์กรเอกชน ใช้งบประมาณ 6 ล้านยูโร

ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ครบรอบ 12 ปีของการรวมประเทศเยอรมนี ประตูบรันเดินบวร์คก็เปิดตัวครั้งใหม่ หลังจากได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมอย่างมากมาย

ปัจจุบันประตูบรันเดินบวร์คไม่อนุญาตให้รถยนต์สัญจรผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจัตุรัสพาริเซอร์เป็นถนนคนเดินที่ปูด้วยหิน มีถนน 17 มิถุนา (Straße des 17. Juni) ผ่านทางทิศตะวันตกของประตู ประตูบรันเดินบวร์คถือว่าเป็นรวมตัวจุดหนึ่งของเบอร์ลินที่ผู้คนนับล้านรวมตัวกันเพื่อชมการแสดงบนเวที, งานเฉลิมฉลอง, และชมดอกไม้ไฟที่จุดขึ้นตอนเที่ยงคืนของคืนวันปีใหม่[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประตูบรันเดินบวร์ค http://www.cbsnews.com/8301-503544_162-57450779-50... http://www.cbsnews.com/8301-505267_162-57451211/le... http://www.foxnews.com/slideshow/world/2009/11/09/... http://www.foxnews.com/world/2009/11/09/germany-ce... http://www.foxnews.com/world/2011/08/13/germany-ma... http://www.history.com/news/2011/08/11/reflecting-... http://www.lorenzochiara.com/berlin1945 http://www.reaganlibrary.com/reagan/speeches/wall.... http://mauer.host8.3-point.de/portal/9-november/fe... http://www.stadtentwicklung.berlin.de/denkmal/denk...