ประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ประตูบรันเดินบวร์ค ของ ประตูบรันเดินบวร์ค

คำปราศัยของนายโรนัลด์ เรแกนที่ประตูบรันเดินบวร์คฉบับสมบูรณ์ ปราศัยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2530

ธงของสหภาพโซเวียตโบกสะบัดอยู่ยอดเสาบนของประตูบรันเดินบวร์คตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จนถึง พ.ศ. 2500 ต่อมาเปลี่ยนเป็นธงของเยอรมันตะวันออกแทน จนกระทั่งประเทศเยอรมนีรวมเป็นหนึ่ง ก็ได้นำเอาธงและเสาธงออกจากประตูบรันเดินบวร์ค

ในปี พ.ศ. 2506 จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเดินทางมาบริเวณประตูบรันเดินบวร์ค โซเวียตทำการแขวนป้ายสีแดงขนาดใหญ่เพื่อป้องกันมิให้เขามองเข้ามายังเยอรมนีตะวันออก

ในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 การสืบข่าวระหว่างเยอรมันทั้งสองฝั่งยังคงเกิดขึ้น นายริชาร์ด ฟอน ไวซ์แซคเกอร์นายกเทศมนตรีของเยอรมนีตะวันตกในขณะนั้นกล่าวว่า "ความคลางแคลงใจของชาวเยอรมันยังคงมีอยู่ตราบใดที่ประตูบรันเดินบวร์คยังถูกปิด"[6]

ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2530 โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ปราศัยแก่ชาวเยอรมนีตะวันตกบริเวณประตูบรันเดินบวร์ค ว่ามีความประสงค์อยากจะรื้อถอนกำแพงเบอร์ลิน[7][8] โดยได้กล่าวถึงเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตมีฮาอิล กอร์บาชอฟว่า

General Secretary Gorbachev, if you seek peace, if you seek prosperity for the Soviet Union and Eastern Europe, if you seek liberalization: Come here to this gate! Mr. Gorbachev, open this gate! Mr. Gorbachev, tear down this wall!

ท่านเลขาธิการกอร์บาชอฟ, ถ้าคุณร้องขอถึงสันติภาพ, ถ้าคุณร้องขอความเจริญรุ่งเรืองแก่สหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ถ้าคุณร้องขอถึงการเปิดเสรี: มาที่ประตูนี่! คุณกอร์บาชอฟ เปิดประตูแห่งนี้! คุณกอร์บาชอฟ ทำลายกำแพงนี่ซะ!

งานเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินที่ประตูบรันเดินบวร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ดำเนินงานโดยพอล ฟาน ดุ๊ก[9]

วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เกือบสองเดือนหลังจากกำแพงเริ่มถูกทำลาย นายเลนนาร์ด เบิร์นสไตน์ วาทยกรชื่อดังชาวอเมริกัน ร่วมกับคณะซิมโฟนีเบอร์ลิน บรรเลงเพลงซิมโฟนีหมายเลข 9 ของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ที่ประตูบรันเดินบวร์ค ในตอนจบของเพลงได้เปลี่ยนคำร้องของคณะประสานเสียงจาก "Joy" ที่แปลว่าความปีติยินดี เป็น "Freiheit" ที่แปลว่าอิสรภาพ เพื่อเฉลิมฉลองการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและการรวมประเทศที่ใกล้ที่เกิดขึ้น

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิดีสหรัฐอเมริกาบิล คลินตัน ได้ปราศัยถึงสันติภาพหลังสงครามเย็นในยุโรป ที่ประตูแห่งนี้

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนี ร่วมด้วยนายมีฮาอิล กอร์บาชอฟ อดีตผู้นำสหภาพโซเวียต และนายเลช วาเลซาอดีตประธานาธิบดีโปแลนด์ในช่วงที่เกิดการทุบทำลายกำแพง ได้เดินทางไปยังประตูบรันเดินบวร์คเพื่อเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบ 20 ปีการพังทลายกำแพงเบอร์ลิน[10][11]

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554 วันครบรอบ 50 ปีของการสร้างกำแพงเบอร์ลิน มีการรำลึกและไว้อาลัยแก่ผู้ที่เสียชีวิตจากความพยายามที่จะหนีไปยังฝั่งตะวันตก นายเคล้าส์ โวเวอไรท์ นายกเทศมนตรีกรุงเบอร์ลินกล่าวว่า "มันเป็นความรับผิดชอบร่วมกันที่จะระลึกถึงการที่มีชีวิตอยู่และที่จะผ่านไปยังคนรุ่นต่อไป เป็นการยืนหยัดเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยเพื่อให้แน่ใจว่าความอยุติธรรมจะไม่เกิดขึ้นอีกครั้ง" ส่วนนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ผู้ที่เกิดในส่วนที่เป็นเยอรมนีตะวันออก ได้เข้าร่วมระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย ประธานาธิบดีเยอรมนีนายคริสเตียน วูล์ฟฟ์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "มันได้แสดงให้เห็นว่า เสรีภาพจะคงอยู่ยืนนานให้ตอนจบ ไม่มีกำแพงใดถาวรที่จะปิดกั้นความปรารถนาต่ออิสรภาพ"[12][13][14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประตูบรันเดินบวร์ค http://www.cbsnews.com/8301-503544_162-57450779-50... http://www.cbsnews.com/8301-505267_162-57451211/le... http://www.foxnews.com/slideshow/world/2009/11/09/... http://www.foxnews.com/world/2009/11/09/germany-ce... http://www.foxnews.com/world/2011/08/13/germany-ma... http://www.history.com/news/2011/08/11/reflecting-... http://www.lorenzochiara.com/berlin1945 http://www.reaganlibrary.com/reagan/speeches/wall.... http://mauer.host8.3-point.de/portal/9-november/fe... http://www.stadtentwicklung.berlin.de/denkmal/denk...