กำเนิดชาวยิวในพันธสัญญาเดิม ของ ประวัติศาสตร์อิสราเอล

กำเนิดของชาวยิวเริ่มขึ้นเมื่อ 4,000 ปีก่อน โดยบรรพบุรุษของอับราฮัม (อิบรอฮิม) ได้พาครอบครัวของตนอพยพออกมาจากนครอูร์ (ur) หรือเมืองคลาเดีย ในดินแดนเมโสโปเตเมียของอาณาจักรสุเมเรีย ด้วยเกิดความขัดแย้งเรื่องความเชื่อกับกษัตริย์นิมรูค (numruk) ผู้ปกครองนครอูร์ ซึ่งอับราฮัมเชื่อว่าพระเจ้าทรงมีเพียงพระองค์เดียว ขัดกับชาวนครอูร์ที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ และส่วนใหญ่นับถือบูชาเทพเจว็ด เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น อับราฮัมจึงตัดสินใจเดินทางออกนอกนครอูร์ พร้อมด้วยครอบครัวผู้ที่ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวกัน ซึ่งพระเจ้าได้ตรัสกับเขาว่าให้ไปยังดินแดนที่อุดมไปด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง พระองค์จะทรงยกดินแดนแห่งนั้นให้กับเชื้อสายของเขา เขาดินทางไปที่ซาม (saam) หรือดินแดนปาเลสไตน์ (paslestine) และได้ตั้งถิ่นฐานกันที่นั่น

อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (ishak) หรือไอเซ๊ด (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (sarah) ภรรยาของท่าน ซึ่งอับราฮัมได้วิงวอนต่อพระเจ้าที่มีชื่อเรียกว่ายะโฮวา (Jehovah) ขอให้ทรงเพิ่มพูนลูกหลานของท่านให้มากมายดั่งเม็ดทรายในทะเล และดวงดาวในท้องฟ้าและในกาลถัดมา ได้ปรากฏว่า เชื้อสายของอิสมาเอลที่อพยพไปทางใต้หรือแหลมอาระเบีย ได้กลายเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับทั้งหมด ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (esau) และยาโคบ (jacob) หรืออิสราเอล

ยาโคบ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอิสราเอลในวันที่เขาพบพระเจ้าที่ริมแม่น้ำยับบอก ซึ่งเขาได้ปล้ำสู้กับบุรุษผู้หนึ่งในคืนนั้น และขอให้บุรุษนั้นอวยพรเขาแล้วจะปล่อยเขาไป จึงกลายเป็นที่มาที่ลูกหลานอิสราเอลได้รับการอวยพรมากมาย หลังจากที่ยาโคบถูกเรียกชื่อใหม่จากบุรุษผู้นี้ว่า "อิสราเอล" ซึ่งแปลว่า "ผู้ที่ปล้ำสู้กับพระเจ้า" ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสองคนคือ รูเบน ซามาอูล เลวี ยูดาห์ ซับลุน อิสสาคาร์ ดาน อาเชอร์ กาด นัฟตาลี โยเซฟ และเบนจามิน โดยเรียกบุตรสิบสองคนนี้ว่า อิสราเอลไลย์ (israeliah)

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โดยในขณะนั้นโยเซฟได้บอกว่าตัวเอง เป็นที่รักของพระเจ้าของชาวอิสราเอล ทุกคนในครอบครัวจะรอดได้เพราะตัวเขา ทำให้พี่น้องคนอื่นเกิดความอิจฉาริษยา จึงได้วางแผนกันกำจัด โดยการโยนลงบ่อกลางทะเลทราย และนำเศษเสื้อผ้าของเขาไปบอกแก่บิดาว่า โยเซฟได้เสียชีวิตไปเสียแล้ว ก่อให้เกิดความโศกเศร้าแก่ยาโคบ หรืออิสราเอลเป็นอย่างมาก แต่โชคดีที่กองคาราวานจากปาเลสไตน์ที่จะไปยังอียิปต์มาตักน้ำ และได้ช่วยเหลือโยเซฟให้ขึ้นมาจากบ่อน้ำ แต่ด้วยหัวหน้าพ่อค้าเห็นว่าโยเซฟมีรูปโฉมงาม จึงได้นำเขาไปขายให้กับข้าหลวงชาวอียิปต์ และข้าหลวงผู้นั้นได้รับเขาไว้มาดูแลอย่างดี โดยไม่ได้ให้เขาอยู่ในฐานะทาสเหมือนคนอื่น

ครั้นโยเซฟเติบใหญ่ กลายเป็นชายหนุ่มรูปงาม ภรรยาของข้าหลวงได้หลงใหลในรูปโฉมของเขา และล่อลวงเขาด้วยความใคร่อยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่โยเซฟไม่มีความคิดที่เนรคุณข้าหลวงที่เลี้ยงดูตัวเอง จึงไม่ได้สนใจการหว่านเสน่ห์ของภรรยาข้าหลวงแต่อย่างใด ทำให้นางเกิดความคับแค้น และวางแผนให้เขาได้รับโทษ ฐานที่ทำให้นางขายหน้า โดยการล่อหลอกให้เขาเข้ามาในห้องของนางตามลำพัง และตะโกนร้องเรียกทหารยามว่า โยเซฟได้เข้ามาปลุกปล้ำตน เขาจึงถูกข้าหลวงทำโทษ โดยการถูกส่งไปจองจำในคุก

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้นในอียิปต์ ประจวบกับที่ฟาโรห์ทรงสุบินประหลาดจึงประกาศหาคนที่จะมาไขความฝันของพระองค์ให้ ซึ่งในขณะนั้นโยเซฟได้เคยกล่าวอ้างให้ผู้คนในคุกฟังว่า ตนเองสามารถทำนายฝันได้ เขาจึงถูกพาตัวมาเข้าเฝ้าฟาโรห์ และทำนายถึงพระสุบินของพระองค์ พระเจ้าทรงให้โยเซฟมีความเข้าใจ ถึงสิ่งที่ฟาโรห์ทรงพระสุบิน และมีสติปัญญาในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น (ปฐก 41:14-32) ทำให้ฟาโรห์ทรงแต่งตั้งเขาให้เป็นผู้ดูแลทั่วราชอาณาจักร แต่งตั้งเป็นใหญ่มีอำนาจรองจากฟาโรห์ (ปฐก 41:40-44) และเขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์

ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู ด้วยเกรงว่าพวกเขาจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงได้แยกฮีบรูให้ไปอยู่อีกอาณาเขตหนึ่งห่างจากพวกตน และลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้างพีระมิด อีกทั้งปริมาณประชากรของชาวฮีบรูได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฟาโรห์ต้องมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่ามีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ เพราะมารดาได้นำเด็กใส่ตะกร้าลอยน้ำ เจ้าหญิงอียิปต์องค์หนึ่งทรงพบเข้า และนำเขาไปอุปการะ ประทานชื่อว่า "โมเสส" (Moses) พระนางตรัสว่า "เพราะเราได้ฉุดเขาขึ้นมาจากน้ำ" (อพย 2:10)

โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้มีสติปัญญาดี และได้รับการศึกษาสูงเยี่ยงเจ้าชายองค์หนึ่ง เขามีจิตเมตตา และสงสารทาสชาวฮีบรูที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างพีระมิดให้ฟาโรห์ และถูกผู้คุมทำทารุณกรรมต่าง ๆ จนพลั้งเผลอสังหารผู้คุมคนหนึ่ง เพื่อต้องการช่วยเหลือทาสที่กำลังถูกทารุณ กาลนั้นเขาได้ละทิ้งตำแหน่งและฐานันดรของตัวเอง มาอยู่กับพวกทาสชาวฮีบรู และพาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูถึงสามแสนคนออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ ดินแดนแห่งนี้พวกฮิบรูถือว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า ที่ทรงประทานให้แก่พวกเขา และระหว่างทางที่โมเสสนำชาวอิสราเอลกลับไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญาที่ยาโคบเคยอยู่ โมเสสได้พบพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย และรับพระบัญญัติสิบประการ The Ten commanment ที่นั้น

ดินแดนที่เรียกว่า "ปาเลสไตน์" (Palestine) ที่ชาวฮิบรูได้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่เมื่อครั้งนั้น มีเนื้อที่ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดประเทศซีเรีย ทิศใต้จรดประเทศอียิปต์ ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำจอร์แดน ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ณ ดินแดนแห่งนี้ โมเสส ได้วางรากฐานที่สำคัญให้แก่สังคมฮิบรู คือ

  • ด้านกฎหมาย จัดทำกฎหมายและกำหนดระเบียบการปกครองพวกอิสราเอลไลท์ขึ้น กฎหมายและระเบียบการปกครองดังกล่าว มีสารที่สำคัญคือ ให้ถือว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดของชาวอิสราเอลไลท์ พระเจ้าทรงมอบหน้าที่ให้ผู้แทนของพระองค์ (ซึ่งได้มาโดยการเลือกตั้ง) เรียกว่า "ยัดซ์" (Judge) แปลว่า "ผู้วินิจฉัย" ทำหน้าที่เป็นตุลาการพิพากษาคดี แผ่นดินทั้งหมดเป็นสมบัติของพระเจ้า ห้ามซื้อขาย ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับข้อห้ามทางศาสนาจะต้องได้รับโทษอย่างหนัก ผู้กระทำผิดทางอาญาเช่นไร จะต้องได้รับโทษตอบแทนในทำนองเดียวกัน (ตาต่อตาฟันต่อฟัน)
  • ด้านศาสนา กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียวคือ "ยาเวห์" หรือ "ยะโฮวา" (Yaveh, Yahoveh) พระเจ้าทรงประทานกฎแห่งความประพฤติ (ศีล) แก่ประชาชน 10 ประการ เรียกว่า "บัญญัติ 10 ประการ" (Ten Commanments)

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย