ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม
ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขาระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาคในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก[1] และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม"[2]ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก[3]เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา วิทยาการทางการแพทย์ได้เกิดขึ้นอย่างมากมายในดินแดนทวีปแห่งนี้ ประกอบกับเป็นช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีการค้นพบตัวยาใหม่ ๆ และการนำยาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่ของเภสัชกร จากเดิมคือผู้ปรุงยา แต่ปัจจุบันเป็นผู้บริหารและควบคุมระบบยา พร้อมกันนั้นยังมีหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในการใช้ยา ตลอดจนคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยสำหรับประเทศไทย เภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแพทย์แผนไทยมาโดยตลอด อาทิ การใช้สมุนไพรและเภสัชวัตถุต่าง ๆ เข้าร่วมการรักษา การศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ในฐานะโรงเรียนแพทย์ปรุงยา (ปัจจุบันคือ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการก่อตั้งกองโอสถศาลาขึ้น ต่อมาได้มีการจัดตั้งโรงงานเภสัชกรรมโดย เภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรม ซึ่งภายหลังได้รวมกับกองโอสถศาลาจัดตั้งเป็นองค์การเภสัชกรรม

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์อินเดีย ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติการบินไทย ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม http://www.accp.com/clinical_pharmacy.php http://www.accp.com/position/pos029.pdf http://www.ascp.com/consumers/what/ http://www.britannica.com/eb/topic-92902/The-Canon... http://www.economicexpert.com/a/The:four:humours.h... http://www.pennhealth.com/pahosp/about/ http://www1.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=64... http://www.thaiphar-asso.com/index.php?lay=boardsh... http://www.pharmacy.vcu.edu/sub/alumni/annfund.asp... http://www.pharmacy.wsu.edu/History/history01.html