รัฐบาลพลเรือนหลังพฤษภาทมิฬ ของ ประวัติศาสตร์ไทย_(พ.ศ._2516–2544)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งอานันท์ซึ่งเป็นผู้นิยมเจ้ากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจนมีการจัดการเลือกตั้งในเดือนกันยายน 2535 ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้ชวน หลีกภัยเป็นรัฐบาล โดยได้รับเสียงจากกรุงเทพมหานครและภาคใต้เป็นหลัก ชวนเป็นนักบริหารที่สามารถและดำรงตำแหน่งจนถึงปี 2538 จนเขาแพ้การเลือกตั้งให้แนวร่วมพรรคอนุรักษนิยมและต่างจังหวัดซึ่งมีบรรหาร ศิลปอาชาเป็นผู้นำ เมื่อรัฐบาลเต็มไปด้วยข้อกล่าวหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงตั้งแต่ต้น ทำให้รัฐบาลถูกบังคับให้จัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดในปี 2539 โดยพรรคความหวังใหม่ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธได้รับเลือกตั้งอย่างเฉียดฉิว

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ร่าง จนได้ชื่อว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 สถาปนาระบบสองสภาซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิก 500 คน และวุฒิสภาที่มีสมาชิก 200 คน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่สมาชิกทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมากกว่ารัฐธรรมนูญอื่น ๆ มีการเพิ่มศาลรัฐธรรมนูญเข้าสู่ระบบศาล โดยมีเขตอำนาจพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาและกิจการการเมืองต่าง ๆ

ไม่นานหลังเข้าดำรงตำแนห่ง พลเอกชวลิตเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี 2540 หลังได้รับเสียงวิจารณ์อย่างแรงจากการรับมือวิกฤตของเขา จึงลาออกในปี 2540 และชวนกลับเข้าดำรงตำแหน่งอีกครั้ง ชวนสามารถตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งทำให้ค่าเงินกลับมามีเสถียรภาพและให้ IMF เข้าแทรกแซงการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

ระหว่างการเลือกตั้งปี 2544 ความตกลงของชวนกับ IMF และการใช้เงินทุนอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเหตุให้มีการถกเถียงใหญ่โต ส่วนนโยบายของทักษิณ ชินวัตรดึงดูดใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ ทักษิณรณรงค์ต่อต้านการเมืองแบบเก่า การฉ้อราษฎร์บังหลวง องค์การอาชญากรรมและยาเสพติด ในเดือนมกราคม 2544 เขาชนะการเลือกตั้งถล่มทลาย โดยได้รับเสียงจากประชาชนร้อยละ 40 ซึ่งมากกว่าอดีตนายกรัฐมนตรีคนใดที่มาจากการเลือกตั้ง

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย