การเมือง ของ ประสงค์_สุ่นศิริ

หลังเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2531 ประสงค์ สุ่นศิริ ได้เข้าทำงานการเมืองเต็มตัว โดยรับหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ จากนั้น พ.ศ. 2535 ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังธรรม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/2 และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาล "ชวน 1" [3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และหัวหน้าพรรคพลังธรรม ประสงค์ สุ่นศิริจึงลาออกไปตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ จนในปี พ.ศ. 2539 เปิดตัวในฐานะสื่อมวลชน เป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์แนวหน้า เขียนคอลัมน์ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริพูด" มาจนถึงปัจจุบัน[4]มีจุดยืนค้านรัฐบาลอย่างชัดเจน ทั้งรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา, รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กระทั่งปี พ.ศ. 2540 ได้เข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

ในปี พ.ศ. 2547 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น.ต.ประสงค์ได้ทำการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างหนัก จนได้รับฉายาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า "ปีศาจคาบไปป์" เนื่องจากเป็นบุคคลที่ชอบสูบและคาบไปป์จนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งต่อมา น.ต.ประสงค์ได้เข้าร่วมกับนักธุรกิจและนักการเมืองหลายคน อาทิ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์, นายเอกยุทธ อัญชันบุตร, พล.ท.เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม ก่อตั้งกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ ขึ้นมาในกลางปีเดียวกันเพื่อทำการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรขึ้นที่ท้องสนามหลวง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหลังจากมีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นในต้นปี พ.ศ. 2549 สมาชิกในกลุ่มนี้หลายคนก็ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับทางกลุ่มพันธมิตรฯด้วย

หลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ประสงค์ มีข่าวว่าจะได้รับตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ท้ายสุดก็ได้เพียงแค่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 เท่านั้น


วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

ประสงค์ สุ่นศิริ ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ประสงค์ หวลประไพ ประสงค์ สุขุม ประสงค์ โฆษิตานนท์ ประสงค์ คุณะดิลก ไม่ประสงค์ลงคะแนน ความประสงค์และพินัยกรรมครั้งสุดท้ายของอดอลฟ์ ฮิตเลอร์ ประสาทสัมผัส ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์