การแบ่งเขตการปกครอง ของ ประเทศลิทัวเนีย

ประเทศลิทัวเนียประกอบด้วย 10 เทศมณฑล (counties - apskritys) แต่ละแห่งแบ่งย่อยออกเป็น เทศบาล (municipalities) มี 3 ประเภทคือ เทศบาลนคร 9 แห่ง เทศบาลเขต 43 แห่ง และเทศบาล 5 แห่ง รวมทั้งหมด 60 แห่ง

แผนที่เทศมณฑลของลิทัวเนียและเมืองหลวง

เทศมณฑลทั้ง 10 แห่งของลิทัวเนีย (มีเมืองหลวงชื่อเดียวกัน) ได้แก่

ต่างประเทศ

การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ. 2004) ลิทัวเนียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนียและลัตเวีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์

ก่อนหน้านี้ ลิทัวเนียและกลุ่มประเทศบอลติกพยายามที่จะดำเนินการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในขั้นตอนต่าง ๆ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ให้เสร็จสิ้นลุล่วงในปี 2545 (ค.ศ. 2002) เพื่อที่จะได้มีความพร้อมสำหรับการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในปี 2547 (ค.ศ. 2004)

การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ

ลิทัวเนียได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การนาโต ในปี 2545 (ค.ศ. 2002) โดยรัฐบาลดำเนินนโยบายในเชิงรุกเพื่อสร้างความตื่นตัวและความกระตือรือร้นให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกภาพองค์การนาโต ของลิทัวเนียในด้านต่าง ๆ และจะมีการติดต่อหารืออย่างต่อเนื่องกับประเทศสมาชิกองค์การนาโต เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของลิทัวเนีย

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 (ค.ศ. 2003) สมาชิกองค์การนาโต 19 ประเทศ ได้ ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา มื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การนาโตใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

การพัฒนาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน

ลิทัวเนียให้ความสำคัญแก่การพัฒนาความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับโปแลนด์ การแสวงหาความร่วมมือในภูมิภาคยุโรปเหนือกับกลุ่มประเทศแถบทะเลบอลติกและกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) การกระชับความร่วมมือกับรัสเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง รวมทั้งการขยายความร่วมมือกับเบลารุส และประเทศต่าง ๆ ในแถบทะเลดำ

การดำเนินนโยบายการทูตเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

ลิทัวเนียจะมุ่งเน้นการพัฒนาในการส่งออกและการแสวงหาการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของลิทัวเนีย ขณะเดียวกัน มุ่งเน้นให้ความสำคัญมากขึ้นแก่มิติความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมกับประเทศต่าง ๆ เพื่อที่จะส่งผลเกื้อกูลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของลิทัวเนีย

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ความสัมพันธ์ลิทัวเนีย – ไทย
ไฟล์:Lithuania Thailand Locator.png

ลิทัวเนีย

ไทย
  • การเมือง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
  • การทูต
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
  • การค้าและเศรษฐกิจ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
  • การศึกษาและวิชาการ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
  • การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
  • เดือนกันยายน 2535 (ค.ศ. 1992) คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ (Familiarization Mission) เดินทางเยือนประเทศกลุ่มบอลติก (ลิทัวเนีย เอสโตเนีย และลัตเวีย) เพื่อสำรวจลู่ทางการพัฒนาความสัมพันธ์
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2541 (ค.ศ. 1998) เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน (มีเขตอาณาครอบคลุมลิทัวเนียและไอซ์แลนด์) เข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีลิทัวเนีย (นายวัลดัส อะดัมคุส) ที่กรุงวิลนีอุส
  • วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2542 (ค.ศ. 1999) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร) พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนีย (นาย Rolnas Bernotas) ในระหว่างการประชุม Landmine Conference ที่โมซัมบิก
  • วันที่ 22 สิงหาคม - 3 กันยายน 2542 (ค.ศ. 1999) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนเกาะกรีนแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย เป็นการส่วนพระองค์ (ลิทัวเนีย ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2542 (ค.ศ. 1999))
  • วันที่ 9-19 กรกฎาคม 2543 (ค.ศ. 2000) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) จัดงาน Baltic Countries Road Show 2000 ที่เอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย (กรุงวิลนีอุส วันที่ 17 กรกฎาคม 2543 (ค.ศ. 2000))
  • วันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2546 (ค.ศ. 2003) เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน (มีเขตอาณาครอบคลุมลิทัวเนียและไอซ์แลนด์) เดินทางเยือนลิทัวเนียเพื่อเข้าร่วมงานฉลองวันชาติลิทัวเนีย และได้พบหารือกับบุคคลสำคัญภาครัฐและเอกชนลิทัวเนีย
  • วันที่ 1-4 ตุลาคม 2546 (ค.ศ. 2003) นายกันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย (Thai Trade Representative -TTR) พร้อมคณะภาคเอกชนเดินทางไปเยือนลิทัวเนียตาม คำเชิญของนาย Petras Cesna รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจลิทัวเนีย (ผู้แทนการค้าไทยแวะเยือนเดนมาร์ก และเยือนลิทัวเนีย โรมาเนียและบัลแกเรีย ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 13 ตุลาคม 2546)
ฝ่ายลิทัวเนีย
  • วันที่ 7-14 ตุลาคม 2545 (ค.ศ. 2002) นายกีนูติส ไดนีอุส โวเวริส (Ginutis Dainius VOVERIS) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐลิทัวเนียประจำประเทศไทย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงวิลนีอุส เดินทางมาเยือนไทยเพื่อเข้าเฝ้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง (วันที่ 9 ตุลาคม 2545) ในระหว่างการเยือนไทย เอกอัครราชทูตโวเวริส ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รวมทั้งประธานรัฐสภา (นายอุทัย พิมพ์ใจชน) และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายเตช บุนนาค)
  • วันที่ 10-15 พฤศจิกายน 2546 (ค.ศ. 2003) นายเปตรัส เซสนา (Petras Cesna) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจลิทัวเนีย พร้อมด้วยคณะภาคเอกชน เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของผู้แทนการค้าไทย (นายกันตธีร์ ศุภมงคล) ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีเซสนาได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเข้าพบหารือกับฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ ฯพณฯ นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วันที่ 5-7 เมษายน 2547 (ค.ศ. 2004) นายอันโตนัส วาลิโอนิส (Antanas Valionis) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนีย และภริยา พร้อมด้วยคณะภาคเอกชน เยือนไทย อย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ตามคำเชิญของ

ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีวาลิโอนีสได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเข้าพบหารือกับ ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนการค้าไทย (นายกันตธีร์ ศุภมงคล)

  • วันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2547 (ค.ศ. 2004) นายกีนูติส ไดนีอุส โวเวริส เอกอัครราชทูตลิทัวเนียประจำประเทศไทย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงวิลนีอุส เดินทางเยือนไทยเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-ลิทัวเนีย ต่อเนื่องจากการเยือนของนาย อันโตนัส วาลิโอนิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 5-7 เมษายน 2547
  • วันที่ 16-25 เมษายน 2548 (ค.ศ. 2005) นายกินตารัส บูซินสคัส (Gintaras Buzinskas) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลิทัวเนีย พร้อมด้วยคณะ เดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม UN Congress on Crime Prevention and Criminal Justice

กองทัพ

ดูบทความหลักที่: กองทัพลิทัวเนีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้