การเมืองการปกครอง ของ ประเทศสโลวาเกีย

บริหาร

นิติบัญญัติ

ดูบทความหลักที่: รัฐสภาสโลวาเกีย

ตุลาการ

ดูบทความหลักที่: กฎหมายสโลวาเกีย

สถานการณ์การเมือง

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อปี 2549 นาย Robert Fico และพรรค Smer ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายเอาชนะรัฐบาลเก่าของนาย Mikulas Dzurinda หัวหน้าพรรค Slovak Democratic Coalition (SDK) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 8 ปี และมีนโยบายบริหารประเทศ โดยเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรี การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และการให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้และสหภาพยุโรป จึงทำให้สโลวาเกียภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี Dzurinda ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น และประสบความสำเร็จในการผลักดันสโลวาเกียเข้าเป็นสมาชิก OECD สหภาพยุโรป และ นาโต้ในปี 2548 อย่างไรก็ตามความนิยมในรัฐบาลในระยะหลังกลับลดลง เนื่องจากความไม่แน่ใจของประชาชนเกี่ยวกับอนาคตของสโลวาเกียภายหลังการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ความขัดแย้งและการทุจริตภายในรัฐบาล อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศ ส่งผลให้พรรค SDK ของนาย Dzurinda พ่ายแพ้การเลือกตั้งต่อพรรค Smer ของนาย Robert Fico ในที่สุด

รัฐบาลปัจจุบันของนาย Robert Fico ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายบริหาร คือเน้นความเป็นชาตินิยม ประกอบไปด้วยการให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม และการระงับการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่แล้ว ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะยังคงได้การยอมรับจากประชาชนสโลวาเกียในระดับที่น่าพอใจ แต่ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลนี้ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจและนานาประเทศที่เห็นว่านโยบายของรัฐบาลจะส่งผลให้สโลวาเกียมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง

สิทธิมนุษยชน

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การแบ่งเขตการปกครอง

สโลวาเกียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 แคว้น (Regions - kraje) แต่ละแคว้นมีชื่อเรียกตามเมืองหลักของแคว้นนั้น โดยมีอำนาจในการปกครองตนเองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)

เขตการปกครองของสโลวาเกีย
  1. แคว้นบราติสลาวา (บราติสลาวา)
  2. แคว้นเตอร์นาวา (เตอร์นาวา)
  3. แคว้นเตร็นชีน (เตร็นชีน)
  4. แคว้นญิตรา (ญิตรา)
  5. แคว้นฌิลินา (ฌิลินา)
  6. แคว้นบันสกาบิสตริตซา (บันสกาบิสตริตซา)
  7. แคว้นเปรชอว์ (เปรชอว์)
  8. แคว้นกอชิตเซ (กอชิตเซ)

แคว้นต่าง ๆ แบ่งย่อยออกเป็น เขต (districts - okresy) ปัจจุบัน ในสโลวาเกียมี 79 เขต

นโยบายต่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป

นโยบายต่างประเทศในปัจจุบัน ภายใต้การนำของนาย Jan Kubis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตนักการทูต ซึ่งเชี่ยวชาญการทูตพหุภาคี เปลี่ยนแนวทางจากการให้ความสำคัญและสร้างความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มาเป็นการให้ความสำคัญกับสหภาพยุโรป และปรับนโยบายต่างประเทศตามแนวทางของสหภาพยุโรปแทน

ปัจจุบันสโลวาเกียมีบทบาทที่สำคัญในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ วาระปี 2549-2550 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของ OSCE OECD นาโต้ และ สหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2547

ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างสโลวาเกียกับฮังการีเป็นประเด็นที่อ่อนไหวในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสโลวาเกีย อันเนื่องมาจากปัญหาชนกลุ่มน้อยเชื้อสายฮังกาเรียนใน สโลวาเกีย ซึ่งมีอยู่ประมาณประมาณ 600,000 คน หรือ ร้อยละ 9.7 (ฮังการีเคยปกครองสโลวาเกียอยู่กว่า 1,000 ปีภายใต้จักรวรรดิออสโตร-ฮังการเรียน จึงมีชาวฮังการีในสโลวาเกียจำนวนมาก) ในสมัยของนายกรัฐมนตรี Meciar ได้เคยออกกฎหมายที่ละเมิดสิทธิของชาวฮังกาเรียน เช่น ประกาศใช้ภาษาสโลวักเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียว อีกทั้งยังห้ามใช้ป้ายภาษาฮังการีแม้แต่ในย่านที่อยู่อาศัยของชาวฮังกาเรียนกลุ่มน้อย ในขณะที่ฮังการีได้ออกกฎหมายที่จะให้สิทธิและความคุ้มครองชนเชื้อสายฮังการีแม้จะเป็นประชากรของประเทศอื่น ๆ จึงส่งผลให้ประเทศทั้งสองมีความขัดแย้งกันในระดับหนึ่ง

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ความสัมพันธ์สโลวาเกีย – ไทย
ไฟล์:Slovakia Thailand Locator.png

สโลวาเกีย

ไทย
  • การทูต
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
  • การค้าและเศรษฐกิจ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
  • การศึกษาและวิชาการ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

กองทัพ

ดูบทความหลักที่: กองทัพสโลวาเกีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้