ประเพณีกวนข้าวทิพย์
ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ที่ปะปนกับพิธีกรรมของศาสนาพุทธ โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลที่นางสุชาดาได้ปรุงข้าวมธุปายาสถวายพระโคตมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ถือกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นของทิพย์ เมื่อได้จัดทำขึ้นจึงเรียกว่า ข้าวทิพย์ ในประเทศไทย ชาวบ้านจะทำในเทศกาลออกพรรษา ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นการสักการบูชา ซึ่งถือเป็นสิริมงคลกับตนเองถ้ารับประทาน การกวนข้าวทิพย์ต้องอาศัยความสามัคคีจากชาวบ้านจึงจะสำเร็จลงได้ การที่ทำในวันออกพรรษา เพื่อถวายเป็นเครื่องสักการบูชา และรับเสด็จพระพุทธองค์ที่เสด็จจากจำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์[1][2]ประเพณีกวนข้าวทิพย์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2556[1]

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเภท ประเพณี
จัดขึ้นโดย ไทย
การเฉลิมฉลอง ไม่
การถือปฏิบัติ การกวนข้าวทิพย์ถวายพระสงฆ์ และให้ประชาชนรับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล[1]
วันที่ ตามแต่ละท้องที่
ความถี่ เทศกาลประจำปี

ใกล้เคียง

ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีแต่งงานผี ประเพณี ประเพณีมุขปาฐะ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ประเพณีรับบัว ประเพณีกำฟ้า ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ