แนวคิดย่อย ของ ประเภทของประชาธิปไตย

  • ประชาธิปไตยแบบปฏิปักษ์ (Agonistic pluralism) - เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงมิได้ และควรนำเข้าสู่กระบวนการอันเป็นประโยชน์
  • ประชาธิปไตยโดยคาดการณ์ (Anticipatory democracy) - เป็นประชาธิปไตยที่มติมหาชนจะได้มาโดยอาศัยการคาดการณ์อนาคตอันกระทำอย่างเป็นแบบแผนและมักอ้างอิงข้อมูลข่าวสารทางการตลาด
  • ประชาธิปไตยแบบชีวภูมิภาค (Bioregional democracy) - เป็นประชาธิปไตยที่ระบบทางการเมือง ทางวัฒนธรรม และทางสิ่งแวดล้อม มีพื้นฐานบนภูมิภาคทางชีววิทยา ซึ่งเรียก "เขตนิเวศภูมิภาค" (ecoregion) หรือ "ชีวภูมิภาค" (bioregion)
  • ประชาธิปไตยเพื่อพิทักษ์ (Defensive democracy) - เป็นประชาธิปไตยที่มีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางอย่างของพลเมืองไว้เพื่อพิทักษ์สถาบันแห่งระบอบประชาธิปไตย
  • ประชาธิปไตยโดยไตร่ตรอง (Deliberative democracy) - เป็นประชาธิปไตยที่การกำหนดนโยบายจะอาศัยผลการศึกษาวิจัยความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในสังคม
  • ชนาธิปไตย (Demarchy) - เป็นประชาธิปไตยที่สมมุติขึ้น กิจการทางการเมืองจะดำเนินไปโดยกลุ่มบุคคลซึ่งมาจากการสุ่มเลือกหรือการจับสลาก ประชาธิปไตยแบบนี้ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยที่ไร้การเลือกตั้ง
  • ประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic democracy) - เป็นประชาธิปไตยที่ส่งเสริมกระบวนการทางประชาธิปไตยโดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโยลีสารสนเทศและการสื่อสาร มักปรากฏในประชาธิไตยแบบสาธารณรัฐหรือในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
  • ประชาธิปไตยแบบฉุกเฉิน (Emergent democracy) - เป็นระบบทางสังคมที่สื่อมวลชนกระแสหลักถูกบั่นทอนบทบาทลงด้วยการจำกัดขอบเขต เป็นการปกครองที่ดำเนินในสถานการณ์อันฉุกละหุกหรือมิได้เตรียมการไว้ก่อน
  • ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic centralism) - เป็นวิธีการทางองค์กรอันซึ่งสมาชิกของพรรคการเมืองจะมาอภิปรายถกเถียงเรื่องนโยบายก่อนจะลงมติเพื่อให้สมาชิกทุกคนถือปฏิบัติตามโดยเฉพาะในที่สาธารณะ
  • ประชาธิปไตยแบบเผด็จการ (Democartic dictatorship)
  • ระบบพรรคเด่น (Dominant-party system) - เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองด้วยตนเองหรือในรัฐบาลผสมที่มีชุดเดียว
  • ประชาธิปไตยเชิงเศรษฐกิจ (Economic democracy) - เป็นทฤษฎีทางประชาธิปไตยอันส่งเสริมให้พลเมืองมีความเสมอภาคกันในการดำรงชีพหรือในมาตรฐานการดำรงชีพ
  • ประชาธิปไตยของชนชั้นรากหญ้า (Grassroots democracy) - เป็นประเภทหนึ่งของประชาธิปไตยที่เน้นการปกครองโดยหน่วยปกครองเล็ก ๆ ที่ได้รับการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง อาทิ รัฐบาลท้องถิ่น หรือเทศบาล
  • อเสรีประชาธิปไตย (Illiberal democracy) - เป็นประเภทหนึ่งของประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งให้บริหารอำนาจนั้นสามารถใช้อำนาจได้ตามใจปรารถนาโดยไม่มีขอบเขตหรือมีน้อย
  • ประชาธิปไตยเชิงปฏิสันถาร (Interactive democracy) - เป็นประเภทหนึ่งของประชาธิปไตยที่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออำนวยให้พลเมืองได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเมือง อาทิ นโยบายใหม่ กฎหมายใหม่ หรือเพื่อให้สามารถใช้วิจารณญาณตัดสินใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการลงประชามติได้
  • ประชาธิปไตยภายในพรรค (Intra-party democracy) - เป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยกระบวนการหนึ่งซึ่งปรากฏในรัฐบาลแบบพรรคเดียว
  • เสรีประชาธิปไตย (Liberal democracy) - เป็นประเภทหนึ่งของประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งให้ความคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลและทรัพย์สินโดยอาศัยหลักนิติธรรม
  • ประชาธิปไตยแบบทุนนิยม (Democratic capitalism) หรือประชาธิปไตยโดยตลาด (Market democracy) - เป็นอุดมคติทางเศรษฐศาสตร์ที่มีพื้นฐานบนการจัดการเศรษฐกิจแบบไตรภาคีโดยอาศัยตลาดเป็นฐาน เพื่อจูงใจให้มีการตลาดค้าเสรี การจัดระเบียบองค์การทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และระบบทางวัฒนธรรมและศีลธรรมที่ส่งเสริมมโนทัศน์แบบพหุนิยม
  • ประชาธิปไตยแบบพหุพรรค (Multiparty democracy) - เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองมากกว่าสองพรรคเป็นผู้บริหารอำนาจร่วมกันหรือผ่านการจัดตั้งรัฐบาลผสม
  • ประชาธิปไตยใหม่ (New Democracy) - เป็นประชาธิปไตยตามมโนทัศน์ของลัทธิเหมาเจ๋อตงซึ่งว่าด้วยกลุ่มชนชั้นทั้งสี่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศจีน
  • ประชาธิปไตยแบบไม่ระบุพรรค (Non-partisan democracy) - เป็นการปกครองหรือการบริหารองค์กรแบบมีผู้แทนซึ่งมาจากการเลือกตั้งซึ่งจัดเป็นทั่วไปตามกำหนดเวลาโดยไม่คำนึงถึงพรรคการเมืองที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัด
  • ประชาธิปไตยแบบมูลวิวัติ (Radical democracy) - เป็นประเภทหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่มุ่งประคับประคองและประนีประนอมความแตกต่างและความไม่ลงรอยกันในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง
  • ประชาธิปไตยเชิงศาสนา (Religious democracy) - เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่จริยธรรมทางศาสนามีบทบาทหลัก หรือที่ปรากฏในสังคมอันมีประชาการเป็นบุคลากรทางศาสนา
  • ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ (Republican democracy) - เป็นการปกครองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่กระทำโดยผ่านผู้แทนซึ่งมาจากการเลือกตั้ง
  • ประชาธิปไตยเชิงสังคม (Social democracy) - เป็นปรัชญาการเมืองที่เรียกร้องให้การปกครองต้องเป็นไปเพื่อประชาชน คล้ายกับลัทธิสังคมนิยมแต่ต่างกันตรงที่สังคมนิยมไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ
  • สังคมาธิปไตย (Sociocracy) - เป็นวิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพื้นฐานบนการตัดสินใจทางการเมืองด้วยความยินยอมของสังคม
  • การจับสลาก (Sortition) - เป็นวิธีการทางประชาธิปไตยเพื่อคัดเลือกโดยการจับสลากซึ่งบุคลากรทางการเมืองการปกครองตามมโนทัศน์ของอริสโตเติล และเคยใช้ในสมัยโบราณที่กรุงเอเธนส์และนครเวนิซ
  • ประชาธิปไตยแบบโซเวียต (Soviet democracy) หรือ ประชาธิปไตยแบบคณะกรรมการ (Council democracy) - เป็นประชาธิปไตยที่ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้เลือกตั้งและถอดถอนผู้แทนของตนในคณะกรรมการบริหารอำนาจรัฐ
  • ประชาธิปไตยแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (Totalitarian democracy) - เป็นการปกครองที่ผู้แทนซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายมีเอกภาพในบริหารอำนาจ ขณะที่พลเมืองแม้จะมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง แต่กลับมีส่วนร่วมน้อยในการตัดสินใจทางการเมืองหรือไม่มีเลย
  • ประชาธิปไตยแบบเวสต์มินสเตอร์ (Westminster democracy) - เป็นประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภาอันมีต้นกำเนิดมาจากระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักร
  • ประชาธิปไตยในที่ทำงาน (Workplace democracy) - เป็นการปรับใช้ประชาธิปไตยแก่ระบบการบริหารงานขององค์กร เพื่อต่อต้านระบบการบริหารงานแบบเดิมที่เป็นไปโดยลำดับบังคับบัญชาสูงต่ำ
  • ประชาธิปไตยแนวแจ็คสัน (Jacksonian democracy) คือ แนวคิดระบอบประชาธิปไตยของประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็กสัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของอำนาจบริหารและตำแหน่งประธานาธิบดีเหนือสภาคองเกรส
  • ประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สัน (Jeffersonian democracy) คือ แนวคิดระบอบประชาธิปไตยของรัฐบุรุษชาวอเมริกัน โทมัส เจฟเฟอร์สัน โดยมีใจความสำคัญหลายประการ ซึ่งแตกต่างจากประชาธิปไตยแบบแจ็กสันอยู่มาก