ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ
ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (อังกฤษ: red tide) คือชื่อสามัญของปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (อังกฤษ: algal bloom) หรือ การรวมตัวขนาดใหญ่ของจุลชีพในทะเล เกิดขึ้นจากไดโนแฟลกเจลเลตไม่กี่ชนิด ที่มีการสะพรั่งสีแดงหรือน้ำตาล ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ คือ เหตุการณ์ซึ่งสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือ น้ำจืด มีการสะสมอย่างรวดเร็วในห้วงน้ำ ส่งผลให้เกิดสีบนผิวน้ำ ปกติแล้วจะพบได้ตามชายหาด ในทุก ๆ ปีปรากฏการณ์นี้ยังฆ่าแมนนาทีจำนวนมาก [1]สาหร่ายเหล่านี้ ซึ่งมีอีกชื่อนึงว่าแพลงก์ตอนพืช ซึ่งเป็นโพรทิสต์เซลล์เดียว เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช และสามารถก่อให้เกิดรอยแต้มขุ่นที่สามารถสังเกตได้ใกล้ผิวน้ำ ในขณะเดียวกันนั้น แพลงก์ตอนพืชบางชนิด เช่น ไดโนแฟลกเจลเลต ยังมีรงควัตถุสังเคราะห์แสง ซึ่งมีสีที่หลากหลายตั้งแต่สีเขียว ไปจนถึงสีเขียวและสีแดงเมื่อสาหร่ายมีจำนวนหนาแน่น จะส่งผลให้น้ำเปลี่ยนสีหรือขุ่นมัว โดยปกติแล้วจะเป็นสีแดงหรือสีเขียว โดยบางทีอาจจะเป็นสีม่วงหรือสีชมพูก็ได้ สาหร่ายสะพรั่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของน้ำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีความหนาแน่นสูงเพียงพอเท่านั้น และไม่จำเป็นจะต้องเป็นสีแดงเสมอไปในบางครั้ง ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬอาจเกี่ยวข้องกับผลผลิตของชีวพิษ การขาดแคลนของออกซิเจนละลาย หรือผลกระทบเชิงลบอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้โดยปกติแล้วจะเรียกว่า สาหร่ายสะพรั่งที่มีความอันตราย ผลกระทบที่เห็นได้ชัดที่สุดจากปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับอัตราการตายของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ อย่างที่อาศัยอยู่ในทะเลรวมไปถึงแนวชายหาด เช่น ปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ ปรากฏการณ์ตัวล่อ