การทำวิจัยซ้ำ ของ ปรากฏการณ์ฟอเรอร์

มีสองปัจจัยสำคัญในการสร้างมาตรฐานในการวิจัยซ้ำ ปัจจัยแรก คือ เนื้อหาคำอธิบายที่จะต้องมีสัดส่วนบุคลิกในแง่บวกและแง่ลบที่เหมาะสม ปัจจัยที่สองคือ ผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องมีความเชื่อถือว่าบุคคลที่ให้ผลประเมินกับตนจะให้ผลประเมินที่ถูกต้องและเป็นกลาง[6][7]

สิ่งที่ทำให้ปรากฏการณ์ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันอยู่เสมอนั้นเป็นเพราะคำอธิบายที่คลุมเครือ ทำให้ผู้คนสามารถใส่การตีความของตนเองลงไปในเนื้อหาที่ตนได้รับ จึงทำให้เนื้อหานั้นเป็นเรื่อง "เฉพาะตัว" ของตนเองได้ เช่น "บางครั้งคุณรู้สึกมั่นใจในตัวเอง แต่บางครั้งคุณก็ลังเล" ประโยคนี้สามารถใช้ได้กับทุกคน ดังนั้น แต่ละบุคคลจึงสามารถใส่การตีความของตนเองลงไปได้ การใช้เนื้อหาที่คลุมเครือเช่นนี้จะรับรองผลการประเมินที่น่าเชื่อถือในการวิจัยซ้ำ[8]

ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีการวิจัยโดยนำเนื้อหาบางส่วนมาเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนสามารถตีความผลประเมินให้เกี่ยวกับองค์กรแทนที่ตัวบุคคล ผลที่ได้ออกมาใกล้เคียงกับผลวิจัยอื่นๆ โดยชี้ว่าบุคคลมักเทียบลักษณะภาพลักษณ์องค์กรเป็นบุคคล และถูกจูงใจให้เชื่อได้ง่ายในการตีความลักษณะของคน[9]

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ ปรากฏการณ์ตัวล่อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ http://homepage.bluewin.ch/Ysewijn/english_Barnum.... http://atheism.about.com/od/logicalflawsinreasonin... http://denisdutton.com/cold_reading.htm http://www.hexinduction.com/speaker/ http://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-an... http://jcc.sagepub.com/content/40/3/381.full.pdf+h... http://www.scribd.com/doc/17378132/The-Fallacy-of-... http://www.skepdic.com/forer.html http://thearticulateceo.typepad.com/my-blog/2012/0... http://forer.netopti.net/