ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย

ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย[ก] (อังกฤษ: colony collapse disorder, ย่อ: CCD) เป็นปรากฏการณ์ที่ผึ้งงานจากรังหรือนิคมผึ้งพันธุ์ (Western honey bee) หายไปอย่างฉับพลัน การหายไปดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์การเลี้ยงผึ้ง และรู้จักกันในหลายชื่อ[ข] ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "colony collapse disorder" ในปลายปี 2549[1] พร้อมกับการหายไปของนิคมผึ้งพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นมากในขณะนั้น[2] ผู้เลี้ยงผึ้งสังเกตปรากฏการณ์ที่คล้ายกันในเบลเยียม ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ กรีซ อิตาลี โปรตุเกสและสเปน[3] และยังมีรายงานเบื้องต้นมาจากสวิตเซอร์แลนด์และเยอรมนี แม้ว่าจะรุนแรงน้อยกว่า[4] ขณะที่สมัชชาไอร์แลนด์เหนือได้รับรายงานการลดจำนวนกว่า 50%[5]การใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (neonicotinoid) เช่น อะเซทามิปริด (acetamiprid) โคลไธอานิดิน (clothianidin) และอิมิดาโคลไพรด์ (imidacloprid) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ที่เพิ่มขึ้น ตามติดการตายของผึ้งที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2548[6] ในปี 2555 การศึกษาอิสระที่ผ่านการกลั่นกรองจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่านีโอนิโคตินอยด์มีช่องทางการสัมผัสซึ่งตรวจจับไม่ได้ที่กระทบต่อผึ้ง เช่น ผ่านฝุ่น เรณู และน้ำต้อย[7] ว่าความเป็นพิษต่ำกว่านาโนกรัมส่งผลให้ผึ้งไม่สามารถบินกลับรังโดยไม่ทำให้ถึงตายทันที[8] ซึ่งเป็นอาการหลักของปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย[9] และบ่งชี้ว่ามีนีโอนิโคตินอยด์ในสิ่งแวดล้อมในเหมืองฝายและดิน[10] การศึกษาเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการทบทวนอย่างเป็นทางการในปี 2556 โดยองค์การความปลอดภัยอาหารยุโรป ที่ระบุว่า นีโอนิโคตินอยด์ก่อความเสี่ยงสูงอย่างยอมรับไม่ได้แก่ผึ้ง และว่าการอ้างความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลที่ขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์ที่อุตสาหกรรมเป็นผู้อุปถัมภ์นั้นมีข้อบกพร่อง[11] ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลายอาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน[12][13][14][15] ในปี 2550 บางหน่วยงานให้เหตุผลว่าปัญหาเกิดจากปัจจัยชีวนะ เช่น เห็บ Varroa[16] ปรสิต Nosema apis และไวรัสอัมพาตฉับพลันอิสราเอล[17][18] ปัจจัยส่งเสริมอื่นอาจรวมความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม[19] ทุพโภชนาการ และการเลี้ยงผึ้งแบบย้ายถิ่น อีกการศึกษาหนึ่งในปี 2555 ยังชี้หลายสาเหตุ ซึ่งระบุรายการสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ไว้หลังเห็บ Varroa พันธุกรรม การสูญเสียถิ่นที่อยู่ และโภชนาการที่เลว[20]การล่มสลายของรังผึ้งนั้นมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะพืชผลการเกษตรหลายชนิดทั่วโลกต้องอาศัยผึ้งพันธุ์ถ่ายเรณู ในเดือนเมษายน 2556 สหภาพยุโรปประกาศแผนจำกัดการใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดเพื่อกันมิให้ประชากรผึ้งลดลงกว่านี้[21] และเมื่อสิ้นเดือนนั้น ได้ผ่านกฎหมายซึ่งห้ามการใช้นีโอนิโคตินอยด์หลายชนิดเป็นเวลาสองปี[22] การขาดแคลนผึ้งในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่จะต้องเช่าผึ้งมาถ่ายเรณูสูงสุดถึง 20%

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ ปรากฏการณ์ตัวล่อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย http://www.beekeeping.com/articles/us/ccd.pdf http://money.cnn.com/2007/03/29/news/honeybees/ http://www.newscientist.com/article/mg20126954.600... http://www.nytimes.com/2007/09/07/science/07bees.h... http://www.nytimes.com/2013/03/29/science/earth/so... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=b... http://www.theyworkforyou.com/ni/?id=2009-06-08.9.... http://www.sueddeutsche.de/wissen/raetselhafter-ex... http://www.aginfo.psu.edu/News/07Jan/HoneyBees.htm http://www.ento.psu.edu/MAAREC/pressReleases/Colon...