ปรากฏการณ์สไตรแซนด์
ปรากฏการณ์สไตรแซนด์

ปรากฏการณ์สไตรแซนด์

ปรากฏการณ์สไตรแซนด์ (อังกฤษ: Streisand effect) เป็นปรากฏการณ์ที่ความพยายามในการปกปิดหรือลบข้อมูลก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ ทำให้ข้อมูลข่าวสารได้รับการเปิดเผยเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น (โดยปกติการแพร่หลายดังกล่าวเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต) คำว่า "ปรากฏการณ์สไตรแซนด์" เป็นคำสมัยใหม่ที่ใช้สะท้อนถึงความพยายามในยุคก่อนที่จะปกปิดหรือเซ็นเซอร์สิ่งต่าง ๆ แต่กลับทำให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดความสนใจและการติดตามเรื่องราวมากกว่าปกติทั่วไปคำว่า "ปรากฏการณ์สไตรแซนด์" เป็นคำที่ตั้งชื่อตามบาร์บรา สไตรแซนด์ นักแสดงหญิงอเมริกัน ที่พยายามปกปิดภาพถ่ายบ้านของเธอในปี พ.ศ. 2546 แต่กลับทำให้ภาพถ่ายดังกล่าวเป็นที่สนใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก เช่น ในการส่งคำบอกกล่าวให้หยุดกระทำการละเมิด (cease-and-desist) เพื่อให้มีการปกปิดตัวเลขที่สงวนไว้สำหรับผู้ทรงลิขสิทธิ์ (illegal numbers) ไฟล์ หรือเว็บไซต์ ความปรากฏว่าแทนที่สิ่งที่ระบุให้ปกปิดนั้นจะได้รับการปกปิด ข้อมูลเหล่านั้นกลับก่อให้เกิดความสนใจจากสังคม และก่อให้เกิดการทำซ้ำ (mirror) บนอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายแจกจ่ายไฟล์ (file-sharing network) อย่างกว้างขวาง หรือในบางกรณีก่อให้เกิดเพลงล้อเลียนหรือวิดีโออันเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวด้วย[1][2]ไมค์ แมสนิก (Mike Masnick) จากเว็บบล็อก Techdirt เป็นผู้สร้างคำว่า "ปรากฏการณ์สไตรแซนด์" หลังจากที่สไตรแซนด์แพ้คดีที่ยื่นฟ้องต่อช่างภาพชื่อเคนเนท อเดลแมน (Kenneth Adelman) และเว็บไซต์ Pictopia.com ด้วยเหตุล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คดีดังกล่าวซึ่งเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐมีคำร้องขอให้อเดลแมนนำภาพถ่ายทางอากาศของแมนชั่นของสไตรแซนด์ออกจากคลังภาพถ่ายตามแนวชายฝั่งของแคลิฟอร์เนียกว่า 12,000 รูป ซึ่งสามารถเรียกดูได้ทั่วไป[1][3][4] อเดลแมนยืนยันว่าเขาได้ถ่ายภาพทรัพย์สินริมชายหาดเพื่อแสดงให้เห็นถึงการกัดเซาะชายฝั่ง โดยได้รับการสนับสนุนและอนุมัติโดยโครงการบันทึกภาพถ่ายชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย (California Coastal Records Project)[5][6] ทั้งนี้ ก่อนที่สไตรแซนด์จะฟ้องคดี ภาพที่ 3850 อันเป็นภาพที่โจทก์ฟ้องขอให้นำออกนั้นได้รับการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของอเดลแมนเพียง 6 ครั้ง ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นทนายของสไตรแซนด์ 2 ครั้ง[7] แต่หลังจากที่สไตรแซนด์แพ้คดี สาธารณชนจึงได้รับรู้เกี่ยวกับภาพนี้มากขึ้น โดยมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ของอเดลแมนถึง 420,000 คนในเดือนถัดมา[8]

ใกล้เคียง

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์ขบวนแห่ ปรากฏการณ์แม็คเกอร์ก ปรากฏการณ์ 2012 ปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์การวางกรอบ ปรากฏการณ์ความจริงลวง ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ ปรากฏการณ์ตัวล่อ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรากฏการณ์สไตรแซนด์ http://www.lfpress.ca/cgi-bin/publish.cgi?p=111404... http://www.redherring.com/Article.aspx?a=20872&hed... http://www.techdirt.com/articles/20050105/0132239.... http://www.thesmokinggun.com/documents/celebrity/b... http://web.archive.org/web/20060217032922/http://l... http://www.californiacoastline.org/news/sjmerc5.ht... http://www.californiacoastline.org/streisand/lawsu... http://www.californiacoastline.org/streisand/slapp... http://replay.waybackmachine.org/20070218200850/ht...