หน่วยวัด ของ ปริมาตร

หน่วยวัดปริมาตรตามตำรา
The New Student's Reference Work
การแปลงหน่วยเป็นมิลลิลิตรโดยประมาณ[3]
อังกฤษสหรัฐฯ
ของเหลว
สหรัฐฯ
ของแห้ง
กิลล์142 มล.118 มล.138 มล.
ไพนต์568 มล.473 มล.551 มล.
ควอร์ต1137 มล.946 มล.1101 มล.
แกลลอน4546 มล.3785 มล.4405 มล.

หน่วยวัดปริมาตรใช้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยวัดความยาว โดยเติมคำว่า ลูกบาศก์ นำหน้าหน่วยความยาวที่ใช้วัดขนาดในสามมิติทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง ในหน่วยเดียวกัน เมื่อเขียนเป็นอักษรย่อจะเติม ลบ. นำหน้าหรือกำกับด้วย ยกกำลังสาม อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น วัตถุทรงลูกบาศก์ชิ้นหนึ่งมีทุกด้านยาวหนึ่งเซนติเมตร (ซม., cm) จะมีปริมาตรเท่ากับหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตร (ลบ.ซม., ซม.3, cm3)

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกำหนดให้หน่วยวัดปริมาตรมาตรฐานคือหน่วยลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม., ม.3, m3) ระบบเมตริกก็มีหน่วยลิตร (ล., L) เป็นหน่วยวัดปริมาตรอีกด้วย ซึ่งเท่ากับปริมาตรของทรงลูกบาศก์ขนาดสิบเซนติเมตร จึงสัมพันธ์กับหน่วยลูกบาศก์เมตรเช่นกัน นั่นคือ

1 ลิตร = (10 เซนติเมตร)3 = 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 0.001 ลูกบาศก์เมตร

ดังนั้น

1 ลูกบาศก์เมตร = 1000 ลิตร

บ่อยครั้งที่ปริมาณของเหลวจำนวนเล็กน้อยถูกวัดในหน่วยมิลลิลิตร นั่นคือ

1 มิลลิลิตร = 0.001 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

หน่วยวัดปริมาตรแบบดั้งเดิมอื่น ๆ ที่มีหลากหลายก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เช่น ลูกบาศก์นิ้ว ลูกบาศก์ฟุต ลูกบาศก์ไมล์ ช้อนชา ช้อนโต๊ะ ถ้วยตวง ออนซ์ แดรม กิลล์ ไพนต์ ควอร์ต แกลลอน มินิม บาร์เรล คอร์ด เพก บุเชิล ฮอกสเฮด ฯลฯ ส่วนหน่วยวัดไทยดั้งเดิมก็มีอย่างเช่น ถัง 20 ลิตร บั้น เกวียน เป็นต้น

ใกล้เคียง

ปริมาตร ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที ปริมาตรเลือดที่หัวใจบีบออกแต่ละครั้ง ปริมาตรเลือดไหลเวียน ปริมาตรจำเพาะ ปริมาตรกระจายตัว ปริมาตรเลือดน้อย ปริมาตรเลือดมาก ปริมาณรังสีสมมูล