การจำแนก ของ ปลาตอง

ปลาตองแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่[3]

ชื่อภาษาไทยชื่อวิทยาศาสตร์ขนาด
(โดยประมาณ)
ลักษณะเด่นสถานที่พบ
ปลาตองลายChitala blanci1 เมตรมีจุดและลวดลายมากที่สุดพบเฉพาะลุ่มน้ำโขงและบางส่วนของแม่น้ำน่านเท่านั้น
ปลากรายบอร์เนียวChitala borneensis40 เซนติเมตรเป็นชนิดที่เล็กที่สุดในสกุลนี้[4]พบได้บนเกาะบอร์เนียว
ปลากรายอินเดียChitala chitala1.5 เมตรมีจุดที่เล็กที่สุด แต่มีขนาดลำตัวใหญ่พบได้ที่ประเทศอินเดีย
ปลากรายสุมาตราChitala hypselonotus1 เมตร-พบได้ที่เกาะสุมาตราและคาบสมุทรมลายู
ปลาสะตือChitala lopis1.5 เมตรมีสีค่อนข้างคล้ำ มีขนาดค่อนข้างใหญ่พบได้ในภูมิภาคอินโดจีนจนถึงคาบสมุทรมลายู และประเทศอินโดนีเซีย
ปลากรายChitala ornata1 เมตรนิยมรับประทานและเลี้ยงเป็นปลาสวยงามพบในภูมิภาคอินโดจีน

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ซึ่งมีการบริโภคด้วยการปรุงสดและแปรรูปเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ลูกชิ้น, ทอดมัน หรือห่อหมก และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด C. ornata โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือสีที่แปลกออกไปเหมือนสีทองคำขาว เป็นต้น

อนึ่ง ปลาในสกุล Chitala เคยอยู่จัดอยู่ในสกุลเดียวกับ Notopterus โดยถือเป็นสกุลย่อย แต่ปัจจุบันได้แยกออกมาต่างหาก เนื่องจาก ไทสัน โรเบิร์ตส์ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาและทำการอนุกรมวิธานแยกออกมาในปี ค.ศ. 1992 เพราะมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน 3 ประการคือ

  1. กระดูกกะโหลกหัวด้านหลังเว้าลึก
  2. มุมปากยื่นเลยขอบนัยน์ตา
  3. เกล็ดที่หัวมีขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับเกล็ดบนลำตัว [5]

ซึ่งปลาที่อยู่ในสกุล Notopterus นี้ก็เหลือเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ Notopterus notopterus ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก และมีส่วนลาดที่สันหลังน้อยกว่า ส่วนหน้ากลมมน อีกทั้งความกว้างของปากก็ไม่ยาวจนเลยลูกตา