การสำรวจ ของ ปล่องแบบน้ำร้อน

ในปี 1949 มีรายงานการค้นพบน้ำร้อนที่บริเวณส่วนกลางของทะเลแดง หลังจากนั้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 มีการยืนยันการค้นพบน้ำร้อนดังกล่าวซึ่งมีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเกิดร่วมกับโคลนเนื้อโลหะ สารละลายร้อนไหลออกมาจากรอยแยกมีพลังใต้พื้นทะเลแต่ด้วยสารละลายดังกล่าวมีความเค็มสูงจึงไม่มีสิ่งมีชีวิตใด ๆ อาศัยอยู่[2] น้ำเกลือที่พบในโคลนดังกล่าวปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อการทำเหมืองผลิตโลหะมีค่าและโลหะไร้สกุล

ระบบนิเวศน์ของการสังเคราะห์ทางเคมีบริเวณปล่องไฮโดรเทอร์มอลใต้ทะเลถูกค้นพบตามแนวรอยแยกกาลาปากอส (ยอดเขาแห่งหนึ่งของแนวเทือกเขากลางสมุทรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก) ในปี 1977 โดยคณะนักธรณีวิทยาสมุทรศาสตร์ที่กำลังศึกษาอุณหภูมิของมหาสมุทร ในปี 1979 นักชีววิทยาได้ย้อนกลับไปที่แนวเทือกเขาดังกล่าวและใช้ยานดำน้ำแอลวินเพื่อการวิจัยของสำนักงานวิจัยนาวี จากสถาบันสมุทรศาสตร์วู้ดโฮลเพื่อลงไปดูชุมชนของสิ่งมีชีวิตในบริเวณปล่องไฮโดรเทอร์มอลนั้นด้วยตาของพวกเขาเอง และในปีเดียวกันนั้นเองนักวิทยาศาสตร์ ปีเตอร์ ลอนส์เดล ก็ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตบริเวณปล่องไฮโดรเทอร์มอลนั้น

ในปี 2005 บริษัทสำรวจแร่เนปจูนรีซอร์สเอ็นแอลได้รับอาชญาบัตรสำรวจพื้นที่ 35,000 ตารางกิโลเมตรเหนือพื้นที่หมู่เกาะรูปโค้งเกอมาเดคซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะในประเทศนิวซีแลนด์เพื่อการสำรวจแหล่งแร่ซัลไฟด์ขนาดใหญ่ในพื้นท้องทะเลซึ่งเป็นแหล่งศักยภาพใหม่ของแร่ซัลไฟด์ของโลหะตะกั่ว สังกะสี และทองแดงที่เกิดจากการสะสมตัวบริเวณปล่องไฮโดรเทอร์มอลในปัจจุบัน

มีการค้นพบปล่องไฮโดรเทอร์มอลแห่งหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งคอสตาริก้ามีชื่อเรียกกันว่าปล่องไฮโดรเทอร์มอลเมดูซ่า (ตั้งชื่อตามหญิงงามชื่อเมดูซ่าที่มีเส้นผมเป็นงูในตำนานเทพเจ้ากรีก) ถูกแถลงสู่สาธารณชนขึ้นในเดือนเมษายน ในปี 2007[3]

ละอองพวยพุ่งสีขาวที่ปล่องแชมเปญที่ดอมินีกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปล่องแบบน้ำร้อน http://www.botos.com/marine/vents01.html#body_4 http://www.nautilusminerals.com/s/Media-NewsReleas... http://www.neptuneminerals.com/Neptune-Minerals-Ke... http://www.saudiaramcoworld.com/issue/198205/silve... http://www.space.com/missionlaunches/missions/mars... http://www.theallineed.com/ecology/06030301.htm http://www.iu-bremen.de/news/iubnews/09634/ http://www.divediscover.whoi.edu/hottopics/biogeo.... http://www.whoi.edu/oceanus/viewArticle.do?id=2400 http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=17933...