การใช้ประโยชน์ ของ ปล่องแบบน้ำร้อน

ปล่องไฮโดรเทอร์มอลได้นำไปสู่การกำเนิดทรัพยากรแร่ที่เป็นประโยชน์ด้วยการสะสมตัวของแร่ซัลไฟด์จำนวนมหาศาลบนพื้นท้องทะเลมวลสินแร่เมานต์ไอซ่าในรัฐควีนแลนด์ของประเทศออสเตรเลียถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีเยี่ยม[16]

เร็ว ๆ นี้มีบริษัทสำรวจแหล่งแร่หลายบริษัทมีการเคลื่อนไหวคึกคักสืบเนื่องมาจากราคาของภาคแร่โลหะไร้สกุลที่ขยับตัวสูงขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 2000 ทำให้บริษัทเหล่านี้ได้หันไปให้ความสนใจที่จะผลิตทรัพยากรแร่จากแหล่งไฮโดรเทอร์มอลบนพื้นท้องทะเลมากขึ้น อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีแล้วการลดราคาของแร่อย่างฮวบฮาบก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน[17] เมื่อพิจารณาในกรณีของมวลสินแร่เมานต์ไอซ่าแล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลที่จะหย่อนช่องลิฟต์และโครงสร้างพื้นฐานใต้ดินลงไปจากนั้นก็เจาะและระเบิดแร่ บดย่อย และเข้าสู่กระบวนการที่จะต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมากเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งแร่โลหะไร้สกุลรวมไปถึงกิจกรรมที่ซึ่งต้องใช้แรงงานจำนวนมหาศาล แหล่งไฮโดรเทอร์มอลหนึ่ง ๆ จะประกอบไปด้วยซากเหลือของปล่องและปล่องที่อัดตัวกันแน่นที่สามารถนำขึ้นมาถึงผิวน้ำที่มีเรือจอดทอดสมอนิ่ง ติดตั้งท่อลำเลียง ดำเนินการทำเหมืองโดยการใช้เทคโนโลยีดัดแปลงของการทำเหมืองที่ขุดตักแร่ออกมาโดยตรง ส่งขึ้นไปที่เรือบนผิวน้ำโดยผ่านท่อลำเลียง ผ่านกระบวนการทำให้จำนวนแร่เข็มข้น ดึงน้ำออก แล้วขนส่งทางเรือมุ่งตรงสู่โรงถลุงแร่ ขณะที่แนวคิดนี้ดูเหมือนว่าจะมีความเป็นไปได้น้อยนั้น เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่งทะเลและอุตสาหกรรมทำเหมืองที่ขุดตักแร่ออกมาโดยตรงได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเป็นไปได้สูง

ปัจจุบันมีอยู่สองบริษัทที่ได้เข้าไปดำเนินการถึงระยะสุดท้ายที่จะเริ่มต้นการทำเหมืองแร่ซัลไฟด์จำนวนมหาศาลใต้ท้องทะเลลึก บริษัทนอติลุสมินเนอรอลกำลังอยู่ในระยะคืบหน้าของการเริ่มต้นการผลิตจากแหล่งโซลวาร์ร่าในหมู่เกาะบิสมาร์คและบริษัทเนปจูนมินเนอรอลกำลังอยู่ในระยะเริ่มต้นกับแหล่งรัมเบิ้ลทูเวสต์อยู่ที่เกอร์มาเดคอาร์คใกล้กับหมู่เกาะเกอร์มาเดค บริษัททั้งสองเสนอที่จะใช้การดัดแปลงเทคโนโลยีที่มีอยู่ บริษัทนอติลุสมินเนอรอลมีหุ้นส่วนกับบริษัทเพลเซอร์โดม (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทบาร์ริคโกลด์) ได้ประสบความสำเร็จในปี 2006 ในการตักแร่ซัลไฟด์ใต้ท้องทะเลมากกว่า 10 ตันขึ้นมาที่ผิวน้ำโดยการใช้เครื่องมืออย่างดรัมคัตเตอร์ดัดแปลงติดตั้งบนยานใต้น้ำปฏิบัติการระยะไกลซึ่งเป็นเครื่องจักรรุ่นแรกของโลก[18] ในปี 2007 บริษัทเนปจูนมินเนอรอลก็มีความคืบหน้าในการเก็บตัวอย่างตะกอนแร่ซัลไฟด์ใต้ท้องทะเลโดยการใช้ปั้มดูดแร่ที่ดัดแปลงมาจากอุตสาหกรรมน้ำมันติดตั้งบนยานใต้น้ำปฏิบัติการระยะไกลและก็เป็นเครื่องจักรรุ่นแรกของโลกเช่นกัน[19]

การทำเหมืองบนพื้นท้องทะเลจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากเกินความคาดหมาย จำนวนงานมหาศาลกำลังถูกดำเนินการโดยบริษัททั้งสองที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการทำเหมืองบนพื้นท้องทะเลนั้นจะต้องมีความเข้าใจและมีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มต้นดำเนินการทำเหมืองลงไป[20]

มีความพยายามมาตั้งแต่อดีตที่จะนำแร่ขึ้นมาจากพื้นท้องทะเล ระหว่างทศวรรษที่ 1960 – 1970 ได้พบว่ามีกิจกรรมหลายอย่างในการที่จะนำก้อนทรงมนของแร่แมงกานีสขึ้นมาจากพื้นท้องทะเลลึกโดยมีระดับความสำเร็จไปแล้วในลักษณะต่าง ๆ อย่างไรก็ตามมีการแสดงให้เห็นว่าการนำแร่ขึ้นมาจากพื้นท้องทะเลนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และก็เป็นไปได้แล้วในบางครั้ง มีสิ่งที่น่าสนใจยิ่งอย่างหนึ่งคือ การทำเหมืองก้อนทรงมนแร่แมงกานีสถือเป็นสิ่งที่นำไปสู่การพยายามที่ละเอียดอ่อนของซีไอเอในการกู้เรือดำน้ำ เค-129 ของโซเวียตโดยการใช้โกลมาร์เอ็กพลอเรอร์ซึ่งเป็นเรือที่เสนอให้สร้างขึ้นสำหรับภารกิจนี้โดยโฮวาร์ด ฮักเกส ปฏิบัติการนี้รู้จักกันในนามของโปรเจกต์เจนนิเฟอร์และเรื่องราวทั้งหมดของการทำเหมืองใต้พื้นท้องทะเลของก้อนทรงมนแร่แมงกานีสอาจเป็นสิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนให้บริษัทอื่น ๆ สร้างความพยายามต่อไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปล่องแบบน้ำร้อน http://www.botos.com/marine/vents01.html#body_4 http://www.nautilusminerals.com/s/Media-NewsReleas... http://www.neptuneminerals.com/Neptune-Minerals-Ke... http://www.saudiaramcoworld.com/issue/198205/silve... http://www.space.com/missionlaunches/missions/mars... http://www.theallineed.com/ecology/06030301.htm http://www.iu-bremen.de/news/iubnews/09634/ http://www.divediscover.whoi.edu/hottopics/biogeo.... http://www.whoi.edu/oceanus/viewArticle.do?id=2400 http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=17933...