ผลที่ตามมาและความสำคัญ ของ ปัญหาราชวงศ์

กษัตริย์โบดวงในปีค.ศ. 1962

ผลที่ตามมาของปัญหาราชวงศ์ ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นประเด็นปัญหาการเมืองอื่น ในวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1950 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโยแซ็ฟ พอเลียนได้ประกาศตั้งใจที่จะส่งอาสาสมัครทหารเบลเยียมไปร่วมรบในสงครามเกาหลี[52] มีการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาป้องกันประชาคมยุโรปตามมา และในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 เบลเยียมจมอยู่ในวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่ หรือที่เรียกว่า สงครามโรงเรียนครั้งที่สอง เกี่ยวกับโลกิยานุวัติทางการศึกษา (แยกศาสนาออกจากการศึกษา)[53] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 กษัตริย์โบดวงทรงแจ้งต่อนายกรัฐมนตรีกัสต็อง ไอส์เคินว่าพระองค์ไม่ไว้วางพระทัยในรัฐบาลและทรงขอให้เขาลาออก นายกรัฐมนตรีไอส์เคินปฏิเสธและท้าทายพระมหากษัตริย์ทรงอุทธรณ์ตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญและเพิกถอนอำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยฝ่ายเดียว ด้วยความเกรงว่าอาจทำให้เกิดปัญหาราชวงศ์ขึ้นมาอีกครั้ง กษัตริย์โบดวงจึงทรงยอมแพ้ต่อนายกรัฐมนตรี[54]

นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่อธิบายว่า ปัญหาราชวงศ์เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในการฟื้นตัวของเบลเยียมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลและฝ่ายต่อต้านกษัตริย์เลออปอลนำไปสู่การจัดตั้งพรรคสังคมนิยมและพรรคคาทอลิกขึ้นใหม่ตั้งแต่ก่อนสงคราม[30] ปัญหาราชวงศ์เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในความขัดแย้งทางภาษาและเชื้อชาติของเบลเยียม นอกจากนี้ยังเป็นจุดจบของสถาบันเบลเยียมในลักษณะสหภาพซึ่งอาจทำให้ความขัดแย้งระหว่างภูมิภาครุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อตัวมาจากปัญหาราชวงศ์[55] นอกจากนี้ความล้มเหลวของพรรค PSC-CVP ที่พยายามทำตามความต้องการของชาวเฟลมิชในการกระตุ้นให้เกิดการกลับมาของกษัตริย์เลออปอล เพื่อต้องการเสียงสนับสนุนจากพรรคสหภาพประชาชน อันเป็นพรรคชาตินิยมขบวนการเฟลมิชหลังค.ศ. 1954[56] ในเขตวัลลูน มรดกของสหภาพการค้าและการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบสังคมนิยมในช่วงการนัดหยุดงานทั่วประเทศเป็นการปูทางไปสู่การกำเนินใหม่ของขบวนการวัลลูนฝ่ายซ้าย ในที่สุดกลายเป็นเหตุการณ์การนัดหยุดงานทั่วประเทศเบเยียม ค.ศ. 1960-1961[56]

คดีการลอบสังหารลาโฮต์ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในฐานะการฆาตกรรมทางการเมืองเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์เบลเยียม นอกจากนี้คือเหตุการณ์การลอบสังหารอังเดร คูลส์ นักการเมืองฝ่ายสังคมนิยมในปีค.ศ. 1991 ฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลถูกสงสัยแต่ก็ไม่มีการดำเนินคดีใดๆ ในภายหลัง จากการสืบสวนของนักประวัติศาสตร์อย่างรูดี ฟัน ดุร์สแลร์และเอเยง เฟอฮูแยร์ มีการระบุชื่อของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนสังหาร[57] และมีรายงานครั้งสุดท้าย ส่งให้กับรัฐบาลเบลเยียมในปีค.ศ. 2015[58]

ใกล้เคียง

ปัญหา ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาวิถีสั้นสุด ปัญหาราชวงศ์ ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ปัญหาการแต่งงานที่มีเสถียรภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน ปัญหาสกันทอร์ป ปัญหาวันเกิด ปัญหารางวัลมิลเลนเนียม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปัญหาราชวงศ์ http://www.levif.be/info/actualite/belgique/leopol... http://www.rtbf.be/info/belgique/detail_julien-lah... http://www.winstonchurchill.org/support?catid=0&id... //www.worldcat.org/oclc/307971 //www.worldcat.org/oclc/466179092 //www.worldcat.org/oclc/5357114 //www.worldcat.org/oclc/644400689 https://www.demorgen.be/nieuws/zaait-nu-zelfs-de-k... https://newspaperarchive.com/other-articles-clippi... https://www.youtube.com/watch?v=8UiXj-xOlys