ปัญหาราชวงศ์
ปัญหาราชวงศ์

ปัญหาราชวงศ์

ปัญหาราชวงศ์ (ฝรั่งเศส: Question royale, ดัตช์: Koningskwestie) เป็นวิกฤตการเมืองครั้งใหญ่ในเบลเยียม ในช่วงปี ค.ศ. 1945 ถึง 1951 และความขัดแย้งปะทุถึงขีดสุดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1950 "ปัญหา" ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่รายล้อมพระเจ้าเลออปอลที่ 3 แห่งเบลเยียมในเรื่องที่พระองค์จะสามารถกลับประเทศและทรงกลับมามีบทบาทตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ท่ามกลางข้อกล่าวหาถึงบทบาทของพระองค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเบลเยียมหรือไม่ ปัญหานี้แก้ไขโดยการสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์เลออปอลให้แก่สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม พระราชโอรส ในปี ค.ศ. 1951วิกฤตเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์เลออปอลที่ 3 และรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีอูแบร์ ปิแยร์โลต์ในช่วงกองทัพเยอรมันรุกรานเบลเยียม ค.ศ. 1940 กษัตริย์เลออปอลทรงถูกตั้งข้อสงสัยว่าทรงเห็นอกเห็นใจระบอบเผด็จการและพระองค์ทรงบัญชาการกองทัพเบลเยียมในช่วงสงคราม เมื่อพิจารณาถึงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญของพระองค์ พระองค์จะทรงมีฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารที่มีความสำคัญกว่าบทบาทหน้าที่พลเรือนในฐานะประมุขแห่งรัฐ พระองค์ปฏิเสธที่จะละทิ้งกองทัพของพระองค์และปฏิเสธที่จะร่วมรัฐบาลพลัดถิ่นเบลเยียมในฝรั่งเศส การที่กษัตริย์เลออปอลที่ 3 ทรงปฏิเสธที่จะเชื่อฟังคณะรัฐบาลถือเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญ และหลังจากทรงยอมจำนนต่อเยอรมนีในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กษัตริย์เลออปอลทรงถูกประณามอย่างแพร่หลาย ในช่วงการยึดครองของเยอรมัน กษัตริย์เลออปอลทรงถูกกักบริเวณในพระราชวังซึ่งพระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงประทับเพื่อรับความทุกข์ทรมานร่วมกับพสกนิกรของพระองค์ ฝ่ายสัมพันธมิตรปลดปล่อยประเทศในปี ค.ศ. 1944 นาซีได้ย้ายพระองค์ไปอยู่เยอรมนีเมื่อเบลเยียมได้รับการปลดปล่อยแต่พระมหากษัตริย์ยังคงถูกคุมขังอยู่ ได้มีการเลือกเจ้าชายชาลส์ เคานต์แห่งฟลานเดอร์ พระอนุชาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าพระมหากษัตริย์ "ไม่สามารถปกครองได้อีกต่อไป" ตามรัฐธรรมนูญ ประเทศเกิดความแตกแยกทางการเมืองด้วยปัญหาว่าพระมหากษัตริย์จะสามารถกลับมาทำหน้าที่ได้อีกหรือไม่ และด้วยขบวนการทางการเมืองฝ่ายซ้ายเข้ามาควบคุมการเมือง กษัตริย์เลออปอลจึงทรงลี้ภัยอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1950 มีการลงประชามติระดับชาติที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลใหม่สายกลาง-ขวา เพื่อตัดสินว่ากษัตริย์เลออปอลจะทรงสามารถเสด็จกลับมาได้หรือไม่ แม้ว่าผลการลงประชามติที่ออกมาจะเป็นชัยชนะของฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอล แต่ก็ทำให้เกิดความแตกแยกในระดับภูมิภาคอย่างรุนแรงระหว่างแฟลนเดอส์ ซึ่งต้องการให้พระมหากษัตริย์กลับมา กับบรัสเซลส์และเขตวัลลูน นั้นต่อต้านพระมหากษัตริย์ กษัตริย์เลออปอลที่ 3 เสด็จกลับเบลเยียมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1950 พระองค์ได้รับการต้อนรับด้วยการประท้วงขนานใหญ่ในประเทศโดยเฉพาะในเขตวัลลูนและมีการนัดหยุดงานทั่วไป ความไม่สงบดังกล่าวนำมาซึ่งกรรมกร 4 คนถูกสังหารโดยตำรวจในวันที่ 30 กรกฎาคม ด้วยสถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1950 กษัตริย์เลออปอลที่ 3 ทรงประกาศตั้งพระทัยที่จะสละราชบัลลังก์ หลังจากช่วงการเปลี่ยนผ่าน พระองค์สละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1951

ใกล้เคียง

ปัญหา ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาวิถีสั้นสุด ปัญหาราชวงศ์ ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ปัญหาการแต่งงานที่มีเสถียรภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน ปัญหาสกันทอร์ป ปัญหาวันเกิด ปัญหารางวัลมิลเลนเนียม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปัญหาราชวงศ์ http://www.levif.be/info/actualite/belgique/leopol... http://www.rtbf.be/info/belgique/detail_julien-lah... http://www.winstonchurchill.org/support?catid=0&id... //www.worldcat.org/oclc/307971 //www.worldcat.org/oclc/466179092 //www.worldcat.org/oclc/5357114 //www.worldcat.org/oclc/644400689 https://www.demorgen.be/nieuws/zaait-nu-zelfs-de-k... https://newspaperarchive.com/other-articles-clippi... https://www.youtube.com/watch?v=8UiXj-xOlys