ปานีร์
ปานีร์

ปานีร์

ปานีร์ (ปัญจาบ: ਪਨੀਰ; ฮินดีและเนปาล: पनीर; อาร์มีเนีย: Պանիր; อูรดู: پنير‎; เคิร์ด: پەنییر; เปอร์เซีย: پنير‎; ตุรกี: peynir) เป็นชีสสดชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในอินเดียภาคเหนือและภาคตะวันออก โดยในอินเดียภาคเหนือเรียกเชนะ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้รับประทานมังสวิรัตน์เพราะไม่ใช้เอนไซม์จากตับลูกวัวมาช่วยในการแข็งตัว แต่ใช้น้ำมะนาว น้ำส้มหรือหางนมจากการทำปานีร์ครั้งก่อนหน้าใส่ลงในนมที่ต้มจนเดือดแล้วคนไปในทางเดียวกัน นมจะตกตะกอนเป็นก้อน เมื่อบีบน้ำออกและกดทับให้แข็ง จะได้ปานีร์ ในอินเดียใช้ปานีร์ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงใส่ถั่วลันเตา แกงใส่ผักปวยเล้ง รัสมาลัย ปานีร์ย่างหรือข้าวหมกปานีร์ เป็นต้นคำว่าปานีร์มีต้นกำเนิดมาจากภาษาเปอร์เซีย[1] คำในภาษาตุรกี peynir, คำในภาษาเปอร์เซีย panir, คำในภาษาอาเซอร์ไบจาน panir, และคำในภาษาอาร์เมเนีย panir (պանիր) ล้วนมาจากคำว่า "paneer" ซึ่งหมายถึงเนยชนิดหนึ่ง จุดกำเนิดของปานีร์ยังเป็นที่โต้เถียง ทั้งอินเดียในยุคพระเวท ชาวอัฟกัน ชาวอิหร่าน ชาวเบงกอล และชาวอินเดียเชื้อสายโปรตุเกส[2]

ปานีร์

ภูมิภาค เอเชียใต้และตะวันออกกลาง
ประเภท ชีส
ข้อมูลอื่น เป็นอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนจากนม
ส่วนผสมหลัก นมที่ต้มจนตกตะกอน
ชื่ออื่น ชานะ เชนะ
แหล่งกำเนิด เอเชียใต้และตะวันออกกลาง