ผลรายงานทางคลินิกของจีน ของ ผักคราดหัวแหวน

1.แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ใช้ต้นแห้งบดเป็นผง ทำเป็นยาน้ำเชื่อม (ในน้ำเชื่อม 10 ม.ล. มีเนื้อยานี้ 3.2 กรัม) กินครั้งละ 30 ม.ล. วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร10 วัน เป็น 1 รอบของการรักษาจากการรักษาคนไข้ 85 ราย) รักษา 2 รอบของการรักษา 8 ราย รักษารอบเดียว 77 ราย) พวกที่เริ่มเป็นรักษาหาย 30 ราย ได้ผลดีขึ้นอย่างเด่นชัด 22 ราย คนไข้หอบ 8 ราย รักษาหาย 1 ราย ได้ผลดีขึ้นอย่างเด่นชัด 7 ราย

2. ใช้เป็นยาชา เอาต้นนี้มาทำเป็นยาฉีดให้มีความเข้มข้น 50% ในการผ่าตัดหน้าท้อง ฉีดยานี้ลงไปทีละชั้น หลังจากนั้น 3-8 นาทีก็ทำการผ่าตัดได้ ระหว่างผ่าตัดอาจฉีดยาลงไปได้อีก เพื่อควบคุมอาการปวด ในการผ่าตัดที่ท้องหรือกระเพาะใช้ขนาด 100-150 ม.ล. ผ่าตัดเล็กใช้ 60-80 ม.ล. การใช้ทำให้ชาภายนอกหรือผ่าตัดในการคลอด หรือส่วนสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะ ท่อมทอนซิล จำนวน 346 ราย ทำให้ขาได้ผลดี 326 ราย ได้ผลพอใช้ได้ 17 ราย ล้มเหลว 3 ราย ในการตรวจก่อนและหลังการผ่าตัดเกี่ยวกับไตและเลือด ยังไม่พบอาการผิดปกติอะไร พวกที่แพ้ง่ายจะมีความดันเลือดลดลงเล็กน้อย และแผลหลังการผ่าตัด มักเป็นแผลเป็น[8]


แหล่งที่มา

WikiPedia: ผักคราดหัวแหวน http://www.horapa.com/content.php?Category=Herb&No... http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage... http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/rangsan/spilanthe... http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/spilan... http://ittm.dtam.moph.go.th/Service/herb_data/herb... http://www.thaihealth.in.th/2011/09/08/%E0%B8%9C%E... http://www.doctor.or.th/article/detail/4927 http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_18_4... http://www.tistr.or.th/essentialoils/plant_%E0%B8%...