พระประวัติ ของ ผู่เจี๋ย

ชีวิตแรกเริ่ม

ผู่เจี๋ย เป็นพระโอรสในเจ้าชายไจ้เฟิงกับโยวหลัน ขณะยังเป็นเด็ก เขาย้ายมาอยู่พระราชวังต้องห้ามในปักกิ่ง เพื่อเป็นเพื่อนเล่นของผู่อี๋ มีเหตุการณ์อันเป็นที่รู้จักกันดีคือผู่อี๋กรี้วเมื่อทอดพระเนตรพบเสื้อข้างในของผู่เจี๋ยเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีเฉพาะของจักรพรรดิ[1]

ในปี พ.ศ. 2472 ผู่เจี๋ยได้ทรงเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อไปศึกษาต่อ พระองค์สำเร็จการศึกษาที่กะคุชูอินและสามารถตรัสภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว และได้เสด็จไปที่วิทยาลัยกองทัพจักวรรดิญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2478

ผู่เจี๋ยสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 กับเจ้าหญิงแห่งแมนจู ทัง ชือห์ หเซีย (Tung Shih-hsia) พระนัดดา(หลานสาว)ในพระมเหสีเค่อชุ่น(เจินหวงกุ้ยเฟย์) และพระอัครชายาจิ่นเฟย์ในฮ่องเต้กวังซวี่ แต่หนีจากพระชายาหลังจากไปที่ญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อ ชีวิตสมรสนั้นได้สิ้นสุดลง หลังจากสำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยกองทัพจักวรรดิญี่ปุ่น ผู่เจี๋ยทรงตกลงเลือกภรรยา (โอมิไอ) กับสตรีชั้นสูงของญี่ปุ่นซึ่งก็คือเจ้าหญิงฮิโระ ซากะ (พ.ศ. 2454-พ.ศ. 2530) ซึ่งทรงเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับราชตระกูลญี่ปุ่น จากรูปและจากจำนวนผู้สมัครซึ่งได้ผ่านการประเมินโดยกองทัพคันโต[2] ขณะที่ผู่อี๋ยังไม่มีทายาทชาย การแต่งงานนั้นมีความแข็งแกร่งเกี่ยวกับการแสดงออกโดยนัยการเมือง และถูกมุ่งหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง สายเลือดญี่ปุ่น กับ ราชตระกูลแมนจูกัว

พิธีหมั้นจัดขึ้นที่สถานทูตประเทศแมนจูที่โตเกียวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 และพิธีเสกสมรสจัดขึ้นที่โถงกองทัพจักรวรรดิที่ คุดันซะกะ โตเกียว ในวันที่ 3 เมษายน ในเดือนตุลาคมทั้งคู่ก็ย้ายไปที่ซิงกิง (ปัจจุบันคือฉางชุน) เมืองหลวงของแมนจูกัว ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิผู่อี๋ หลังการล่มสลายของราชวงศ์ชิง

ประเทศแมนจู

เนื่องจากจักรพรรดิผู่อี๋ไม่มีพระราชโอรส ผู่เจี๋ยซึ่งเป็นน้องชายจึงหวังที่จะได้ครองราชบัลลังก์แมนจูต่อจากพี่ชาย ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเองก็สนับสนุนผู่เจี๋ยเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู่อี๋ไม่ต้องการให้ผู่เจี๋ยเป็นทายาทราชวงศ์ชิง อันเป็นธรรมเนียมตามราชประเพณีที่ว่า จักรพรรดิซึ่งไม่มีโอรสนั้นควรเลือกทายาทของตนจากรุ่นหนึ่งในครอบครัว ขณะประทับที่แมนจูนั้น ผู่เจี๋ยมีตำแหน่งเป็นสมุหราชองค์รักษ์กิตติมศักดิ์แห่งแมนจู แต่พระองค์ทรงกลับไปที่ญี่ปุ่นกะทันหันในปีพ.ศ. 2487 เพื่อเข้าศึกษาที่วิทยาลัยเสนาธิการกองทัพ

ในช่วงที่แมนจูกัวล่มสลายเมื่อโซเวียตรุกรานประเทศแมนจูในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 ตอนแรกผู่เจี๋ยทรงพยายามลี้ภัยออกจากญี่ปุ่นกับพี่ชาย แต่ยังไรก็ตาม กลายเป็นอย่างที่ชัดเจนเมื่อไม่มีทางลี้ภัย พระองค์ทรงตัดสินใจที่จะกลับซิงกิงด้วยความไม่ประสบความสำเร็จที่จะออกจากเมืองไปที่กองกำลังก๊กมิงตั๋งของสาธารณรัฐจีน แน่นอนว่าเมืองนี้ตกเป็นของโซเวียต

ผู่เจี๋ยถูกจับกุมโดยกองทัพโซเวียต และถูกส่งไปที่คุกในชิตะและคาเยอรอฟก์ในไซบีเรียกับพี่ชายและเชื้อพระวงศ์ ด้วยการบรรลุข้อตกลงของจีน-โซเวียตหลังจากการตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู่เจี๋ยถูกส่งให้ทางการจีนไปรับโทษในปี พ.ศ. 2493

ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน

อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ยและเจ้าหญิงฮิโระ ซางะเสด็จเยือนพระราชวังต้องห้าม ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ ในฐานะสามัญชน

ในการกลับมาจีน ผู่เจี๋ยถูกคุมขังที่ศูนย์บริหารที่เกี่ยวกับอาชญากรฟูชุน เขาเป็นนักโทษต้นแบบและกลายเป็นสัญลักษณ์ของการผ่อนผันการรับโทษในระบบการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ เขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและภายหลังได้ทำงานหน้าที่ที่ไปประจำอยู่ ในปีพ.ศ. 2504 เขาโทษและอาศัยอยู่กับเจ้าหญิงฮิโระ ซางะ ในบั้นปายชีวิต เจ้าหญิงฮิโระ ซางะ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.. 2530 จากนั้นอีก 7 ปี ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ผู่เจี๋ยเสียชีวิตขณะอายุ 86 ปี