ผู้นำสหภาพโซเวียต
ผู้นำสหภาพโซเวียต

ผู้นำสหภาพโซเวียต

ภายใต้รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1977 ของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สหภาพโซเวียต) ประธานสภารัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล[1] และประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเป็นประมุขแห่งรัฐ[2] ซึ่งประธานสภารัฐมนตรีนั้นเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในโลกที่หนึ่ง[1] ในขณะที่ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดเทียบเท่าประธานาธิบดี[2] ในประวัติศาสตร์เจ็ดสิบปีของสหภาพโซเวียตไม่มีผู้นำอย่างเป็นทางการในรัฐบาลสหภาพโซเวียต แต่ผู้นำโซเวียตมักจะนำประเทศผ่านตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรีหรือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU) ในอุดมการณ์ของวลาดิมีร์ เลนินประมุขแห่งรัฐโซเวียตเป็นแกนหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ในยุคสตาลินในปี ค.ศ. 1920 ได้มีการจัดตั้งตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพซึ่งมีอำนาจเหมือนกับตำแหน่งผู้นำของสหภาพโซเวียต[3] เพราะตำแหน่งนั้นได้ควบคุมทั้ง CPSU และรัฐบาลของสหภาพโซเวียต[4] ตำแหน่งเลขาธิการถูกยกเลิกภายในปี ค.ศ. 1952 และต่อมาได้จัดตั้งขึ้นใหม่โดยนิกิตา ครุสชอฟ ภายใต้ชื่อเลขานุการลำดับที่หนึ่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต; ในปี ค.ศ. 1966 เลโอนิด เบรจเนฟ ได้ใช้ชื่อตำแหน่งใหม่ว่า เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต[5] เลขาธิการเหมือนกับตำแหน่งผู้นำของสหภาพโซเวียตจนกระทั่ง ค.ศ. 1990[6]ตำแหน่งเลขาธิการขาดแนวทางที่ชัดเจนของความสำเร็จดังนั้นหลังจากการตายหรือถูกกำจัดของผู้นำโซเวียตคนก่อนมักจะทายาทมักจะต้องการการสนับสนุนของโปลิตบูโร คณะกรรมการกลาง อีกทั้งต้องใช้เวลาและการมีอำนาจในพรรค ในมีนาคม ค.ศ. 1990 ก็ถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต [7]หลังการแต่งตั้งประธานาธิบดี ผู้แทนของสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนได้ลงมติให้ลบมาตรา 6 จากรัฐธรรมนูญของสหภาพโซเวียตที่ระบุว่าสหภาพโซเวียตเป็นรัฐหนึ่งของบุคคลที่ควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งในการเปิดให้ประชาชนมีบทบาทนำในสังคม มากขึ้นทำอำนาจพรรคคอมมิวนิสต์อ่อนแอลงและประชาชนเริ่มมีอำนาจมากขึ้น[8] เมื่อประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีตาย,ลาออกหรือถอดถอนออกจากของสหภาพโซเวียตจะถือว่ายังมีอำนาจอยู่จนถึงการแต่งตั้งหรือตั้งเลือก แต่ก็ไม่ได้มีทดสอบเพราะสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายก่อน[9] หลังจากล้มเหลวในการรัฐประหารสิงหาคม รองประธานาธิบดีก็ถูกแทนที่ด้วยการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาของสหภาพโซเวียต[10]

ผู้นำสหภาพโซเวียต

สถาปนา 30 ธันวาคม ค.ศ. 1922
คนแรก วลาดิมีร์ เลนิน (นายกรัฐมนตรี)
ที่พำนัก พระราชวังเครมลิน, เครมลินแห่งมอสโก, กรุงมอสโก
ผู้แต่งตั้ง โดยการสนับสนุนในโปลิตบูโร คณะกรรมการกลางหรือสำนักเลขาธิการของคณะกรรมการกลาง
คนสุดท้าย มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (ประธานาธิบดี)
ยกเลิก 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (สิ้นสุดพรรคคอมมิวนิสต์)
26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (การล่มสลายของสหภาพโซเวียต)

ใกล้เคียง

ผู้นำฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำสูงสุดอิหร่าน ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้นำฝ่ายมหาอำนาจกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ผู้นำสหภาพโซเวียต ผู้นำเวียดนามใต้ ผู้นำสูงสุดของจีน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร