ลำดับเหตุการณ์ ของ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง

การก่อตั้ง

จักรวรรดิเยอรมันเริ่มผูกมิตรกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ พ.ศ. 2422 โดยการก่อตั้งไตรพันธมิตรและดำเนินนโยบายทางการเมืองในทางตรงข้ามกับประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซียที่รวมตัวเป็นกลุ่มไตรภาคี (ซึ่งเป็นเสาหลักของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1)

การประกาศสงครามโลกเริ่มจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดต่อเซอร์เบียเกี่ยวกับคดีลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมาร อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ แต่ทางการเซอร์เบียกลับปฏิเสธ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าช่วยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ส่วนรัสเซียอยู่ข้างเดียวกับเซอร์เบีย การประกาศสงครามกับฝรั่งเศสของเยอรมนีและบุกฝรั่งเศสโดยผ่านเบลเยียมทำให้อังกฤษต้องเข้าร่วมสงครามโดยการประกาศสงครามกับเยอรมนี ทำให้สงครามนั้นขยายตัวจนกลายเป็นสงครามโลกในที่สุด

นอกจากเยอรมนีกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีแล้ว มีชาติอื่นเข้าร่วมมือกับฝ่ายมหาอำนาจกลางอีก 2 ชาติคือ จักรวรรดิออตโตมัน (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และ ราชอาณาจักรบัลแกเรีย ส่วนชาติอื่น ๆ ประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจทั้งหมด รวมถึงสยาม

อิตาลี

การเข้าร่วมของจักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกี) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจักรวรรดิเยอรมันมาตั้งแต่ก่อนสงครามเริ่มต้น ผู้นำชาตินิยมของตุรกีมีความทะเยอทะยานในการได้ดินแดนของศัตรูเก่า คือรัสเซีย และตุรกีโกรธแค้นที่อังกฤษยึดเรือที่ตนสั่งต่อในอังกฤษ จึงนับว่าเพียงพอแล้วที่จะเข้าร่วมสงคราม จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914

การเข้าร่วมของบัลแกเรีย

ขบวนการอื่น

การยอมแพ้

แผนภูมิวงกลมแสดงจำนวนทหารฝ่ายมหาอำนาจกลางที่เสียชีวิต

บัลแกเรียเป็นชาติแรกที่ยอมแพ้เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2461 หลังจากถูกบุกโดยอังกฤษ ฝรั่งเศสและเซอร์เบียพร้อมกัน และเยอรมนีไม่อาจช่วยเหลือได้ ตุรกียอมแพ้เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ออสเตรียฯ ยอมแพ้เมื่อ 4 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เยอรมนียอมแพ้เป็นชาติสุดท้ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461

       

ระยะเวลาการยอมแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง
ธงชื่อวันยอมแพ้
บัลแกเรีย000000001918-09-29-000029 กันยายน 1918
จักรวรรดิออตโตมัน000000001918-10-30-000030 ตุลาคม 1918
ออสเตรีย-ฮังการี000000001918-11-04-00004 พฤศจิกายน 1918
จักรวรรดิเยอรมัน000000001918-11-11-000011 พฤศจิกายน 1918

       

สนธิสัญญาที่ฝ่ายแพ้สงครามถูกบังคับให้ลงนามตามลำดับ
ธงชื่อสนธิสัญญา
ออสเตรียสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง
บัลแกเรียสนธิสัญญาเนยยี
เยอรมนีสนธิสัญญาแวร์ซาย
ฮังการีสนธิสัญญาตรียานง

จักรวรรดิออตโตมัน
ตุรกี
สนธิสัญญาแซฟวร์ และ
สนธิสัญญาโลซาน

ใกล้เคียง

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ฝ่ายมหาอำนาจอักษะ ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝ่ายค้าน ฝ่ายบริหารกลางทิเบต ฝ่ายปกครองตนเองซีเรียเหนือและตะวันออก ฝ่ายค้านซีเรีย ฝ่ายค้านในระบบรัฐสภา