ประเทศสมาชิกรองผู้ให้ความช่วยเหลือทางทหาร ของ ฝ่ายอักษะ

ฮังการี

ประเทศฮังการี ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี และได้กลายเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรอักษะในการบุกสหภาพโซเวียต

  • Hungarian Toldi I tank as used during the 1941 Axis invasion of the Soviet Union.
  • Hungarian soldiers in the Carpathian mountains in 1944.

โรมาเนีย

ประเทศโรมาเนีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี และได้กลายเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรอักษะในการบุกสหภาพโซเวียต

  • Romanian soldiers on the outskirts of Stalingrad during the Battle of Stalingrad in 1942.
  • A formation of Romanian IAR80 fighter aircraft.

บัลแกเรีย

ประเทศบัลแกเรีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี และได้กลายเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรอักษะในการบุกสหภาพโซเวียต

ไทย

Plaek Phibunsongkhram gave ultranationalist speech to the crowds at the Grand Palace in 1940.

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร เป็นช่วงที่มีการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมอย่างเข้มข้น

วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) คณะนิสิตและนักศึกษาได้เดินขบวนและเรียกร้องให้รัฐบาลเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนจากฝรั่งเศส ซึ่งเสียไปหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112[2] จากการสนับสนุนอย่างท่วมท้นของประชาชนไทย รัฐบาลจึงได้ส่งกองทัพข้ามแม่น้ำโขงไปโจมตีประเทศลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส[3] การรบที่เป็นที่กล่าวขานมาก คือ ยุทธนาวีเกาะช้าง[4] ซึ่งก็ทำให้เรือรบฝรั่งเศสไม่กล้าเข้ามาในอ่าวไทยอีก การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นผู้เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในการเจรจาสงบศึก[4] และภายหลังสงครามไทย-ฝรั่งเศสสิ้นสุดเมื่อ พ.ศ. 2484 ไทยก็ได้ดินแดนเพิ่มเข้ามาอีก 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง เหตุการณ์ครั้งนี้ภายหลังได้ชื่อว่า "กรณีพิพาทอินโดจีน"

หลังสงคราม ได้เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสู่ไทยในอนาคต รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนทำงาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเสริมสร้างเศรษฐกิจ และรัฐบาลยังได้เปิดเพลงปลุกใจซึ่งถูกกระจายเสียงโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในหลายจังหวัดของภาคกลางและภาคใต้ แต่ก็ได้รับการต้านทานอย่างหนักของทหารไทยและยุวชนทหาร[5] ทางด้านรัฐบาลได้รับคำขู่จากอัครราชทูตญี่ปุ่นให้เปิดดินแดน เนื่องจากมองเห็นว่ากองทัพไทยไม่อาจต้านกองทัพญี่ปุ่นไว้ได้นาน จึงยอมยุติการต่อสู้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม[6] และได้ตกลงลงนามร่วมเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ขณะเดียวกัน ในต่างประเทศ มีผู้ที่ไม่อาจยอมรับต่อการตัดสินใจของรัฐบาล หนึ่งในนั้น คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม เนื่องจากท่านมีความเห็นว่าสหรัฐอเมริกามีขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูงกว่า ทางด้านในประเทศเองก็มีบุคคลจากคณะราษฎรภายในประเทศไทยที่ดำเนินการต่อต้านญี่ปุ่นในทางลับ เช่น นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นขบวนการเสรีไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ[6]

ทางด้านฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มเข้ามาทิ้งระเบิดภายในพระนครเมื่อย่างเข้า ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) [7] หลังจากนั้น รัฐบาลไทยก็ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) [8][9]

หลังจากญี่ปุ่นได้ยอมจำนนเมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) นายควง อภัยวงศ์ ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ออก "ประกาศสันติภาพ"[10] มีผลให้การประกาศสงครามของไทยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม แต่ทางฝ่ายอังกฤษไม่ยอมรับ และเรียกร้องสิทธิจากไทยในฐานะของผู้แพ้สงคราม นายควง อภัยวงศ์ได้ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้านม.ร.ว.เสนีย์ก็สามารถเจรจากับอังกฤษและสามารถตกลงกันได้ในที่สุด[11]