ประเทศสมาชิกหลัก ของ ฝ่ายอักษะ

เยอรมนี

German vehicles advancing during the Second Battle of El Alamein in the North African campaignGerman Heinkel He 111 bomber aircraft during the Battle of Britain

เยอรมนีถือได้ว่าเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากว่าเยอรมนีมีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดและมีวิทยาการเจริญก้าวหน้าที่สุดในกองทัพประเทศฝ่ายอักษะทั้งหมด ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซี

นโยบายด้านการต่างประเทศของเยอรมนีเกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวยิวและชาวโซเวียต รวมไปถึงแนวคิดที่จะสร้างมหาจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นการรวมเอาประชากรเชื้อชาติเยอรมันทั้งหมดในทวีปยุโรปมาอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน และยังรวมไปถึงแนวคิดเลเบนสเราม์ ซึ่งเป็นการแสวงหาดินแดนแถบยุโรปตะวันออก

เยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ภายหลังการบุกครองโปแลนด์ นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า จุดเปลี่ยนที่นำไปสู่หายนะของกองทัพเยอรมัน คือ การรุกรานสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐอเมริกา หลังจากการทำศึกหลายด้าน นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในที่สุด เยอรมนียอมจำนนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

ญี่ปุ่น


Japanese battleship Yamato under attack by American aircraft during the Battle of Leyte GulfJapanese Mitsubishi A6M Zero fighter aircraft and other aircraft preparing for takeoff on the aircraft carrier Shōkaku on 7 December 1941, for the attack on Pearl Harbor

ญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ยิ่งใหญ่ในภาคพื้นเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิฮิโรฮิโตในเวลานั้น

ผลสืบเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ได้นำไปสู่การปกครองในระบอบเผด็จการทหาร จักรวรรดิญี่ปุ่นมีนโยบายในการขยายอาณาเขตของตนและการปลดปล่อยชาติเอเชียจากการยึดครองของชาติตะวันตก หรือที่รู้จักกันว่า วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา นโยบายขยายอาณาเขตทำให้เกิดการบาดหมางกับสันนิบาติชาติ แต่ทำให้เกิดความใกล้ชิดกันระหว่างญี่ปุ่นกับเยอรมนีและอิตาลี ซึ่งมีนโยบายในการขยายอาณาเขตในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ก้าวแรกในการร่วมมือทางการทหารกับเยอรมนี คือ การลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องตนเองจากการโจมตีของสหภาพโซเวียต

การรบครั้งสำคัญของญี่ปุ่น เริ่มจาก สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1937 การสู้รบตามแนวชายแดนของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1938-1939 ต่อมา ญี่ปุ่นได้หาทางเจรจาสงบศึกกับสหภาพโซเวียตและลงนามในสนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1941

ขณะที่มหาอำนาจยุโรปเฝ้าติดตามสถานการณ์สงครามในทวีปยุโรป ญี่ปุ่นจึงเตรียมการรุกรานอาณานิคมของชาติตะวันตกในแถบเอเชีย เริ่มจากการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ตามด้วยการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และการยกพลขึ้นบกในหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกหลังวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 แต่เมื่อสงครามมาถึงจุดเปลี่ยน ญี่ปุ่นจึงต้องกลายเป็นฝ่ายตั้งรับจนกระทั่งยอมจำนนหลังจากการทิ้งระเบิดปรมาณูทั้งสองลูกและการรุกรานแมนจูเรีย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945

  • Japanese soldiers crossing the border from China into the British colony of Hong Kong during the Battle of Hong Kong in 1941
  • The Japanese aircraft carrier Shōkaku
  • Japanese submarine I-19
  • Japanese Mitsubishi A6M Zero fighter aircraft over China
  • Japanese Type 3 Chi-Nu medium tank

อิตาลี

Italian Macchi C.200 fighter aircraft during the warItalian Fiat M13/40 tanks in the North African Campaign in 1941

อิตาลีอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จกา เบนิโต มุสโสลินี ในพระนามของ พระเจ้าวิคเตอร์ อิมมานูเอลที่ 3

อิตาลีซึ่งผิดหวังจากการทำสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จากความระส่ำระสายของบ้านเมืองและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้นำไปสู่การก้าวขึ้นสู่อำนาจของมุสโสลินีในปี ค.ศ. 1922 แนวคิดของฟาสซิสต์อิตาลี คือ การสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อครอบครองดินแดนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เริ่มจากการทำสงครามกับเอธิโอเปีย และการลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลในปีต่อมา ในเดือนมีนาคม-เมษายน ค.ศ. 1939 อิตาลีได้ผนวกแอลเบเนีย ตามมาด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเหล็ก ในวันที่ 22 พฤษภาคม

อิตาลีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ต่อมา ในเดือนกันยายน เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี อย่างไรก็ตาม การทำสงครามของอิตาลีประสบความพ่ายแพ้หลายครั้ง ทั้งในกรีซ และในอียิปต์ ทำให้เยอรมนีต้องเข้าแทรกแซงการรบทั้งในกรีซ ยูโกสลาเวียและในแอฟริกาเหนือ ในปี ค.ศ. 1943 มุสโสลินีถูกปลดออกจากตำแหน่ง และประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร

ต่อมา ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1943 มุสโสลินีได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพเยอรมันในปฏิบัติการโอ๊ก และฮิตเลอร์ได้สร้างรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้น โดยเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี ซึ่งล่มสลายภายหลังจากการยอมแพ้ของกองทัพเยอรมันในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 1945