การสมัครรับเลือกตั้ง ของ พรรคชาติพัฒนากล้า

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (ในขณะนั้น) ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 9 คน และได้ร่วมกับพรรคพลังประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาลถึง 2 ครั้ง คือ รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยมี วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

ต่อมาในในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรครวมชาติพัฒนา ได้ร่วมสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคฯ ยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในตำแหน่งเดิมอีกด้วย

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

ในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรครวมชาติพัฒนา ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 พรรครวมชาติพัฒนา และพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ประกาศรวมตัวกันโดยใช้ชื่อพรรคใหม่ว่า "พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน"[5]โดยหลังจากมีการยุบสภาแล้ว สมาชิกของพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมชาติพัฒนา และดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง โดยหลังจากนั้นอีก 3 วันคือในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 นายประดิษฐ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค ต่อมาอีก 1 อาทิตย์คือในวันที่ 19 เมษายนนาย เกษมสันต์ วีระกุล ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[6]หลังจากนั้นได้มีการลาออกของกรรมการบริหารพรรคจำนวนมากทำให้เหลือกรรมการบริหารพรรคเพียง 2 คนจึงต้องพ้นจากตำแหน่ง[7]

ต่อมาในการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคอีกครั้งเป็น พรรคชาติพัฒนา พร้อมกับการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายแพทย์วรรณรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่ประชุมมีมติเลือก ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่และย้ายที่ทำการพรรคมายังที่ทำการพรรคแห่งใหม่ที่ 357 ถนนสุโขทัย แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต [8]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2557

พรรคชาติพัฒนา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยมีพลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ได้หมายเลขประจำพรรคคือ หมายเลข 1 แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562

ในการประชุมใหญ่สามัญพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงข้อบังพรรคฉบับใหม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค[9] จากนั้นในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเก่าจำนวน 27 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนาย เทวัญ ลิปตพัลลภ และนาย ดล เหตระกูล ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[10]

ใน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรคชาติพัฒนาได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 3 ที่นั่งแบ่งเป็นบัญชีรายชื่อ 2 คนคือ นายเทวัญซึ่งได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ นายดล และแบบแบ่งเขต 1 คนคือนาย วัชรพล โตมรศักดิ์ ต่อมาทางพรรคได้ ส.ส. เพิ่มอีก 1 คนคือ นาย สมัคร ป้องวงศ์ ส.ส. สมุทรสาคร ซึ่งย้ายมาจาก พรรคอนาคตใหม่

ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 นายเทวัญได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา จากนั้นทางพรรคได้จัดการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเก่าที่พ้นจากตำแหน่งจำนวน 29 คนเมื่อวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายเทวัญให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไปส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้มีการเลือกนาย วัชรพล โตมรศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งแทนนายดลที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพร้อมกับแก้ไขข้อบังคับพรรคโดยได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคจากที่เดิมไปอยู่ที่ 2222/2 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[11][12]

ในการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีครั้งที่ 1/2565 ของพรรคชาติพัฒนาเมื่อวันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่ประชุมมีฉันทามติให้ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคให้ดำรงตำแหน่งประธานพรรค ขณะเดียวกัน พลเอกฐิติวัจน์ กำลังเอก ก็ได้ขอลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[13][14]

ต่อมาในการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปีครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และชื่อพรรคเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า[15] พร้อมกันนี้ยังได้มีมติเลือกนาย กรณ์ จาติกวณิช อดีตหัวหน้าพรรคกล้าให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค[16]

ใกล้เคียง

พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) พรรคชาตินิยมเวียดนาม พรรคชาติสกอต พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคชาติสังคม พรรคชาตินิยม (ประเทศไทย) พรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พรรคชาติพัฒนากล้า http://www.chartpattana.com http://www.thairath.com/online.php?section=newstha... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/...