ประวัติ ของ พรรคประชาชน_(พ.ศ._2490)

พรรคประชาชน ก่อตั้งภายหลังจากการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ของนายเลียงและนาง อรพินท์ ไชยกาล ภรรยานายเลียงพร้อมกับสมาชิกพรรคอีก 16 คนอันเนื่องมาจากการขัดแย้งกันระหว่างนายเลียงกับ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช รองหัวหน้าพรรค

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491 พรรคประชาชนได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคประชาชนได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 12 ที่นั่งจากทั้งหมด 99 ที่นั่ง เป็นอันดับ 2 รองจากพรรค ประชาธิปัตย์ ที่ได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 53 ที่นั่งในภายหลัง ส.ส. ไม่สังกัดพรรคจำนวน 3 คนได้หันมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ทำให้มีที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเป็น 56 ที่นั่ง

พรรคประชาชนถูกยุบเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 พร้อมกับอีกหลายพรรคการเมืองเนื่องจาก การรัฐประหารตัวเองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494

ซึ่งในภายหลังนายเลียงได้กลับมาก่อตั้งพรรคการเมืองอีกครั้งเมื่อปี 2511 โดยจดทะเบียนจัดตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2511 มีนาย เลียง ไชยกาล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นหัวหน้าพรรคและนาย เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นเลขาธิการพรรค[1] ซึ่งก่อนหน้านั้นพรรคประชาชนได้เคยก่อตั้งมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2490 โดยนายเลียง ไชยกาล และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 16 คน[2] มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และมีคณะกรรมการบริหารที่สำคัญ อาทิ บุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ พีร์ บุนนาค อรพินท์ ไชยกาล ประยูร สุรนิวงศ์ สุธรรม ปัทมดิลก ประมวล ศิริกูล

พรรคประชาชนลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ปรากฏว่าทางพรรคได้ ส.ส. 2 ที่นั่งในสภา คือ ไขแสง สุกใส (นครพนม) และสะดวก เชื้อบุญมี (เลย)

พรรคประชาชนถูกยุบเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ตามคำสั่งคณะปฏิวัติที่มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 9 มีผลให้บรรดาพรรคการเมืองที่มีอยู่เป็นอันสิ้นสุดลง[3]

ใกล้เคียง

พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561) พรรคประชาชนปฏิวัติลาว พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย พรรคประชากรไทย พรรคประชาชนกัมพูชา พรรคประชาราช พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2531) พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี