ประวัติ ของ พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

เขตนี้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มนุษย์ที่น่าทึ่งใจที่สุดที่หนึ่งนอกจากจะมีโบราณสถานที่มีซากกระดูกและซากหลักฐานทางวัฒนธรรมทั้งของมนุษย์พันธุ์ก่อนปัจจุบัน ของมนุษย์พันธุ์ปัจจุบันในยุคต้น ๆ (เช่นที่ถ้ำ Kebara ในปาเลสไตน์) ของมนุษย์ที่ทำกินเป็นนักล่า-เก็บพืชผลในสมัยไพลสโตซีนเบื้องปลาย และของมนุษย์นักล่า-เก็บพืชผลที่กึ่งอยู่เป็นที่ (คนกลุ่ม Natufian) ในสมัย Epipalaeolithic แล้ว เขตนี้ยังรู้จักกันดีที่สุดในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดเกษตรกรรมคือ เขตตะวันตกใกล้ ๆ จอร์แดนและเขตแม่น้ำยูเฟรทีสตอนบน เป็นแหล่งกำเนิดของชุมชนเกษตรกรยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุด (ที่เรียกว่า Pre-Pottery Neolithic A ตัวย่อ PPNA) ราว 9,543 ปีก่อนพุทธศักราช (รวมทั้งโบราณสถาน Jericho)

เขตนี้ พร้อมกับเมโสโปเตเมีย (ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขต ระหว่างแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส) ก็ยังเป็นแหล่งกำเนิดสังคมแบบซับซ้อน (complex society) ต้น ๆ ในยุคสัมฤทธิ์ต่อมาและก็ยังมีหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับภาษาเขียน และการเกิดสังคมทีแบ่งชนชั้นโดยเป็นรัฐทำให้เขตนี้มีชื่อว่า แหล่งกำเนิดอารยธรม (The Cradle of Civilization)

ทั้งแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีสมีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาทอรัส ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกีเกษตรกรในเมโสโปเตเมียด้านใต้ต้องทำการป้องกันน้ำท่วมไร่นาทุก ๆ ปีโดยยกเว้นด้านเหนือที่จะมีฝนตกเพียงแค่พอที่จะทำเกษตรได้เท่านั้นและเพื่อจะป้องกันน้ำท่วม ชนเหล่านี้จึงต้องสร้างคันกั้นน้ำ[7]

เริ่มตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ชนในเขตนี้ได้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติโดยสร้างระบบชลประทาน ซึ่งก็ยังจำเป็นต่อเกษตรกรรมตราบเท่าทุกวันนี้แต่ในสองพันปีที่ผ่านมา ก็จะมีวงจรความเสื่อมความเจริญเมื่อสิ่งก่อสร้างที่ทำเกิดการละเลย แล้วจึงสร้างใหม่ต่อมาโดยรัฐที่มายึดครองพื้นที่ต่อ ๆ มาปัญหาที่ยังเป็นไปตราบเท่าทุกวันนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ดินเค็ม ซึ่งเป็นการเพิ่มระดับความเข้มข้นของเกลือและแร่ธาตุอื่น ๆ ในดินที่มีประวัติชลประทานเป็นเวลายาวนาน

การแพร่กระจายของวัฒนธรรมเกษตร

มีการปลูกธัญพืชในซีเรียเริ่มตั้งแต่ 9,000 ปีก่อนมีการพบลูกมะเดื่อที่ไม่มีเมล็ดในลุ่มแม่น้ำในจอร์แดน ซึ่งแสดงนัยว่า ต้นมะเดื่อได้เริ่มปลูกตั้งแต่ 11,300 ปีก่อน[8]

งานวิเคราะห์ปี 2006 และ 2008[9][10]เปรียบเทียบการวัดกะโหลกและใบหน้า 24 อย่างแสดงว่า ประชากรเขตนี้ในยุคก่อนหินใหม่ ยุคหินใหม่ และยุคสัมฤทธิ์ มีความหลายหลาก[9]โดยเฉพาะหลักฐานที่แสดงอิทธิพลจากแอฟริกาใต้สะฮาราในเขตนี้ โดยเฉพาะต่อคนกลุ่ม Natufian สมัย Epipalaeolithic ในอิสราเอล[9][11][12][13][14]แต่ว่าไม่สามารถกล่าวอย่างเดียวกันต่อชาวบาสก์และคนในหมู่เกาะคะเนรี เพราะว่างานเหล่านี้แสดงว่า คนโบราณเหล่านี้ "สัมพันธ์กับคนยุโรปปัจจุบันอย่างชัดเจน"[9]นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงอิทธิพลของคน Cro-Magnon ในเขตนี้ ซึ่งต่างจากความคิดที่มีมาก่อน ๆ[9]

งานศึกษาเหล่านี้ยังแสดงนัยถึงการแพร่กระจายของคนหลายหลากกลุ่มนี้ไปจากเขตนี้ โดยมีผู้ย้ายถิ่นยุคต้น ๆ ออกไปจากเขตตะวันออกใกล้ทางทิศตะวันตกไปทางยุโรปและแอฟริกาเหนือ ทางทิศเหนือไปยังเขตไครเมีย และทางทิศตะวันออกไปยังมองโกเลีย[9]โดยเอาข้อปฏิบัติทางเกษตรกรรมไปด้วย และต่อมาได้จับคู่อยู่ร่วมกับชนนักล่า-เก็บพืชผลที่ออกไปพบ ในขณะที่สามารถธำรงความเป็นเกษตรกรต่อไปซึ่งสนับสนุนงานศึกษาทางพันธุกรรม[15][16][17][18][19]ทางโบราณคดี[9][20][21][22][23][24]ที่ทำมาก่อน ๆ ซึ่งล้วนแต่มีข้อสรุปเดียวกัน

ดังนั้น คนที่มีอยู่ในที่ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้สืบทอดวิถีชีวิตเกษตรกรจากบุคคลที่อพยพออกจากเขตนี้ในยุคต้น ๆซึ่งต่างจากสมมติฐานที่ว่า การแพร่กระจายของวิธีทางเกษตรกรรมจากเขตนี้ เป็นไปโดยการแชร์ความรู้[9]และบัดนี้จึงมีหลักฐานที่เหนือกว่าว่า เกิดจากการอพยพของชนจากเขตนี้ โดยมีลูกหลานกับคนพื้นที่อื่น ๆ ที่ออกไปประสบ[9]

แต่งานศึกษาก็แสดงด้วยว่า คนยุโรปปัจจุบันไม่ใช่ทั้งหมดมีกรรมพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับคนที่อยู่ในเขตนี้ในยุคหินใหม่และยุคสัมฤทธิ์[9]กลุ่มชนที่ใกล้ชิดที่สุดคือคนยุโรปใต้[9]และคนยุโรปทั้งหมดในปัจจุบันมีสายเลือดใกล้ชิดกัน[9]

ใกล้เคียง

พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ พระจันทร์ฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม พระจันทร์สีรุ้ง พระจันทร์ พระจันทร์ครึ่งซีก พระจันทร์ลายพยัคฆ์ พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) พระจันทรประภาโพธิสัตว์ พระจันทร์เป็นใจ พระจันทร์สีน้ำเงิน (ดาราศาสตร์)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ http://news.nationalgeographic.com/news/2001/05/05... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15069642 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16371462 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16741119 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19341322 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1181965 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1325007 http://www.pubmedcentral.nih.gov/picrender.fcgi?ar... http://www.jogg.info/51/files/Lancaster.pdf //doi.org/10.1002%2F(sici)1520-6505(1998)6:5%3C159...