การขึ้นเป็นตูอิกาโนกูโปลู ของ พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ

ช่วงประมาณ ค.ศ. 1791 พระเจ้ามูลีกีฮาอะเมอา ตูอิกาโนกูโปลูที่ 11 สละตำแหน่งอย่างรวดเร็วหลังจากที่ได้ตำแหน่งไม่นาน[8] มีการคาดเดาสาเหตุอยู่หลายประการ เช่น พระองค์สูญเสียอิทธิพล[9] หรือพระองค์เข้ารับตำแหน่งใหม่ หรือมูมูอีและตูกูอาโฮบีบบังคับพระองค์ หรือมาจากพระนางตูโปอูโมเฮโอโฟกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งกาโนกูโปลูพระองค์ถัดไปจะมาจากการเลือกอย่างเป็นทางการโดยฮาอะงาตา[10] ซึ่งเป็นผู้พิทักษ์บรรพบุรุษของสายกาโนกูโปลูในฮีฮีโฟ โตงาตาปู ทว่าการตัดสินใจที่แท้จริงมาจากพระนางเนื่องจากสถานะทางสังคมที่สูง

มูมูอีซึ่งเป็นหัวหน้าชุมชนที่เข้มแข็งคนหนึ่งของโตงาตาปูได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับตำแหน่งตูอิกาโนกูโปลู เขามีบรรพบุรุษร่วมกันกับพระนางตูโปอูโมเฮโอโฟผ่านทางพระเจ้ามาอะฟูโออูตูอิโตงา ตูอิกาโนกูโปลูพระองค์ที่ 6 แต่มาจากตระกูลรอง[11] ตูกูอาโฮผู้ซึ่งมีความทะเยอทะยานทางการเมือง (โอรสของมูมูอี) และดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเออัว สนับสนุนการอ้างสิทธิ์ของบิดาของตนอย่างเข้มแข็ง โดยคาดหวังว่าจะเป็นการประกันอำนาจไว้ในตระกูลของตน[12]

ทว่าพระนางตูโปอูโมเฮโอโฟกลับทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดด้วยการประกาศพระนามพระองค์เองเป็นกาโนกูโปลู "พระองค์เสด็จสู่ฮีฮีโฟ สวมเสื่อตาโอวาลาที่เอว และนั่งใต้ต้นโกกา ซึ่งสถานที่ที่ใช้ในการสถาปนาตูอิกาโนกูโปลู จากนั้นพระองค์กลับมาและประกาศว่าเป็นตูอิกาโนกูโปลู"[13]

นักประวัติศาสตร์ยังมีข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง มิชชันนารีชาวยุโรปในตองงาช่วงแรกให้ภาพพระองค์ว่า "บ่อนทำลาย" "ทรราชย์" "น่ารังเกียจถึงที่สุด"[14] และมีนักมานุษยวิทยากล่าวว่าพระองค์ "ไม่ชอบธรรม"[15] อย่างไรก็ตามนักวิชาการในระยะหลังชี้ว่าพฤติกรรมของพระองค์ไม่ได้ถึงกับผิดจากแบบอย่างในประวัติศาสตร์และสอดคล้องกับตำแหน่งและสถานะแต่เดิมของพระองค์[16] พระนางได้รับการสนับสนุนโดยทันทีจากหัวหน้าชุมชนจำนวนมาก[17]

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางสิริมหามายา พระนางจามเทวี พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร