การสวรรคตของพระสวามี ของ พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ

แม้จะมีความเห็นต่างเกี่ยวกับเวลาที่พระเจ้าเปาลาโฮถูกปลงพระชนม์ว่าอยู่ใน ค.ศ. 1784 หรืออีกทศวรรษจากนั้น[5] แต่โดยทั่วไปคาดกันว่าพระองค์น่าจะสวรรคตใน ค.ศ. 1791 หรือ 1792 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟจะอ้างสิทธิ์ในพระอิสริยยศตูอิกาโนกูโปลู[6] จากการสัมภาษณ์โดยนักเดินเรือชาวสเปนในช่วงเวลาหนึ่งปีหลังจากนั้น ได้ข้อมูลว่าพระนางทรงเป็นผู้นำในพันธมิตรผู้สืบสกุลสายตูอิกาโนกูโปลูโดย "ออกเดินทางจากตองงาด้วยเรือแคนูขนาดใหญ่ 20 ลำ จอดเทียบท่าที่ท่าเรืออันนาโมกา [โนมูกา] และฮัปไป [ฮาอะไป] พวกเขามุ่งหน้าไปวาเวา [วาวาอู] ที่ซึ่งพระเจ้าเปาลาโฮในฐานะผู้นำผู้คนของพระองค์คอยอยู่ ทั้งสองฝ่ายสู้รบกันอันนำไปสู่การสวรรคตของผู้นั้นด้วยน้ำมือของวูนา หลังจากที่ผู้นำทั้งสองต่างต่อสู้ปะมือกัน"[7] ดังนั้นนี่จึงเป็นการแสดงว่าพระนางเป็นพันธมิตรกับมูมูอี ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นคู่ขัดแย้งกันเอง ทั้งสองต่างเป็นพระญาติในสายตูอิกาโนกูโปลู ผลลัพธ์ของการสู้รบครั้งนี้นำไปสู่การเสื่อมทางอำนาจของตูอีโตงาและยกระดับตูอิกาโนกูโปลูให้สูงขึ้น

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางสิริมหามายา พระนางจามเทวี พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร