ครอบครัวและอันดับทางสังคม ของ พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ

ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟอาจมีอันดับทางสังคมที่สูงสุดในตองงาขณะนั้นอันเนื่องมาจากเชื้อสายทางฟากพระมารดา[1] พระมารดาของพระมารดาของพระองค์ (พระอัยยิกา) มีสถานะเป็นตามาฮา ซึ่งเป็นพระธิดาของตูอีโตงาเฟฟีเน (พระธิดาองค์ใหญ่ของตูอีโตงา) และนั่นทำให้พระองค์มีสถานะสูงสุดในตองงา[1] นอกจากนี้พระองค็์ยังมีสถานะที่สูงผ่านทางสายพระบิดาด้วยการเป็นพระธิดาในพระเจ้าตูโปอูลาฮี ตูอิกาโนกูโปลูพระองค์ที่ 7 นอกจากนี้พระเจ้าตูอิฮาลาฟาไต ตูอิกาโนกูโปลูพระองค์ที่ 9 ยังเป็นพระพี่น้องร่วมพระบิดามารดาเดียวกันอีกด้วย[2]

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1760 พระนางอภิเษกสมรสกับพระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ ตูอิโตงาพระองค์ที่ 36 ในฐานะพระมเหสีเอก (โมเฮโอโฟ) ซึงพระองค์อาจมีส่วนช่วยในการลอบปลงพระชนม์พระสวามีใน ค.ศ. 1791[3]

พระนางมีพระธิดาจำนวนมากกับพระสวามี[4] และคาดกันว่าเจ้าชายฟูอานูนูอีอาวา ซึ่งเป็นตูอิโตงาพระองค์ที่ 38 ในอนาคต เป็นพระโอรสของพระองค์ และการที่จะทำให้พระโอสมีพระอิสริยยศในอนาคตเป็นเป้าหมายหลักของพระนาง อย่างไรก็ตามลำดับวงศ์ตระกูลที่รวบรวมโดยนีล กุนสันชี้ว่าเจ้าชายฟูอานูนูอีอาวาไม่ใช่พระโอรสของพระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ แต่เป็นพระโอรสของพระเจ้าเปาลาโฮกับพระชายารองอย่างโฟโกโนโฟ ดังนั้นแล้วพระนางจะมีเหตุผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จะผลักดันเจ้าชายให้มีพระราชอำนาจ[4]

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางสิริมหามายา พระนางจามเทวี พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร