การบันทึก ของ พระนางเลือดขาว

สำนวนวัดเขียนบางแก้ว เป็นสำนวนที่แพร่หลาย

ตำนานมีทั้งการบอกเล่าแบบมุขปาฐะและการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในส่วนการบันทึก เรียกชื่อหลายอย่าง เช่น เพลา, ตำรา หรือ พระตำรา ซึ่งรวบรวมไว้ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า พระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา มีการคัดลอกต่อ ๆ กันมาทำให้สำนวนแตกต่างกัน แล้วเก็บรักษาไว้ในชุมชนต่าง ๆ คนทั่วไปจะนำหนังสือเพลาหรือกัลปนาวัดมาอ่านโดยพละการไม่ได้ ผู้ที่อ่านได้คือผู้ที่ถือเพลาหรือผู้รักษาเพลาเท่านั้น การอ่านเพลา ผู้อ่านต้องนุ่งขาวห่มขาว เป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ในศีลธรรม ในปัจจุบันยังคงมีการจัดพิธีสมโภชเพลา หรือ สมโภชทวดเพลา ในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี

สำนวนที่สำคัญ คือ เพลานางเลือดขาว จากวัดเขียนบางแก้ว ที่ถูกนำมาเขียนขึ้นใหม่ในพงศาวดารเมืองพัทลุง (ฉบับ พ.ศ. 2460) ต้นฉบับจากวัดเขียนบางแก้วนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพนำไปเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดวชิรญาณ หรือหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน[2]

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางสิริมหามายา พระนางจามเทวี พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร