พระราชบัญญัติการเดินเรือ ของ พระราชบัญญัติการเดินเรือ

พระราชบัญญัติซึ่งเคยเมื่อปี ค.ศ. 1651 เช่นเดียวกับกฎหมายซึ่งผ่านในสมัยเครือจักรภพอื่น ๆ ได้รับการประกาศว่าเป็นโมฆะหลังจากการฟื้นฟูของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ โดยระบุว่าเป็นกฎหมายซึ่งผ่านโดย 'อำนาจซึ่งได้มาจากการแย่งชิง' ดังนั้น รัฐสภาจึงผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งมักได้รับการกล่าวถึงว่า "พระราชบัญญัติการเดินเรือ" ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนยังคงมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ

พระราชบัญญัติการเดินเรือ ค.ศ. 1660 ได้เพิ่มความประหลาดจากรัฐบัญญัติในสมัยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ขึ้นอีก; โดยที่ลูกเรือของเรือนั้นจะต้องมีสัญชาติอังกฤษอย่างน้อยสามในสี่ และสินค้าที่ได้รับการระบุซึ่งมิได้ผลิตโดยประเทศแม่ อย่างเช่น ยาสูบ ฝ้ายและน้ำตาล จะต้องได้รับการขนส่งจากอาณานิคมอังกฤษมายังอังกฤษหรือส่งไปยังอาณานิคมอังกฤษอื่นเท่านั้น

พระราชบัญญัติการเดินเรือ ค.ศ. 1663 (หรือเรียกว่า "พระราชบัญญัติกระตุ้นการค้า") กำหนดให้สินค้ายุโรปทั้งหมดซึ่งพึ่งพาทวีปอเมริกา (หรืออาณานิคมอื่น) จะต้องผ่านอังกฤษเสียก่อน ในอังกฤษ สินค้าจะถูกนำขึ้นจากเรือ ตรวจตรา จ่ายภาษี และนำสินค้าลงเรืออีก การค้าดังกล่าวจะต้องบรรทุกในเรือสินค้าอังกฤษ ซึ่งรวมไปถึงเรือของอาณานิคมอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น การนำเข้าวัตถุซื้อขายที่ถูกระบุ อย่างเช่น น้ำตาล ข้าวและยาสูบ จะต้องนำลงจากเรือและจ่ายภาษีก่อนที่จะขนส่งไปยังประเทศอื่น นี่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่อาณานิคมอังกฤษ และเพิ่มเวลาในการขนส่ง (คำว่า "อังกฤษ" ในที่นี้รวมไปถึงเวลส์ด้วย ถึงแม้ว่ามันจะมีส่วนน้อยมากในการค้ากับส่วนอื่น ๆ หลังจากพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 สกอตแลนด์ก็ได้รับสิทธิพิเศษอย่างเดียวกัน)

พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลเต็มที่ในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น หลังจากสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่สอง ซึ่งส่งผลอย่างหายนะต่ออังกฤษ ดัตช์ได้บรรลุสิทธิ์ที่จะขนส่งวัตถุซื้อขายซึ่งผลิตในบริเวณหลังเมืองท่าในเยอรมนี ไปยังอังกฤษราวกับว่าเป็นการขนส่งสินค้าของดัตช์ และที่สำคัญไปกว่านั้น อังกฤษได้ยอมรับแนวคิดของ "เรือเสรี สินค้าเสรี" ซึ่งเป็นการให้เสรีภาพในการรบกวนโดยราชนาวีดัตช์ในการขนส่งในทะเลหลวง ถึงแม้ว่าในสงครามสาธารณรัฐดัตช์จะเป็นกลางก็ตาม นี่ได้ให้เสรีภาพแก่ดัตช์ได้การ "ลักลอบนำเข้า" ได้ตราบที่พวกเขาไม่ถูกพบว่าผิดในน่านน้ำซึ่งควบคุมโดยอังกฤษ บทบัญญัติดังกล่าวได้รับการยืนยันอีกครั้งหนึ่งในสนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1674) หลังจากสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่สาม[3]

พระราชบัญญัติกากน้ำตาล ค.ศ. 1733

พระราชบัญญัติกากน้ำตาล ค.ศ. 1733 เป็นการกำหนดอัตราภาษีสูงต่อการค้าน้ำตาลจากอินเดียตะวันตกของฝรั่งเศสไปยังอาณานิคมอเมริกัน ทำให้ชาวอาณานิคมต้องซื้อน้ำตาลที่แพงกว่าจากอินเดียตะวันตกของอังกฤษแทน กฎหมายดังกล่าวได้รับการดูถูกอย่างกว้างขวาง แต่ความพยายามของอังกฤษที่จะป้องกันการลักลอบน้ำเข้าได้ก่อให้เกิดความเป็นปรปักษ์และมีส่วนสำคัญต่อการปฏิวัติอเมริกา พระราชบัญญัติกากน้ำตาลเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับน้ำตาลฉบับแรก พระราชบัญญัติดังกล่าวหมดอายุในปี ค.ศ. 1763 และในปี ค.ศ. 1764 กฎหมายนี้ได้รับการริเริ่มขึ้นใหม่เป็นพระราชบัญญัติน้ำตาล ซึ่งได้ทำให้เกิดความไม่สงบในหมู่ชาวอาณานิคม

การเลิกล้ม

พระราชบัญญัติดังกล่าวเลิกล้มในปี ค.ศ. 1849 พระราชบัญญัตินี้ได้ตั้งอยู่บนทฤษฎีเศรษฐกิจลัทธิพาณิชยนิยม ซึ่งเชื่อกันว่าความมั่งคั่งจะได้มาจากการเพิ่มการจำกัดการค้ากับอาณานิคมมากกว่าการค้าเสรี แต่ในปี ค.ศ. 1849 ศูนย์กลางทุนของยุทธศาสตร์การนเข้าของอังกฤษ คือ การลดราคาของอาหารผ่านทางการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ และด้วยวิธีนี้ ยังได้เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษากำลังแรงงาน การเลิกล้มพระราชบัญญัติการเดินเรือและกฎหมายข้าวโพดได้บรรลุวัตถุปะรสงค์ดังกล่าว แต่ก็ได้นำไปสู่การกระจัดกระจายของอดีตจักรวรรดิอังกฤษ

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชวังสนามจันทร์