ประวัติ ของ พระราชวังฟงแตนโบล

พระราชวังหลวง

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงล่าสัตว์ที่ฟงแตนโบลจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงอำลากองทหารรักษาพระองค์ที่หน้าพระราชวังฟงแตนโบล (ค.ศ. 1814)จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ทรงรับคณะราชทูตสยาม ณ พระราชวังฟงแตนโบล (ค.ศ. 1864)

วังฟงแตนโบลเดิมตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งที่ใช้สอยมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่สร้างโดยพระเจ้าชาร์ลที่ 7 โดยมีทอมัส เบ็คเค็ทเป็นผู้ประกอบพิธีสถาปนาชาเปล ฟงแตนโบลเป็นที่ประทับอันเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างพระราชวังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันคือพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 โดยมีสถาปนิกชิลส์ เลอ เบรตอง (Gilles le Breton) เป็นผู้สร้างตัวตึกเกือบทุกหลังของ “ลานรูปไข่” (Cour Ovale) และรวมทั้ง “ประตูโดเร” (Porte Dorée) ที่เป็นทางเข้าด้านใต้ นอกจากนั้นพระเจ้าฟรองซัวส์ก็ยังทรงเชิญสถาปนิกเซบาสเตียโน แซร์ลิโอ จากอิตาลีมายังฝรั่งเศส และเลโอนาร์โด ดา วินชี ภายในตัวพระราชวังมีโถงระเบียงพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 (Francois I Gallery) ที่แล่นตลอดปีกหนึ่งของวังที่ตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังในกรอบปูนปั้นแบบต่าง ๆ โดยรอซโซ ฟิโอเรนติโน (Rosso Fiorentino) ที่เขียนระหว่าง ค.ศ. 1522 ถึง ค.ศ. 1540 ซึ่งโถงระเบียงแรกที่ได้รับตกแต่งอย่างวิจิตรในฝรั่งเศส โดยทั่วไปแล้วก็เรียกได้ว่าฟงแตนโบลเป็นการเริ่มยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศส

“ห้องเลี้ยงรับรอง” (Salle des Fêtes) ที่มาสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 2 ตกแต่งโดยฟรันเชสโก ปรีมาติชโช และ นิโคโล เดลาบาเต (Niccolò dell'Abbate) ส่วน “นิมฟ์แห่งฟงแตนโบล” ที่เขียนโดยเบนเวนูโต เชลลินิ (Benvenuto Cellini) ที่เขียนให้แก่ฟงแตนโบลในปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

การก่อสร้างครั้งใหญ่เริ่มขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระเจ้าอองรีที่ 2 และพระอัครมเหสีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ผู้ทรงจ้างสถาปนิกฟิลิแบร์ต เดอ ลอร์ม และ ฌอง บุลลองท์ (Jean Bullant) ต่อมาพระเจ้าอองรีที่ 4 ก็ทรงตกแต่งฟงแตนโบลของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 และ พระเจ้าอองรีที่ 2 โดยทรงเพิ่มลาน “Cour des Princes” และ “โถงระเบียงไดแอน เดอ ปัวติเยร์” และ “โถงระเบียงเซิร์ฟ” ที่ติดกันใช้เป็นห้องสมุด ในช่วงนี้ศิลปินของ “ตระกูลการเขียนฟงแตนโบลที่สอง” ก็เป็นผู้ดำเนินการตกแต่งแต่ก็ไม่มากเท่าใดนักและไม่เป็นงานต้นฉบับเท่ากับการตกแต่งในรัชสมัยของ “ตระกูลการเขียนฟงแตนโบลที่หนึ่ง” ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1

พระเจ้าอองรีที่ 4 ทรงสร้างคลองขุดยาว 1,200 เมตรในอุทยานป่าโปร่งที่ในปัจจุบันใช้ตกปลาได้ และมีพระบรมราชโองการให้ปลูกสน, เอล์ม และไม้ผล อุทยานป่าโปร่งมีเนื้อที่ราว 80 เฮ็คตารโดยมีกำแพงร้อมรอบและถนนเป็นระยะ ๆ พนักงานอุทยานของพระเจ้าอองรีที่ 4 โคลด โมลเลต์ (Claude Mollet) ผู้ได้รับการฝึกหัดที่วังดาเนต์ (Château d'Anet) วางผังสวนแบบสวนพาร์แทร์ (Parterre) นอกจากนั้นก็ยังทรงสร้าง “jeu de paume” (ห้องเล่นเทนนิสโบราณ (Real tennis)) ที่ยังคงมีอยู่ให้เห็น ซึ่งเป็นห้องเล่นเทนนิสโบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เป็นของสาธารณะ[2]

พระเจ้าฟิลิปที่ 4, พระเจ้าอ็องรีที่ 3 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ต่างก็เสด็จพระราชสมภพที่ฟงแตนโบล และพระเจ้าฟิลิปเสด็จสวรรคตที่นี่ แขกของพระราชวังที่สำคัญ ๆ ก็ได้แก่สมเด็จพระราชินีนาถคริสติน่าแห่งสวีเดนผู้เสด็จมาประทับอยู่เป็นเวลาหลายปีหลังจากที่ทรงสละราชสมบัติในปี ค.ศ. 1654 ในปี ค.ศ. 1685 ฟงแตนโบลก็ใช้เป็นที่ลงนามพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลที่เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ (ค.ศ. 1598) ฟงแตนโบลเป็นที่ประทับของพระราชอาคันตุกะของกษัตริย์ราชวงศ์บูร์บองที่รวมทั้งพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย และพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก

การปฏิวัติและจักรวรรดิ

ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสฟงแตนโบลถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Fontaine-la-Montagne" (น้ำพุใกล้เนินเขา, เนินเขาที่อ้างถึงคือบริเวณแนวเนินหินที่ตั้งอยู่ในป่าฟงแตนโบล)

เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชวังก็ตกอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเฟอร์นิเจอร์เดิมก็ถูกขายทอดไป ในช่วงเดียวกับที่เฟอร์นิเจอร์ของพระราชวังหลวงของฝรั่งเศสทั้งหลายถูกทำลายและขายไปจากทุกพระราชวังเพื่อหาทุนในการต่อต้านไม่ให้ราชวงศ์บูร์บองเข้ามาใช้ได้อีก แต่จะอย่างไรก็ตามภายในสิบปีหลังจากนั้นจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ก็ทรงเปลี่ยนโฉมของฟงแตนโบลให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมียิ่งใหญ่และความรุ่งเรืองของฝรั่งเศสแทนที่พระราชวังแวร์ซายส์ที่ถูกทิ้งว่างไว้ ในปี ค.ศ. 1804 จักรพรรดินโปเลียนก็ทรงเจ้าภาพต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 ที่ฟงแตนโบลเมื่อเสด็จมาทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และอีกครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1812 ถึงปี ค.ศ. 1814 เมื่อพระสันตะปาปาทรงถูกนำตัวมาเป็นนักโทษของนโปเลียน

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1807 มานูเอล โกดอยมนตรีในพระเจ้าคาร์ลที่ 4 แห่งสเปน และ จักรพรรดินโปเลียนก็ลงนามในสนธิสัญญาฟงแตนโบลที่สเปนอนุญาตให้ฝรั่งเศสเดินทัพผ่านสเปนเพื่อไปรุกรานโปรตุเกส

เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1814 ไม่นานก่อนที่จักรพรรดินโปเลียนจะทรงสละราชสมบัติ พระองค์ก็ทรงล่ำลากองทหารรักษาพระองค์เดิมที่รับราชการกับพระองค์มาตั้งแต่การรณรงค์ทางทหารครั้งแรกที่ “ลานม้าขาว” (la cour du Cheval Blanc) ที่หน้าวังฟงแตนโบล ซึ่งตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับการเรียกว่า “ลานแห่งการอำลา” สนธิสัญญาฟงแตนโบล แห่ง ค.ศ. 1814 ปลดจักรพรรดินโปเลียนจากอำนาจ (แต่มิได้ถอดพระองค์ออกจากการเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส) และเนรเทศพระองค์ไปยังเกาะเอลบา

ในเดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม ค.ศ. 1946 เมืองฟงแตนโบลก็เป็นเจ้าภาพการประชุมฝรั่งเศส-เวียดนามที่มีวัตถุประสงค์ในการหาวิธีแก้ปัญหาการแสวงหาอิสรภาพของเวียดนามจากฝรั่งเศส แต่เป็นการประชุมที่ประสบความล้มเหลว

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์