ประวัติ ของ พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

คริสต์ศตวรรษที่สิบสองถึงสิบสี่

ชาเปลแบบกอธิค

ปราสาทที่ตั้ง ณ พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลชื่อ “Grand Châtelet” สร้างโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 6ในปี ค.ศ. 1122 ต่อมาใน ก็ได้รับการต่อเติมโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ในคริสต์ทศวรรษ 1230

ชาเปลเซนต์หลุยส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เป็นงานสำคัญของสมัยสถาปัตยกรรมแรยอน็อง (Rayonnant) ของสถาปัตยกรรมกอธิคฝรั่งเศส พระราชกำหนด ค.ศ. 1238 ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ที่ระบุการทำพิธีศาสนาตามปกติที่ชาเปลทำให้ทราบว่าเป็นชาเปลที่พระองค์ทรงสร้าง ชาเปลนี้คือ “วิหารแซ็งต์-ชาแปล” (Sainte-Chapelle) เดิมที่ใช้เป็นที่เก็บมงคลวัตถุมงกุฎหนาม” และ “สัตยกางเขน” ผังของชาเปลนี้เป็นผังที่เป็นแบบอย่างของวิหารแซ็งต์-ชาแปลที่พระเจ้าหลุยส์มีพระบรมราชโองการให้สร้างภายในพระราชวังแห่งนคร (Conciergerie) ในปารีสระหว่าง ค.ศ. 1240 ถึง ค.ศ. 1248 สิ่งก่อสร้างทั้งสองสร้างโดยสถาปนิกคนโปรดปิแยร์เดอมองทรุยผู้นำลักษณะสถาปัตยกรรมที่คิดขึ้นที่แซ็ง-แฌร์แม็งไปปรับใช้ในปารีส ชาเปลมีช่องทางเดินกลางช่องเดียวที่ไปหยุดลงที่ชาเปลดาวกระจายตอนท้ายสุด ที่ผนังทั้งหมดกรุด้วยหน้าต่างกระจกแคบสูง ระหว่างหน้าต่างด้านนอกเป็นค้ำยันขนาดใหญ่ ซี่โค้งของเพดานโค้งรวบมารวมกันบนเสาระหว่างช่วง และฐานเสาซ่อนอยู่หลังซุ้มเปิด ฉะนั้นโถงกลางของสิ่งก่อสร้างจึงว่างเปล่าปราศจากระบบการค้ำยัน การใช้หน้าต่างจำนวนมากสามารถทำให้ใช้เทคนิค “pierre armée” ซึ่งเป็นวิธีที่ใส่โครงโลหะโดยตรงเข้าไปในโครงสร้างของผนังเพื่อทำให้ผนังหินมีความมั่นคงขึ้น ผนังด้านตะวันตกตกแต่งด้วยหน้าต่างกุหลาบแบบกอธิคแบบสถาปัตยกรรมเรยงนงต์ ในชาเปลเดิมนี้เป็นสถานที่ที่บอลด์วินที่ 2 แห่งคอนสแตนติโนเปิลถวายมงกุฎหนามแก่พระเจ้าหลุยส์ในปี ค.ศ. 1238 แม้ว่ามงคลวัตถุดังกล่าวจะตั้งใจจะนำไปตั้งที่วิหารแซ็งต์-ชาแปลในปารีส แต่เก็บไว้ที่แซ็งต์-ชาแปลที่วังแซ็ง-แฌร์แม็งจนกระทั่งแซ็งต์-ชาแปลในปารีสได้รับการสถาปนาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1248

เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำทรงเผาปราสาทในปี ค.ศ. 1346 ส่วนที่เป็นสถาปัตยกรรมกอธิคที่เหลืออยู่ก็มีแต่ชาเปลเท่านั้น “Château Vieux” หรือ “พระราชวังเดิม” ได้รับการสร้างใหม่โดยพระเจ้าชาร์ลที่ 5 ในคริสต์ทศวรรษ 1360 บนฐานเดิม

คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 18

หอบันไดตรงมุมลาน“ภูมิทัศน์ของพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใหม่” งานพิมพ์กัดกรดโดยอิสราเอล ซิลเวสเทรอ บันทึกลานลดหลั่นก่อนที่เลอโนเทรอจะเปลี่ยนแปลงราวปี ค.ศ. 1660พระราชวังที่ตั้งอยู่กลางเมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใกล้สถานีรถไฟ

ส่วนที่เก่าที่สุดของพระราชวังปัจจุบันมาสร้างใหม่โดยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1539 และหลังจากนั้นก็ได้รับการขยายต่อเติมหลายครั้งพระเจ้าอองรีที่ 2 ทรงสร้างพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใหม่ หรือ “พระราชวังใหม่” ไม่ไกลจากพระราชวังเดิมเท่าใดนักที่ออกแบบโดยฟีลีแบร์ต เดอ ลอร์มที่ตั้งอยู่บนยอดเนินที่สร้างภายใต้การอำนวยการของเอเตียง ดู เปแร็คเป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างบนเนินลดหลั่นกันลงมาสามชั้นที่เชื่อมติดต่อกันด้วยบันไดและระเบียงลาดที่วางอย่างสมมาตรลงมาจรดแม่น้ำแซนซึ่งเป็นแบบที่มีรากฐานมาจากคฤหาสต์ลานเทที่บาญญาญา[1]เอเตียง ดู เปแร็คไปอยู่ในอิตาลีเป็นเวลานาน และมีความสนใจในการสร้างสวนประเภทนี้ที่เห็นได้จากงานภาพพิมพ์ลายแกะของคฤหาสต์เอสเตที่ทำในปี ค.ศ. 1573” [2]

สวนของพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลเป็นหนึ่งในห้าหกสวนแบบอิตาลีในฝรั่งเศส ที่เป็นการวางรากฐานสำหรับสวนภูมิทัศน์แบบฝรั่งเศส สวนลักษณะนี้ต่างจากสวนปาร์แตร์ (Parterre) เดิมตรงที่สวนปาร์แตร์เป็นสวนที่จัดวางให้ผสานกับวังหรือคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่แล้ว ที่มักจะเป็นผืนดินหรือลานที่ยากต่อการจัดสวนเพราะที่ตั้งเดิมของสิ่งก่อสร้างเป็นสถานที่เลือกเพราะความเหมาะสมต่อระบบการป้องกันตัวของปราสาท[3] สวนแบบใหม่แผ่ออกมาจากศูนย์กลางของด้านหน้าของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสมมาตรที่ประกอบด้วยสวนปาร์แตร์ที่เป็นลวดลาย, ทางเดินที่ทำด้วยกรวด, น้ำพุและอ่างน้ำพุ และ กลุ่มโบสเคต์ (Bosquet) หรือต้นไม้ที่จงใจปลูกตามแผนที่วางไว้ การทำสวนลักษณะดังกล่าวนี้มารุ่งเรืองที่สุดหลังจากการสร้างสวนโดยอังเดร เลอ โนเทรอ (André Le Nôtre) หลังปี ค.ศ. 1650[4] ตามข้อเขียนของโกลด มอเลใน “Théâtre des plans et jardinage”[5] สวนปาร์แตร์เริ่มจัดในปี ค.ศ. 1595 สำหรับพระเจ้าอองรีที่ 4 โดยโมลเลต์ผู้ได้รับการฝึกที่วังอาเนต์ ผู้เป็นต้นตระกูลของนักการสวนหลวงต่อมา สวนปาร์แตร์สวนหนึ่งที่ออกแบบโดยโมลเลต์ที่พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ “Le théâtre d'agriculture et mesnage des champs” โดยโอลิเวียร์ เดอร์ แซร์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลในปี ค.ศ. 1638 กำแพงยันด้านหนึ่งของเพแร็คทลายลงมาในปี ค.ศ. 1660 และพระเจ้าหลุยส์ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์สวนในปี ค.ศ. 1662 นอกจากนั้นก็ทรงตั้งราชสำนักที่นี่ในปี ค.ศ. 1666 แต่โปรด “พระราชวังเก่า” มากกว่า “พระราชวังใหม่” ที่ถูกทิ้งร้างในคริสต์ทศวรรษ 1660 และต่อมารื้อทิ้ง ระหว่างปี ค.ศ. 1663 จนถึงปี ค.ศ. 1682 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังแวร์ซายส์อย่างเป็นการถาวร คณะผู้ดูแลที่ประกอบด้วยหลุยส์ เลอ โว, ฌูลส์ อาร์ดวง-มองซาร์ และอ็องเดร เลอ โนทร์ก็พยายามดำเนินการดูแลเพื่อรักษาสถานภาพเอาไว้

สวนได้รับการสร้างใหม่โดยอ็องเดร เลอ โนทร์ระหว่างปี ค.ศ. 1669 จนถึงปี ค.ศ. 1673 ที่รวมชั้นหินลดหลั่นที่ยาว 2.4 กิโลเมตรที่ทำให้เห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำแซน และ ปารีสที่ไกลออกไป

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงยกพระราชวังให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษระหว่างที่ทรงมาลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสหลังจากการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี ค.ศ. 1688 พระเจ้าเจมส์ประทับอยู่ที่แซ็ง-แฌร์แม็งอยู่เป็นเวลา 13 ปี พระราชธิดาหลุยซา มาเรีย เทเรซา สจวตประสูติที่แซ็ง-แฌร์แม็งในปี ค.ศ. 1692 พระบรมศพของพระเจ้าเจมส์ได้รับการบรรจุที่วัดแซ็ง-แฌร์แม็ง พระสนมแมรี เบียทริซพำนักต่อมาจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1718 พระราชโอรสเจมส์ย้ายออกจากพระราชวังในปี ค.ศ. 1716 และในที่สุดก็ไปพำนักอยู่ที่โรม ผู้สนับสนุนฝ่ายสจวตที่ลี้ภัยพำนักอยู่ที่พระราชวังจนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสก่อนที่จะย้ายออกไปในปี ค.ศ. 1793

คริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงก่อตั้งโรงเรียนฝึกนายทหารม้าที่นี่ ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ก็ทรงให้เออแชน มิลเลต์ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862 และในปี ค.ศ. 1867 พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลก็กลายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1919 พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใช้เป็นที่ลงนามสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลที่เป็นการยุติความขัดแย้งระหว่างฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและออสเตรีย[6]

ระหว่างการยึดครองของกองทหารเยอรมันระหว่าง ปี ค.ศ. 1940 ถึงปี ค.ศ. 1944 พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลถูกใช้เป็นศูนย์กลางของกองบังคับบัญชาการทหารเยอรมันที่ยึดครองฝรั่งเศส

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์