ประวัติ ของ พระรามลงสรง

พระรามลงสรงหรือซาแต๊ปึ่งทำขึ้นครั้งแรกโดยชาวจีนเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู[6] บ้างก็ว่าเป็นของชาวแต้จิ๋ว[2] สำหรับรับประทานในครอบครัว ต่อมาได้แพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทย สันนิษฐานว่าอาจเข้ามาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[6] บ้างก็ว่าเข้ามาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]

พระรามลงสรงมีพื้นฐานมาจากอาหารมุสลิม โดยได้ดัดแปลงการใช้เนื้อวัวเป็นเนื้อหมู ดัดแปลงและตัดทอนเครื่องเทศบางชนิดให้กลิ่นรสอ่อนลง[3] ดังสังเกตได้จากน้ำราดที่หอมมันและหวานเล็กน้อย ต่างจากน้ำราดสะเต๊ะที่กลิ่นและรสชาติเข้มข้นกว่า[2]

ช่วงเวลาที่พระรามลงสรงได้รับความนิยมสูงสุดน่าจะอยู่ราวช่วงปลาย พ.ศ. 2400 จนกระทั่งถึงตอนต้น พ.ศ. 2500 ในเวลานั้นพระรามลงสรงถือเป็นอาหารที่เสมือนกับข้าวแกง สามารถหารับประทานได้ง่ายในย่านชุมชนจีน เช่น เยาวราช, สะพานเหล็ก, วรจักร เป็นต้น[7]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์