ศัพทมูล ของ พระรามลงสรง

"ซาแต๊ปึ่ง" (อักษรจีน: 三茶反) เป็นคำแต้จิ๋วที่ทับศัพท์คำว่าสะเต๊ะ (อักษรโรมัน: sate ซาเต) ที่เป็นคำมลายู-อินโดนีเซีย[3][4] รวมกับคำว่าปึ่งที่แปลว่าข้าว รวมกันมีความหมายว่า "ข้าวสะเต๊ะ"[2][3]

ส่วนชื่อ "พระรามลงสรง" เป็นคำเปรียบเปรยถึงผักบุ้งที่มีสีเขียวดั่งผิวกายพระราม ไปลวกในน้ำร้อนเสมือนการอาบน้ำ (คือลงสรง) จึงใช้ชื่อดังกล่าว[2][3][5] และยังไม่เป็นที่ทราบว่าใครตั้งชื่อนี้[3]

บางร้านที่ขายอาหารชนิดนี้ยังมีการเรียกที่แตกต่างกัน เช่น หากใส่เส้นหมี่จะเรียกว่า "พระลักษมณ์ลงสรง" หรือเป็นแบบไม่ใส่เส้นจะเรียก "สีดาลงสรง" ก็มี[5]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์