หนานจิง
หนานจิง

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง (พินอิน: Nánjīng) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน หนานจิงยังเป็นนครใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของประเทศจีน รองจากช่างไห่ นครหนานจิงมีพื้นที่การปกครอง 6,600 ตารางกิโลเมตร (2,500 ตารางไมล์) และประชากรทั้งหมด 8,270,500 คนในปี ค.ศ. 2016[5] พื้นที่ด้านในของนครหนานจิงล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองโบราณคือ เขตนครหนานจิงเก่า (南京城) มีพื้นที่ 55 ตารางกิโลเมตร (21 ตารางไมล์) ในขณะที่เขตนครหนานจิงชั้นนอกรวมถึงนครและพื้นที่โดยรอบครอบคลุมกว่า 60,000 ตารางกิโลเมตร (23,000 ตารางไมล์) จัดเป็นเขตนครหนานจิงใหม่ มีประชากรกว่า 30 ล้านคนนครหนานจิงตั้งอยู่ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี มีสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน โดยเป็นนครที่เคยเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของราชวงศ์จีนสมัยอาณาจักร ตลอดจนถึงสมัยรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชุดต่าง ๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ถึง ค.ศ. 1949[6] และเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมที่สำคัญ การศึกษา การวิจัย การเมือง เศรษฐกิจ เครือข่ายการขนส่ง และการท่องเที่ยว หนานจิงยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นครนี้ยังเป็นหนึ่งในสิบห้านครย่อยในโครงสร้างการบริหารของเขตปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีน[7]หนานจิงซึ่งเป็นหนึ่งในนครที่สำคัญที่สุดของประเทศมานานกว่าพันปี ในอดีตนั้นหนานจิงจัดเป็นหนึ่งในสี่เมืองหลวงโบราณที่ยิ่งใหญ่ของจีน เป็นหนึ่งในนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพลิดเพลินไปกับความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองแม้จะมีสงครามและภัยพิบัติ[8][9][10][11]หนานจิงทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของง่อก๊ก (229–280) หนึ่งในสามรัฐสำคัญในยุคสามก๊ก เคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จิ้นและแต่ละราชวงศ์ในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (ได้แก่ หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน) ซึ่งปกครองจีนตอนใต้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 317–589; ในสมัยราชวงศ์ถังใต้ (937–75), หนึ่งในสิบอาณาจักร ตลอดจนในสมัยราชวงศ์หมิง เมื่อครั้งแรกที่ประเทศจีนทั้งหมดถูกปกครองจากนครหนานจิงเป็นศูนย์กลาง (1368–1421)[12] หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และไคเฟิงจนสมัยการปฏิวัติซินไฮ่ล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิงจึงเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีน เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี ค.ศ. 1927 ถึง ค.ศ. 1949 ภายใต้การบริหารของพรรคก๊กมินตั๋งมีรัฐบาลคือรัฐบาลชาตินิยมแห่งสาธารณรัฐจีน (จีนคณะชาติ) ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ จอมทัพเจียงไคเช็ค ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองที่เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นครหนานจิงได้รับความโหดร้ายอย่างรุนแรงในความขัดแย้งของสงครามและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ การสังหารหมู่นานกิงหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง หนานจิงยังคงเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลคณะชาติต่อไป ก่อนที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนจะลี้ภัยหนีไปเกาะไต้หวันในช่วงสงครามกลางเมืองจีน[13]เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนชนะสงครามกลางเมืองได้สถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิมบรรพบุรุษชาวหนานจิงจำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในนครที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน

หนานจิง

GDP (Nominal) ค.ศ. 2018
เว็บไซต์ www.nanjing.gov.cn
• รวมปริมณฑล[3] 11.7 ล้าน
GDP (PPP) ค.ศ. 2017
ระดับตำบล 129
รหัสไอเอสโอ 3166 CN-JS-01
ระดับเทศมณฑล 11
• นครระดับจังหวัด และนครกึ่งมณฑล 8,505,500 คน
• ทั้งหมด 334.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดอกไม้ประจำเมือง Méi (Prunus mume)
ต้นไม้ประจำเมือง Cedrus deodara,
Platanus × acerifolia[4]
ป้ายทะเบียนรถ 苏A
• ความหนาแน่น 1,237 คน/ตร.กม. (3,183 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลา เวลามาตรฐานจีน (UTC+08:00)
• ประเภท นครกึ่งมณฑล
• นายกเทศมนตรี หาน ลี่หมิง (韩立明)
• เลขาธิการพรรค จาง จิ้งหฺวา (张敬华)
มณฑล เจียงซู
• ต่อหัว 40,084 ดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน
• ความเติบโต 9.43%
ความสูง 20 เมตร (50 ฟุต)
• เขตเมือง 1,398.69 ตร.กม. (540.04 ตร.ไมล์)
• เขตเมือง  (ค.ศ. 2018)[2] 6,525,000
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ 0.859 (สูงมาก)
รหัสไปรษณีย์ 210000–211300
รหัสพื้นที่ 25
ตั้งถิ่นฐาน unknown (Yecheng, 495 BCE. Jinling City, 333 BCE)

แหล่งที่มา

WikiPedia: หนานจิง http://www.people.com.cn/GB/paper1631/10837/984363... http://hrb.focus.cn/news/2008-05-07/467397.html http://www.jiangsu.gov.cn/touzizhe/tzhj/xzqh http://www.nanjing.gov.cn http://www.nanjing.gov.cn/njgk/csgk/csgk3 http://www.njtj.gov.cn/47448/47462/index_1.html http://www.demographia.com/db-worldua.pdf http://www.keepeek.com/Digital-Asset-Management/oe... http://news.xinhuanet.com/city/2012-10/09/c_123799... //doi.org/10.1787%2F9789264230040-en