แผนผังพระวิหาร ของ พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

เชิงเทียนเมโนราห์แบบจำลองของพระวิหารที่สองสร้างโดยไมเคิล ออสนิสจากเคดูนิม

ตามคัมภีร์ทาลมุดพระวิหารมี “Ezrat Nashim” (เอซรัท นาชิม) บริเวณสำหรับสตรีทางด้านตะวันออก และบริเวณหลักทางด้านตะวันตก บริเวณหลักมีบริเวณสำหรับฆ่าสัตว์สำหรับการสังเวย และ “Mizbaeach” หรือแท่นบูชานอกที่ใช้เป็นที่เผาสิ่งที่ใช้ในการสักการะเกือบทั้งหมดและเป็นที่เทหรือพรมเลือด ตัวอาคารพระวิหารประกอบด้วย “Ulam” (อูลาม) หรือห้องรอ (antechamber), “Heichal” (ไฮคาล) และ “Kadosh Hakadashim” (คาโดช ฮาคาดาชิม) หรือห้องศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (ห้องอภิสุทธิสถาน) ห้องไฮคาลกับห้องคาโดช ฮาคาดาชิมแยกจากกันด้วยกำแพงในพระวิหารแรกแต่ในพระวิหารที่สองด้วยม่านสองผืน ห้องไฮคาลเป็นที่เก็บเชิงเทียนเมโนราห์ (Menorah), แท่นขนมปัง (Showbread) และแท่นของหอม (Incense Altar)

ลานกลางมีสิบสามประตู ทางด้านใต้เริ่มจากทางมุมตะวันตกเฉียงใต้มีสี่ประตู:

  • “Shaar Ha'Elyon” (ประตูบน)
  • “Shaar HaDelek” (ประตูฟืน) เป็นประตูสำหรับนำฟืนเข้าพระวิหาร
  • “Shaar HaBechorot” (ประตูบุตรคนโต) เป็นประตูสำหรับผู้มีบุตรคนโตที่นำสัตว์สำหรับพิธีสังเวยและพ่อและลูกเข้าเพื่อทำพิธี “Pidyon HaBen”
  • “Shaar HaMayim” (ประตูน้ำ) ประตูสำหรับนำ Water Libation เข้ามาสำหรับเทศกาล “Sukkot”

ทางด้านเหนือเริ่มจากทางมุมตะวันตกเฉียงเหนือมีสี่ประตู:

  • “Shaar Yechonyah” (ประตูเยโคนยาห์) เป็นประตูสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเดวิดเข้าและเยโคนยาห์ออกเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะถูกจับ
  • “Shaar HaKorban” (ประตูสักการะ) เป็นประตูสำหรับนักบวชที่นำเครื่องสักการะ “kodshei kodashim” เข้า
  • “Shaar HaNashim” (ประตูสตรี)[10]
  • “Shaar Hashir” (ประตูนักดนตรี) เป็นประตูทางเข้าสำหรับนักดนตรีและเครื่องดนตรี

ทางด้านตะวันออกเป็น “Shaar Nikanor” ระหว่างลานฝ่ายสตรีและลานหลักของพระวิหารมีประตูเล็ก ๆ สองประตู ประตูซ้ายและประตูขวาซึ่งไม่มีความสำคัญเท่าใดนัก และมีอีกสองประตูที่ไม่มีชื่อ

ใกล้เคียง

พระวิษณุ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระวิหารของซาโลมอน พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม พระวินัยปิฎก พระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร ฐิตปุญฺโญ) พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช พระวิศวกรรม พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร)