พระวิหารแรกและพระวิหารที่สอง ของ พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

รูปจำลองของพระวิหารแห่งเฮโรด

พระวิหารทั้งสองครั้งสร้างต่อเนื่องกันบนเทมเพิลเมานท์ในกรุงเยรูซาเลม:

พระวิหารแรกหรือพระวิหารโซโลมอนสร้างราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชและได้รับการบ่งทางดาราศาสตร์ว่าสร้างเมื่อ 957 ปีก่อนคริสต์ศักราช[7] แทนที่แท่นบูชาเดิม พระวิหารนี้มาถูกทำลายโดยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 เมื่อ 586 ปีก่อนคริสต์ศักราช ฉะนั้นพระวิหารแรกจึงตั้งอยู่ราว 375 ก่อนที่จะถูกทำลาย ธรรมเนียมทัลมุด (Talmud) กล่าวว่า 410 ปี ตัวสิ่งก่อสร้างมีบทบาทสำคัญในธรรมเนียม

พระวิหารที่สองสร้างหลังจากที่พระเจ้าไซรัสมหาราชพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้ชาวยิวกลับมาจากบาบิโลนหลังจากถูกจับไปเป็นเชลยโดยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ การย้ายกลับมาเกิดขึ้นราว 537 ปีก่อนคริสต์ศักราช และจากที่ชะงักการก่อสร้างไปหลายครั้งในที่สุดก็สร้างเสร็จในปี 516 ปีก่อนคริสต์ศักราช สัดส่วนของเทมเพิลเมานท์ขณะนั้นคือ 150 เมตร x 50 เมตร[8]

พระวิหารที่สองถูกทำลายโดยจักรวรรดิโรมันภายใต้การนำของไททัส ใน ค.ศ. 70 ก่อนหน้านั้นพระวิหารที่สองก็ถูกรื้อโดยนายทหารโรมันปอมเปย์ (Pompey) เมื่อยึดเยรูซาเลมเมื่อ 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช นักประวัติศาสตร์โจซีฟัสบันทึกว่าปอมเปย์มิได้ยึดสิ่งของใด ๆ จากพระวิหารหรือจากที่เก็บสมบัติของพระวิหาร แต่สังหารปุโรหิตหลวงที่มายืนขวางไม่ให้เข้าพระวิหาร

การปล้นสะดมพระวิหารที่สองบนด้านในของประตูชัยไททัส (Arch of Titus) ในกรุงโรม

ในที่สุดปอมเปย์ก็สิ้นอำนาจและเสียชีวิตเมื่อถูกตามไล่สังหาร ซึ่งชนยิวเห็นว่าเป็นการลงโทษโดยพระเจ้า ประมาณ 20 ปีก่อนคริสต์ศักราชพระเจ้าเฮโรดมหาราชก็ทรงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์กลุ่มสิ่งก่อสร้างของพระวิหารเพื่อจะให้มีความใหญ่โตและมีความเป็นสง่าขึ้นกว่าเดิม แต่แทบจะยังไม่ทันสร้างเสร็จก็ถูกทำลายอย่างไม่เหลือหรอจนถึงฐานโดยจักรวรรดิโรมัน[9]

ระหว่างการปฏิวัติครั้งสุดท้ายของชนยิวต่อการยึดครองของโรมันราวระหว่างปี ค.ศ. 132 ถึงปี ค.ศ. 135 ไซมอน บาร์ โครห์บา (Simon bar Kokhba) และรับบีอะคิวาต้องการจะสร้างพระวิหารใหม่แต่การปฏิวัติล้มเหลวและชาวยิวถูกห้ามไม่ให้เข้ากรุงเยรูซาเลมโดยจักรวรรดิโรมัน

การพยายามสร้างพระวิหารใหม่ริเริ่มขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 363 เมื่อจูเลียนผู้เลิกศรัทธา (Julian the Apostate) สั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของกรุงเยรูซาเลมเพื่อเป็นการแสดงการประท้วงคริสต์ศาสนาแต่ไม่สำเร็จ นักประวัติศาสตร์นอกศาสนาร่วมสมัยอัมมิอานัส มาร์เซลลินัส (Ammianus Marcellinus) บันทึกว่ามีเปลวเพลิงพลุ่งขึ้นมาจากฐานและฆ่าคนงานไปหลายคน[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

พระวิษณุ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระวิหารของซาโลมอน พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม พระวินัยปิฎก พระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร ฐิตปุญฺโญ) พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช พระวิศวกรรม พระวิสุทธิรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร)