พระเจ้าเฮโรดมหาราช
พระเจ้าเฮโรดมหาราช

พระเจ้าเฮโรดมหาราช

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งพระเจ้าเฮโรดมหาราช (อังกฤษ: Herod the Great หรือ Herod I; ฮีบรู: הוֹרְדוֹס‎ Horodos, กรีก: Ἡρῴδης (Hērōdēs)) (73 - 4 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งมณฑลยูเดีย[1] (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน เฮโรดมิได้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิว และตอนแรกเป็นเพียงคนรับใช้[2] [3] กล่าวกันว่าเป็น “ผู้บ้าอำนาจและฆาตกรรมครอบครัวของตนเองและรับบีอีกหลายคน” [4] ยูเดียในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองและมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญเป็นประวัติศาสตร์มากมาย พระเจ้าเฮโรดมหาราชมักจะสับสนกับเฮโรด อันทิปาสที่มาจากราชวงศ์เฮโรเดียน (Herodian dynasty) เดียวกัน ผู้เป็นประมุขของกาลิลี ระหว่างปีที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ค.ศ. 39 ในช่วงเวลาของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและพระเยซู พระเจ้าเฮโรดทรงมีชื่อเสียงในงานสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ในกรุงเยรูซาเลมและบริเวณอื่น ๆ ในดินแดนโบราณรวมทั้งการก่อสร้างพระวิหารหลังที่สอง (Second Temple) ในกรุงเยรูซาเลมที่บางครั้งก็เรียกว่าพระวิหารของพระเจ้าเฮโรด พระราชประวัติของพระองค์ได้รับการกล่าวถึงบ้างในงานเขียนของโยเซพุส นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน-ยิวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า พระเจ้าเฮโรดมีพระราชโองการให้ประหารเด็กทุกคนในหมู่บ้านเบธเลเฮมเพราะทรงหวาดกลัวว่าเด็กที่เกิดใหม่จะเติบโตขึ้นมาเป็น “พระมหากษัตริย์แห่งชาวยิว” (King of the Jews) และยึดราชบัลลังก์ของพระองค์ ตามคำพยากรณ์ของแมไจตามที่บรรยายในพระวรสารนักบุญมัทธิว[5] แต่นักเขียนพระราชประวัติของพระเจ้าเฮโรดเมื่อไม่นานมานี้ค้านว่าเหตุการณ์การสังหารหมู่นั้น อาจจะมิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์[6]ใน​ช่วง​ครึ่ง​แรก​ของ​ศตวรรษ​ที่​สอง​ก่อน​สากล​ศักราช ยูเดีย​อยู่​ภาย​ใต้​การ​ปกครอง​ของ​ราชวงศ์​เซเลอคิด​แห่ง​ซีเรีย ซึ่ง​เป็น​หนึ่ง​ใน​สี่​ราชวงศ์​ที่​เกิด​ขึ้น​หลัง​จาก​จักรวรรดิ​ของ​อะเล็กซานเดอร์​มหาราช​ล่ม​สลาย อย่าง​ไร​ก็​ตาม ประมาณ​ปี 168 ก่อน ส.ศ. เมื่อ​กษัตริย์​ของ​ราชวงศ์​เซเลอคิด​พยายาม​จะ​นำ​เอา​การ​นมัสการ​ซูส​เข้า​มา​แทน​ที่​การ​นมัสการ​พระ​ยะโฮวา​ใน​พระ​วิหาร​ที่​กรุง​เยรูซาเลม ชาว​ยิว​ซึ่ง​นำ​โดย​ตระกูล​แมกคาบี​จึง​ก่อ​กบฏ พวก​แมกคาบี​หรือ​ฮัสโมเนียน​ปกครอง​ยูเดีย​ใน​ช่วง​ปี 142-63 ก่อน ส.ศ.ใน​ปี 66 ก่อน ส.ศ. เจ้า​ชาย​แห่ง​ฮัสโมเนียน​สอง​องค์​คือ ฮีร์คานุส​ที่ 2 และ​อาริสโตบุลุส​น้อง​ชาย​ได้​ต่อ​สู้​กัน​เพื่อ​แย่ง​ชิง​บัลลังก์ หลัง​จาก​นั้น​เกิด​สงคราม​กลาง​เมือง​ขึ้น ทั้ง​คู่​จึง​ไป​ขอ​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​ปอมปีย์​แม่ทัพ​ของ​โรมัน​ซึ่ง​เวลา​นั้น​อยู่​ใน​ซีเรีย ปอมปีย์​ก็​ฉวย​โอกาส​เข้า​แทรกแซง​ทันทีที่​จริง พวก​โรมัน​กำลัง​ขยาย​อิทธิพล​ไป​ทาง​ตะวัน​ออก และ​ใน​เวลา​นั้น​พวก​เขา​ยึด​ครอง​อาณา​เขต​ส่วน​ใหญ่​ของ​เอเชีย​ไมเนอร์​ได้​แล้ว แต่​เนื่อง​จาก​ซีเรีย​มี​ผู้​ปกครอง​ที่​ไม่​เข้มแข็ง​สืบ​ต่อ​กัน​มา​หลาย​สมัย บ้าน​เมือง​จึง​ตก​อยู่​ใน​สภาพ​ที่​ไม่​มี​ขื่อ​ไม่​มี​แป​ซึ่ง​ขัด​กับ​ความ​พยายาม​ของ​โรม​ที่​ต้องการ​จะ​รักษา​ความ​สงบ​สุข​ใน​ดินแดน​ทาง​ตะวัน​ออก​เอา​ไว้ ดัง​นั้น ปอมปีย์​จึง​เข้า​ยึด​ครอง​ซีเรียปอมปีย์​แก้​ปัญหา​ความ​ขัด​แย้ง​ใน​ราชวงศ์​ฮัสโมเนียน​ด้วย​การ​สนับสนุน​ฮีร์คานุส และ​ใน​ปี 63 ก่อน ส.ศ. พวก​โรมัน​ได้​บุก​โจมตี​เยรูซาเลม​และ​ตั้ง​ฮีร์คานุส​เป็น​กษัตริย์ แต่​ฮีร์คานุส​ไม่​ได้​ปกครอง​อย่าง​เอกเทศ พวก​โรมัน​ได้​เข้า​มา​แล้ว​และ​พวก​เขา​จะ​ไม่​ถอน​อิทธิพล​ออก​ไป​จาก​ดินแดน​นี้ ฮีร์คานุส​กลาย​เป็น​ผู้​นำ​ประชาชน​ที่​ต้อง​ปกครอง​ภาย​ใต้​อำนาจ​ของ​โรม และ​ต้อง​พึ่ง​การ​สนับสนุน​จาก​โรม​เพื่อ​รักษา​บัลลังก์​เอา​ไว้ เขา​สามารถ​จะ​บริหาร​จัด​การ​เรื่อง​ราว​ภาย​ใน​ได้​ตาม​ที่​ต้องการ แต่​ใน​เรื่อง​ความ​สัมพันธ์​กับ​ชาติ​อื่น ๆ เขา​จะ​ต้อง​ทำ​ตาม​นโยบาย​ของ​โรมฮีร์คานุส​เป็น​ผู้​ปกครอง​ที่​ไม่​เข้มแข็ง แต่​เขา​ได้​รับ​การ​สนับสนุน​จาก​อันทิพาเทอร์​ชาว​อิดูเมีย ซึ่ง​เป็น​บิดา​ของ​เฮโรด​มหาราช อันทิพาเทอร์​เป็น​ผู้​มี​อำนาจ​ที่​ให้​การ​ช่วยเหลือ​อยู่​เบื้อง​หลัง เขา​สามารถ​ควบคุม​พวก​ยิว​กลุ่ม​ต่าง ๆ ที่​คิด​จะ​ต่อ​ต้าน​กษัตริย์​ได้ และ​ใน​ไม่​ช้า​ตัว​เขา​เอง​ก็​มี​อำนาจ​เหนือ​ยูเดีย​ทั้ง​หมด เขา​ได้​ช่วย​จูเลียส ซีซาร์ รบ​กับ​ศัตรู​ใน​อียิปต์ และ​พวก​โรมัน​ได้​ให้​รางวัล​แก่​อันทิพาเทอร์​โดย​การ​ตั้ง​เขา​เป็น​ผู้​สำเร็จ​ราชการ​ที่​ขึ้น​กับ​โรม​โดย​ตรง ส่วน​อันทิพาเทอร์​เอง​ก็​แต่ง​ตั้ง​บุตร​ชาย​สอง​คน คือ​ฟาเซล ให้​เป็น​ผู้​ว่า​ราชการ​เยรูซาเลม​และ​เฮโรด ให้​เป็น​ผู้​ว่า​ราชการ​แกลิลีอันทิพาเทอร์​ได้​สอน​ลูก​ของ​ตน​ว่า​ไม่​ว่า​จะ​ทำ​สิ่ง​ใด​ก็​ตาม​ไม่​อาจ​สำเร็จ​ได้​ถ้า​ปราศจาก​การ​เห็น​ชอบ​จาก​โรม เฮโรด​ก็​ได้​จำ​คำ​สอน​นี้​ไว้​อย่าง​ดี ตลอด​เวลา​ที่​อยู่​ใน​ตำแหน่ง เขา​พยายาม​จะ​เอา​ใจ​โรม​ที่​ช่วย​ให้​เขา​มี​อำนาจ และ​ขณะ​เดียว​กัน​ก็​เอา​ใจ​ชาว​ยิว​ที่​อยู่​ใต้​อำนาจ​ตน​ด้วย สิ่ง​ที่​ช่วย​เขา​ก็​คือ​ความ​สามารถ​ใน​การ​บริหาร​และ​การ​ดู​แล​กองทัพ เมื่อ​ได้​รับ​แต่ง​ตั้ง​เป็น​ผู้​ว่า​ราชการ เฮโรด​ใน​วัย 25 ปี​ก็​กลาย​เป็น​ที่​ชื่น​ชอบ​ของ​ทั้ง​ชาว​ยิว​และ​ชาว​โรมัน​เนื่อง​จาก​เขา​ได้​ปราบ​ปราม​กองโจร​ทั้ง​หลาย​อย่าง​แข็งขัน​ให้​หมด​ไป​จาก​เขต​ปกครองหลัง​จาก​อันทิพาเทอร์​ถูก​ศัตรู​วาง​ยา​พิษ​ใน​ปี 43 ก่อน ส.ศ. เฮโรด​ก็​กลาย​มา​เป็น​ผู้​มี​อำนาจ​มาก​ที่​สุด​ใน​ยูเดีย แต่​เขา​ก็​มี​ศัตรู​ด้วย พวก​ขุนนาง​ใน​เยรูซาเลม​ถือ​ว่า​เฮโรด​เป็น​ผู้​ช่วง​ชิง​อำนาจ และ​พยายาม​เกลี้ยกล่อม​ให้​โรม​ถอด​เขา​ออก​จาก​ตำแหน่ง ความ​พยายาม​นั้น​ล้มเหลว โรม​ยัง​ระลึก​ถึง​คุณ​ความ​ดี​ของ​อันทิพาเทอร์​และ​ชื่นชม​ความ​สามารถ​ของ​เฮโรดวิธี​ที่​ปอมปีย์​แก้​ปัญหา​การ​สืบ​ราชบัลลังก์​ของ​ฮัสโมเนียน​ประมาณ 20 ปี​ก่อน​ได้​สร้าง​ความ​ขมขื่น​ให้​กับ​หลาย​ฝ่าย ฝ่าย​ที่​สนับสนุน​อาริสโตบุลุส​พยายาม​ที่​จะ​แย่ง​อำนาจ​คืน​มา​หลาย​ครั้ง​หลาย​หน​แต่​ไม่​ประสบ​ความ​สำเร็จ แต่​แล้ว​ใน​ปี 40 ก่อน ส.ศ. พวก​เขา​ก็​ประสบ​ความ​สำเร็จ​ด้วย​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​ชาว​ปาร์เทีย​ซึ่ง​เป็น​ศัตรู​ของ​โรม ระหว่าง​ที่​เกิด​ความ​โกลาหล​วุ่นวาย​ใน​กรุง​โรม​เนื่อง​จาก​สงคราม​กลาง​เมือง พวก​เขา​ได้​ฉวย​โอกาส​โจมตี​ซีเรีย ถอด​ถอน​ฮีร์คานุส และ​แต่ง​ตั้ง​สมาชิก​ของ​ราชวงศ์​ฮัสโมเนียน​คน​หนึ่ง​ที่​ต่อ​ต้าน​โรม​ให้​ขึ้น​ครอง​อำนาจเฮโรด​หนี​ไป​โรม​และ​ได้​รับ​การ​ต้อนรับ​อย่าง​อบอุ่น ชาว​โรมัน​ต้องการ​ขับ​ไล่​พวก​ปาร์เทีย​ออก​ไป​จาก​ยูเดีย​และ​ยึด​ดินแดน​นั้น​กลับ​มา และ​ตั้ง​ผู้​ปกครอง​ที่​ตน​เห็น​ชอบ พวก​เขา​ต้องการ​พันธมิตร​ที่​ไว้​ใจ​ได้​และ​เห็น​ว่า​เฮโรด​คือ​ผู้​ที่​เหมาะ​สม สภา​สูง​ของ​โรม​จึง​ได้​ตั้ง​เฮโรด​เป็น​กษัตริย์​แห่ง​ยูเดีย เพื่อ​จะ​รักษา​อำนาจ​ของ​ตน​ไว้ เฮโรด​ได้​ทำ​หลาย​สิ่ง​ที่​เป็น​การ​ประนีประนอม​ความ​เชื่อ สิ่ง​หนึ่ง​ก็​คือ​เขา​ได้​นำ​ขบวน​แห่​จาก​สภา​สูง​ไป​ยัง​วิหาร​แห่ง​จูปีเตอร์​เพื่อ​ถวาย​เครื่อง​บูชา​ให้​แก่​เหล่า​เทพเจ้า​นอก​รีตด้วย​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​กอง​ทหาร​โรมัน เฮโรด​เอา​ชนะ​ศัตรู​ใน​ยูเดีย​และ​ทวง​บัลลังก์​คืน​มา​ได้ เขา​แก้แค้น​ผู้​ที่​เคย​ต่อ​ต้าน​ตน​อย่าง​โหด​เหี้ยม เขา​กำจัด​ราชวงศ์​ฮัสโมเนียน​และ​เหล่า​ขุนนาง​ชาว​ยิว​ที่​สนับสนุน​ราชวงศ์​นี้ รวม​ทั้ง​ใคร​ก็​ตาม​ที่​ไม่​พอ​ใจ​จะ​อยู่​ใต้​อำนาจ​ผู้​ปกครอง​ที่​เป็น​มิตร​กับ​โรมใน​ปี 31 ก่อน ส.ศ. เมื่อ​ออกเตเวียส​ได้​ชัย​ชนะ​เหนือ​มาร์ก แอนโทนี​ที่​อักทิอุม และ​กลาย​เป็น​ผู้​ปกครอง​ที่​มี​อำนาจ​แต่​ผู้​เดียว​ของ​โรม เฮโรด​ก็​กลัว​ว่า​ออกเตเวียส​จะ​สงสัย​ตน​เนื่อง​จาก​เคย​มี​มิตรภาพ​อัน​ยาว​นาน​กับ​มาร์ก แอนโทนี เฮโรด​จึง​รีบ​ไป​หา​ออกเตเวียส​เพื่อ​ยืน​ยัน​ว่า​ตน​ยัง​จงรักภักดี​อยู่ ผู้​ปกครอง​องค์​ใหม่​ของ​โรม​ก็​ได้​รับรอง​กับ​เฮโรด​ว่า​เขา​ยัง​เป็น​กษัตริย์​ของ​ยูเดีย​และ​มอบ​ดินแดน​เพิ่ม​ให้​อีกใน​ช่วง​หลาย​ปี​หลัง​จาก​นั้น เฮโรด​ได้​สร้าง​ความ​มั่นคง​ให้​กับ​อาณาจักร​ของ​ตน​โดย​ทำ​ให้​กรุง​เยรูซาเลม​กลาย​เป็น​ศูนย์กลาง​วัฒนธรรม​กรีก เขา​ได้​ริเริ่ม​โครงการ​ก่อ​สร้าง​ขนาด​ใหญ่ เช่น ราชวัง​หลาย​หลัง, เมือง​ท่า​ซีซาเรีย, และ​พระ​วิหาร​ใน​กรุง​เยรูซาเลม​ที่​ประกอบ​ด้วย​สิ่ง​ก่อ​สร้าง​ใหม่ ๆ ที่​ใหญ่​โต​หรูหรา ตลอด​ช่วง​เวลา​นั้น นโยบาย​ของ​เฮโรด​มุ่ง​เน้น​ที่​การ​รักษา​ความ​สัมพันธ์​กับ​โรม​ซึ่ง​เป็น​ขุม​กำลัง​ของ​ตนอำนาจ​ปกครอง​ของ​เฮโรด​เหนือ​ยูเดีย​นั้น​เป็น​อำนาจ​เบ็ดเสร็จ​เด็ดขาด นอก​จาก​นี้ เฮโรด​ยัง​ใช้​อำนาจ​เหนือ​มหา​ปุโรหิต​ด้วย โดย​แต่ง​ตั้ง​ผู้​ที่​ตน​พอ​ใจ​ให้​ดำรง​ตำแหน่ง​นี้ชีวิต​ส่วน​ตัว​ของ​เฮโรด​มี​แต่​เรื่อง​วุ่นวาย ใน​จำนวน​มเหสี​สิบ​คน​ของ​เฮโรด​มี​หลาย​คน​ที่​ต้องการ​ให้​บุตร​ชาย​ของ​ตน​สืบ​บัลลังก์​ต่อ​จาก​ราชบิดา แผน​ร้าย​ต่าง ๆ ใน​ราชวัง​ทำ​ให้​เฮโรด​ระแวง​สงสัย​และ​ทำ​สิ่ง​ที่​เหี้ยม​โหด ด้วย​ความ​หึง​หวง เขา​ได้​สั่ง​ประหาร​มา​เรียม​มเหสี​คน​โปรด และ​ต่อ​มา​สั่ง​ให้​รัด​คอ​บุตร​ชาย​สอง​คน​ของ​นาง​เนื่อง​จาก​มี​คน​กล่าวหา​ว่า​คบ​คิด​แผน​ชั่ว​ต่อ​ต้าน​ตน บันทึก​ใน​มัดธาย​เกี่ยว​กับ​การ​สั่ง​ฆ่า​เด็ก​ทุก​คน​ใน​เบทเลเฮม​จึง​สอดคล้อง​ลง​รอย​กับ​เรื่อง​ที่​ผู้​คน​รู้​กัน​ดี​เกี่ยว​กับ​นิสัย​ของ​เฮโรด​รวม​ทั้ง​ความ​มุ่ง​มั่น​ของ​เขา​ที่​จะ​กำจัด​ทุก​คน​ที่​สงสัย​ว่า​เป็น​ศัตรูบาง​คน​บอก​ว่า​เนื่อง​จาก​เฮโรด​รู้​ตัว​ว่า​ไม่​เป็น​ที่​นิยม​ชม​ชอบ เขา​จึง​ตั้งใจ​จะ​ทำ​ให้​คน​ทั้ง​ชาติ​โศก​เศร้า​ใน​การ​ตาย​ของ​ตน​แทน​ที่​จะ​ดีใจ เพื่อ​ให้​แผนการ​สำเร็จ เขา​ได้​จับ​ประชาชน​ระดับ​ผู้​นำ​ของ​ยูเดีย​และ​สั่ง​ไว้​ว่า​ให้​ฆ่า​คน​เหล่า​นี้​เมื่อ​มี​การ​ประกาศ​การ​ตาย​ของ​เขา แต่​ก็​ไม่​ได้​มี​การ​ปฏิบัติ​ตาม​คำ​สั่ง​นี้เมื่อ​เฮโรด​สิ้น​พระ​ชนม์ โรม​ได้​แต่ง​ตั้ง​อาร์คีลาอุส​ให้​เป็น​ผู้​ปกครอง​ยูเดีย​ต่อ​จาก​ราชบิดา และ​แต่ง​ตั้ง​บุตร​ชาย​อีก​สอง​คน​ของ​เฮโรด​เป็น​เจ้า​ชาย​หรือ​เจ้า​ผู้​ครอง​แคว้น​ที่​ไม่​ขึ้น​กับ​โรม คือ​อันทีพัส​เป็น​ผู้​ครอง​แคว้น​แกลิลี​และ​พีเรีย ส่วน​ฟิลิป​เป็น​ผู้​ครอง​แคว้น​อิตูเรีย​และ​ทราโคนิทิส อาร์คีลาอุส​ไม่​เป็น​ที่​ชื่น​ชอบ​ของ​ราษฎร​และ​ของ​โรม หลัง​จาก​ปกครอง​ได้​สิบ​ปี​โดย​ไม่​มี​ผล​งาน​ที่​น่า​พอ​ใจ โรม​จึง​ปลด​เขา​ออก​จาก​ตำแหน่ง​และ​แต่ง​ตั้ง​ผู้​ว่า​ราชการ​ของ​โรม​เอง​ให้​ปกครอง ซึ่ง​ก็​คือ​ผู้​ที่​ดำรง​ตำแหน่ง​ก่อน​ปอนติอุส​ปีลาต ใน​ระหว่าง​นั้น อันทีพัส​ซึ่ง​ลูกา​เรียก​สั้น ๆ ว่า​เฮโรด ยัง​คง​ปกครอง​แคว้น​ของ​ตน​ต่อ​ไป​เช่น​เดียว​กับ​ฟิลิป นี่​เป็น​สถานการณ์​ทาง​การ​เมือง​ตอน​ที่​พระ​เยซู​เริ่ม​ทำ​งาน​ประกาศ​สั่ง​สอน—ลูกา 3:1

พระเจ้าเฮโรดมหาราช

พระราชบุตร
ราชวงศ์ ราชวงศ์เฮโรด
สนม
ฝังพระศพ น่าจะฝังที่เฮโรเดียม
ครองราชย์ 37 ปีก่อนค.ศ.– ประมาณ 4 ปีก่อนค.ศ.
พระราชมารดา Cypros
พระราชบิดา Antipater the Idumaean
สวรรคต ประมาณ 4 ปีก่อนค.ศ.
เจริโค, ยูเดีย
ถัดไป
ประสูติ ประมาณ 74/73 ปีก่อนค.ศ.
ศาสนา Second Temple Judaism

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ