สำนวน ของ พระสี่เสาร์

ในหอสมุดแห่งชาติมีอยู่ 4 สำนวน รูปแบบงานประพันธ์เป็นกาพย์ (กลอนสวด) มีอยู่ 3 สำนวน และเป็นกลอนสุภาพ (กลอนอ่าน) 1 สำนวน แต่มีเพียงสำนวนเดียวในบรรดา 4 สำนวน ที่จบบริบูรณ์ดี มีการตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2441[2]

สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร มอบหมายให้ บุญเตือน ศรีวรพจน์ และศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ ตรวจชำระต้นฉบับและได้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2547 ยังมีพระสี่เสาร์สำนวนอื่น ๆ กล่าวคือ ฉบับหนึ่งเป็นกาพย์ไม่มีชื่อเรื่อง นอกจากนี้เจือ สตะเวทิน รวบรวมข้อมูลว่า พระสี่เสาร์ ฉบับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเรื่อง พระยาสี่เสา ฉบับภาคใต้ ชื่อ เสเสา แต่ชื่อตัวเอกของเรื่องคือ "สี่เสา" เช่นเดียวกับฉบับอื่น ๆ ทั้งยังมี พระสี่เสาร์กลอนสวด ภาคใต้อีกฉบับหนึ่งซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาที่มหาวิทยาลัยทักษิณ[3]

สำนวนฉบับเมืองเพชรบุรีระบุว่าแต่งขึ้น พ.ศ. 2266 สมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ เดิมต้นฉบับเก็บไว้ที่วัดหนองกาทอง จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ประกอบการศึกษาที่โรงเรียนจุฬาภรเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี[4]

ใกล้เคียง

พระสีวลีเถระ พระสีหนุ (เมือง) พระสี่เสาร์ พระสี่อิริยาบถ พระสีสุวัตถ์ พระสี ฉนฺทสิริ พระสีสุวัตถิ์ สิริมตะ พระสุนทรโวหาร (ภู่) พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสันตะปาปา