โจนออฟอาร์ก ของ พระเจ้าชาร์ลที่_7_แห่งฝรั่งเศส

แต่ในปี ค.ศ. 1429 สถานการณ์ก็มาเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงออร์เลอองส์ถูกล้อมมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1428 ผู้สำเร็จราชการอังกฤษจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 พระปิตุลาของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 รุกเข้ามาในดัชชีแห่งบาร์ที่ปกครองโดยเรอเนพี่เขยของชาร์ล ขุนนางและทหารฝ่ายฝรั่งเศสที่ยังคงสนับสนุนชาร์ลต่างก็มีความรู้สึกว่าหมดหนทางมากขึ้นทุกขณะ

ในขณะเดียวกันในหมู่บ้านโดมเรมี (Domrémy) ที่ตั้งอยู่ระหว่างลอร์แรน และชองปาญ ก็มีเด็กสาวชื่อโจนผู้มีความเชื่อว่าตนได้รับคำสั่งจากพระเจ้าให้ดำเนินการกู้ฝรั่งเศส ก็เรียกร้องขอกำลังทหารและสิ่งที่จำเป็นในการต่อสู้จากดยุกแห่งลอร์แรนให้นำตัวไปยังชินงไปเฝ้าโดแฟ็ง โจนมาถึงชินองเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1429

1429
  ดินแดนภายใต้อำนาจของพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ
  ดินแดนภายใต้อำนาจของดยุกแห่งเบอร์กันดี
  ดินแดนภายใต้อำนาจของชาร์ล
  ยุทธการหลัก
                     การรุกรานของอังกฤษในปี ค.ศ. 1415                     เส้นทางที่โจนออฟอาร์กเดินทางไปยังแรงส์ในปี ค.ศ. 1429

หลังจากนั้นเหตุการณที่เกิดขึ้นก็กลายเป็นตำนานเล่าขานกันต่อมา เมื่อโจนมาถึงชินง ชาร์ลก็ทรงทดสอบการอ้างของโจนว่ารู้จักพระองค์ทั้งที่ไม่เคยเผชิญหน้ากัน โดยทรงปลอมพระองค์เป็นข้าราชสำนักและยืนอยู่ท่ามกลางข้าราชสำนักอื่นๆ เมื่อโจนเข้ามาในท้องพระโรง โจนผู้ทราบโดยทันที่ว่าผู้ใดคือโดแฟ็งชาร์ลก็น้อมตัวลงถวายความเคารพและกอดพระหนุ และประกาศว่า "พระเจ้าทรงประทานพรแก่พระองค์, พระมหากษัตริย์ของข้า!" ("God give you a happy life, sweet King!") แม้ว่าจะพยายามอ้างกันว่าคนอื่นต่างหากที่เป็นโดแฟ็งชาร์ลแต่ในที่สุดพระองค์ก็ต้องทรงยอมรับ หลังจากนั้นโจนก็เรียกพระองค์ว่า "โดแฟ็ง" หรือ "Gentle Dauphin" จนกระทั่งได้ทำพิธีบรมราชาภิเษกในแรงส์อีกหลายเดือนหนึ่งต่อมา หลังจากการพบปะกันแล้วโดแฟ็งชาร์ลก็ทรงมีความมั่นพระทัยขึ้น และทรงมีความมุ่งมั่นที่จะยึดสิทธิในราชบัลลังก์โดยการเดินทางไปยังแรงส์

สิ่งที่สำคัญในการช่วยให้ชาร์ลประสบความสำเร็จคือการสนับสนุนของตระกูลผู้มีอำนาจของพระชายามารี โดยเฉพาะจากพระมารดาของมารีโยลันเดอแห่งอารากอน

จากนั้นโจนก็นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าต่อสู้ที่ออร์เลอองส์ที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อฝ่ายอังกฤษ และเป็นจุดที่เปลี่ยนทิศทางของสงครามที่ทำให้ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายได้เปรียบ หลักจากชัยชนะในยุทธการพาเทย์ (Battle of Patay) ชาร์ลก็ได้ทำการราชาภิเษกเป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1429 ที่มหาวิหารแรงส์ในฐานะพระมหากษัตริย์โดยนิตินัย

ต่อมาโจนถูกจับตัวได้โดยฝ่ายเบอร์กันดีผู้ส่งตัวให้กับฝ่ายอังกฤษ โจนถูกพิจารณาโทษว่าเป็นผู้นอกศาสนา และถูกเผาทั้งเป็นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431 พระเจ้าชาร์ลมิได้ทรงเข้าช่วยเหลือโจนแต่อย่างใดแม้ว่าโจนจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสก็ตาม

จากนั้นพระเจ้าชาร์ลก็ทรงลงพระนามร่วมกับฟิลิปเดอะกูดในสนธิสัญญาอาร์ราส ที่เบอร์กันดีหันกลับมาเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งหลังจากไปเป็นพันธมิตรกับอังกฤษอยู่ชั่วระยะหนึ่ง สัญญานี้เป็นการประกาศไม่ให้ผู้ใดยอมรับว่าสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส[4]

ในช่วงเวลายี่สิบปีต่อมาฝรั่งเศสก็ยึดปารีสคืนจากฝ่ายอังกฤษได้ และในที่สุดก็ได้ดินแดนทั้งหมดยกเว้นกาแลและหมู่เกาะแชนเนล

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ