พระเจ้าซองจงแห่งโครยอ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งพระเจ้าซองจงแห่งโครยอ (เกาหลี: 성종, ฮันจา: 成宗, MC: Seongjong, MR: Sŏngchong ค.ศ. 960 - ค.ศ. 997) พระราชาองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 981 - ค.ศ. 997) เป็นกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์โดยการก่อกบฏยึดอำนาจ จากพระเจ้าคยองจงแห่งโครยอกษัตริย์พระองค์ก่อน โดยร่วมมือกับขุนนางกลุ่มซิลลาที่ยังมีอำนาจหวังจะกอบกู้อาณาจักรซิลลาขึ้นมาใหม่ โดยการใช้กำลังทหารยึดวังหลวงและวางยาพิษพระเจ้าคยองจง ให้เนรเทศสมเด็จพระราชินีฮอนแอและสมเด็จพระราชินีฮอนจองพระมเหสีของพระเจ้าคยองจง โดยที่พระมเหสีทั้งสองพระองค์เป็นน้องสาวของพระองค์ และพระเจ้าซองจงเป็นผู้ทำให้พระนางซินจองผู้เป็นพระอัยยิกาและพระนางฮอนจองผู้เป็นพระขนิษฐาสิ้นพระชนม์ด้วย ในรัชสมัยของพระองค์มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่เพื่อกำจัดอำนาจขุนนางท้องถิ่น และมีสงครามกับพวกคิตันราชวงศ์เหลียวองค์ชายวัง ชี (왕치, 王治) เป็นพระโอรสของสมเด็จพระชายาซอนอึยกับองค์ชายวัง อุก (왕욱, 王旭) หรือพระเจ้าแทจง พระราชโอรสของพระเจ้าแทโจกับสมเด็จพระจักรรพรดินีซินจอง (신정왕후, 神靜王后) ตระกูล ฮวางจู ในค.ศ. 981 พระเจ้าคยองจงแห่งโครยอสวรรคต พระราชโอรสองค์ชายวัง ซง (왕송, 王訟 ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ามกจง) ก็พระชนมายุเพียง 2 พรรษา ไม่อาจขึ้นครองบ้านเมืองได้ บัลลังก์จึงตกมาสู่องค์ชายวัง ชี ซึ่งเป็นพระโอรสขององค์ชายวังอุก และเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าแทโจ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าซองจงก็สถาปนาพระราชบิดาองค์ชายวัง อุกเป็นพระเจ้าแทจง (대종, 戴宗)ในค.ศ. 982 พระเจ้าซองจงปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นเสียใหม่ตามแบบจีน เดิมที่การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นของขุนนางที่ยึดครองดินแดนเหล่านั้นมาตั้งแต่ปลายสมัยชิลลา และตำแหน่งผู้ครองนครนั้นก็สามารถตกไปให้ลูกหลานได้[1] แต่พระเจ้าซองจงเปลี่ยนใหม่แบ่งอาณาจักรออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนมีเจ้าครองนครให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง และสืบทอดไปยังลูกหลานไม่ได้ต้องได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางเท่านั้น เป็นการล้มล้างอำนาจของขุนนางท้องถิ่นที่มีมานานตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักร พระเจ้าซองจงยังทรงตั้งโรงเรียนขึ้นตามท้องถิ่นต่างๆเพื่อให้บุคคลที่มีความสามารถสอบจอหงวนเข้ารับราชการมาแทนที่กลุ่มขุนนางเดิมในค.ศ. 983 ฮ่องเต้เหลียวเซิ่งจง (遼聖宗) มีพระราชโองการให้ทัพคิตันบุกยึดลุ่มแม่น้ำยาลู ทำให้ต้องทำสงครามกับราชวงศ์ซ้อง ฮ่องเต้เซิ่งจงสร้างป้อมปราการขึ้นตามลุ่มแม่น้ำยาลูเพื่อกันไม่ให้พวกนูร์เชนให้ความช่วยเหลือราชวงศ์ซ้อง แต่พระเจ้าซองจงเห็นว่าพวกคิตันอาจมาบุกโครยอจึงสร้างป้อมปราการขึ้นบ้างตามแม่น้ำยาลู ฮ่องเต้เซิ่งจงเห็นดังนั้นก็เข้าใจว่าโครยอเป็นปฏิปักษ์ต่อตน จึงส่งทัพคิตันมาบุกภายใต้การนำของเสี้ยวซุนหนิง (蕭遜寧) ทัพคิตันบุกเข้ามาอย่างรวดเร็ว เผาทำลายบ้านเมือง แต่ถูกทัพโครยอหยุดไว้ได้ที่แม่น้ำชองชอน เซี่ยวซุนหนิงจึงมาเจรจาสงบศึกกับพระเจ้าซองจงแต่ข้อเรียกร้องของเสี้ยวซุนหนิงนั้นรุนแรง คือต้องการให้โครยอยกดินแดนตอนเหนือให้เหลียว ตัดความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ้อง และมาเป็นประเทศราชของเหลียว ทำให้ราชสำนักโครยอแตกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นว่าควรยอมจำนนกับฝ่ายที่เห็นว่าควรสู้ต่อไป นำโดยแม่ทัพซอ ฮี แม่ทัพโครยอในศึกครั้งนี้ ระหว่างที่ราชสำนักกำลังถกเถียงกันอยู่เสี้ยวซุนหนิงก็ยกทัพบุกเข้ามาอีกทำให้ราชสำนักตกใจแทบสิ้นสติ แม่ทัพซอ ฮี จึงของอาสาเป็นผู้แทนเจรจากับพวกคิตัน แม่ทัพซอฮี (서희) หลอกเสี้ยวซุนหนิงว่า ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลทางตอนเหนือรวมทั้งคาบสมุทรเหลียวตงเป็นของอาณาจักรโคกูรยอ ดังนั้นจึงควรจะเป็นของโครยอด้วย และบอกอีกว่าโครยอจะยอมเป็นข้าของราชวงศ์เหลียวต่อเมื่อราชวงศ์เหลียวกำจัดพวกนูร์เชนที่อยู่ตามแม่น้ำยาลูออกไป เสี้ยวซุนหนิงเห็นว่า เหลียวก็ทำสงครามกับซ้องหนักอยู่แล้ว จะต้องมาปราบพวกนูร์เชนอีกคงไม่ไหว[2] จึงยกดินแดนทางตอนเหนือจรดแม่น้ำยาลูที่พวกนูร์เชนอาศัยอยู่ ให้โครยอไปเลยดีกว่าสิ้นสุดสงครามราชสำนักโครยอเริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชวงศ์เหลียว และตัดความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ้องไปชั่วคราว แม่ทัพซอ ฮี นำทัพเข้าปราบปรามชาวนูร์เชน ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นไปจรดแม่น้ำยาลู พระเจ้าซองจงมีพระราชโองการให้สะสมกำลังกองทัพและสร้างป้อมปราการขนาดใหญ่ขึ้นหกแห่งที่ชายแดนค.ศ. 997 พระเจ้าซองจงสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 37 พรรษา โดยที่ไม่มีพระราชโอรสสืบบัลลังก์ องค์ชายวังซงพระราชโอรสของพระเจ้าคยองจงจึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้ามกจง

พระเจ้าซองจงแห่งโครยอ

RR Seongjong
MR Sŏngjong
ฮันกึล 성종
ฮันจา 成宗

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ