หมายเหตุ ของ พระเจ้านันทบุเรง

  1. ล้านช้างไม่ได้เลิกความสัมพันธ์แบบเมืองขึ้นกับพม่าอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง ค.ศ. 1603 ตามความเห็นของ Stuart-Fox (2008: 38) แต่ก็ได้ประกาศอิสรภาพมาตั้งแต่ ค.ศ. 1597 แล้ว
  2. มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 3 2003: 61, 106) ระบุว่านันทบุเรงเสด็จขึ้นเสวยราชย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน Tazaungmon จ.ศ. 943 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1581 ขณะนั้นพระชนมายุ 46 พรรษา แต่ฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 3 2003: 240, 248) ระบุด้วยว่าเป็นวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน Tazaungmon จ.ศ. 910 ซึ่งตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1548 พระองค์มีพระชนมายุ 12 พรรษา ข้อมูลเหล่านี้หมายความว่าพระองค์ประสูติระหว่างวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน Tazaungmon จ.ศ. 897 กับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน Tazaungmon จ.ศ. 897 อันตรงกับวันจันทร์ที่ 8 หรือวันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1535 และฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 3 2003: 106) ระบุอีกว่าพระองค์ประสูติในวันอังคาร เพราะฉะนั้น จึงชี้ชัดได้ว่าวันประสูติของนันทบุเรงคือวันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1535 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน Tazaungmon จ.ศ. 897
  3. เอกสารไม่ได้ระบุเชื้อสายราชวงศ์โดยตรง แต่ข้อมูลเรื่องเชื้อสายนี้มีร่องรอยอยู่ในตำแหน่งฐานันดรของบรรพบุรุษของพระองค์ กล่าวคือพระนางรัตนาเทวี สมเด็จยายของพระองค์ทรงเป็นเจ้าหญิงเมืองปาย (Mongpai) ในแคว้นไทใหญ่ ทั้งบรรพบุรุษองค์อื่น ๆ ของพระองค์ก็มีเชื้อสายไทใหญ่ เช่น พระเจ้าสีหตูทรงเป็นลูกครึ่งไทใหญ่ และพระนางชินมิเนาก์ (Shin Mi-Nauk) ทรงเป็นชาวไทใหญ่เต็มร้อย แต่ก็มีนักวิชาการบางคน เช่น Aung-Thwin (Aung-Thwin 1996; Aung-Thwin 2012: 107–109) แย้งว่าฐานันดรศักดิ์อาจไม่สัมพันธ์กับชาติพันธุ์ก็ได้ และการเชื่อมโยงพระองค์ว่า มีเชื้อสายไทใหญ่ดังกล่าว ก็ปราศจากหลักฐานรองรับ
  4. ตามมหาราชวงศ์ ฉบับอูกะลา (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 201) ในราชาภิเษกวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1551 บุเรงนองพระราชทานยศถาให้แก่พระประยูรญาติ แต่ไม่ปรากฏโดยตรงว่าทรงตั้งนันทบุเรงเป็นมหาอุปราชในพระราชพิธีดังกล่าว แต่หลังจากนี้เอกสารดังกล่าวก็เริ่มเรียกนันทบุเรงว่ามหาอุปราช จึงน่าเชื่อว่านันทบุเรงทรงได้รับตำแหน่งในพิธีนั้นเอง (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 202)
  5. มหาราชวงศ์ (Maha Yazawin Vol. 3 2006: 68–69) ระบุว่า เสด็จกลับ ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน Tagu จ.ศ. 942 แต่ข้อความนี้น่าจะเป็นการคัดลอกผิดของอาลักษณ์ วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน Tagu จ.ศ. 942 ตรงกับวันพุธที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1580 แต่วันอาทิตย์ ต้องเป็น วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน Tagu จ.ศ. 942 ซึ่งตรงกับ 20 มีนาคม ค.ศ. 1580 ในภาษาพม่า เลข 5 (၅) และเลข 8 (၈) มักเขียนสลับกัน
  6. ฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 3 2003: 49, 53) ระบุว่าบุเรงนองเริ่มประชวรกระเสาะกระแสะตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1579 เป็นอย่างน้อย จึงทรงมอบหมายภารกิจสำคัญให้แก่นันทบุเรงมากขึ้นเรื่อย ๆ กรณีสำคัญคือเมื่อทรงตั้งนรธาเมงสอเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ บุเรงนองรับสั่งให้นรธาเมงสอเชื่อฟังนันทบุเรง เพื่อความสงบเรียบร้อยของจักรวรรดิโดยรวม ต่อมาบุเรงนองยังโปรดให้นันทบุเรงยกทัพไปปราบล้านช้างในปีเดียวกัน
  7. มหาราชวงศ์ ฉบับอูกะลา และมหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว ระบุตรงกันว่านันทบุเรงราชาภิเษกในวันอาทิตย์ แต่ระบุวันที่ต่างกัน มหาราชวงศ์ (Maha Yazawin Vol. 3 206: 77) ว่า เป็นวันอาทิตย์ แรม 4 ค่ำ เดือน Tazaungmon จ.ศ. 943 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1581 ส่วนฉบับหอแก้ว (Hmannan Vol. 3 2003: 73) ว่า เป็นวันอาทิตย์ แรม 5 ค่ำ เดือน Tazaungmon จ.ศ. 943 อันตรงกับวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1581
  8. มหาราชวงศ์ (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 78) ว่า อยู่ในเดือน Thadingyut จ.ศ. 944 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 27 กันยายนย ค.ศ. 1582 จนถึง 25 ตุลาคม ปีเดียวกัน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ